fbpx

FULFILLMENT บริการคลังสินค้าออนไลน์ "เก็บ แพ็ค ส่ง"

สรุป COVID-19 กระทบ SME ไทยอย่างไร พร้อมข้อคิดดี ๆ จาก Ray Dalio

ray cover
Education
Marketing

สรุป COVID-19 กระทบ SME ไทยอย่างไร พร้อมข้อคิดดี ๆ จาก Ray Dalio

          วิกฤตไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ไม่เพียงแต่ส่งผลร้ายต่อสุขภาพ แต่ยังเป็นพิษภัยต่อธุรกิจ SMEs มาดูกันว่ามีธุรกิจไหนได้รับผลกระทบทั้งทางตรง และทางอ้อมกันบ้าง

          อย่างที่ทราบกันดีครับ ว่าในสถานการณ์ที่วิกฤตไวรัส Corona กำลังระบาดแบบนี้ ก็มีธุรกิจหลาย ๆ ด้านได้รับผลกระทบร้ายแรงจนถึงขั้นต้องหยุดกิจการชั่วคราว หรือรวมถึงบางกิจการต้องปิดตัวลงไป ดังนั้นวันนี้ผมไม่เพียงแต่จะสรุปถึงแนวโน้มและผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับธุรกิจด้านต่าง ๆ แต่ยังมีแนวทาง เพื่อนำไปสู่ทางออกของวิกฤต รวมถึงมุมมองของ Ray Dalio ผู้ก่อตั้งและบริหารกองทุนเฮดจ์ฟันด์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่มีต่อไวรัส ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ และ ผลกระทบต่อตลาด ที่น่าสนใจมาฝากให้ได้อ่านกันครับ เผื่อว่าจะเป็นประโยชน์ ให้ได้เตรียมวิธีการรับมือ รวมถึงคาดการณ์ผลกระทบในระยะยาวสำหรับนักธุรกิจ หรือผู้ที่อยู่ในแวดวงธุรกิจครับ

          แม้ว่า Ray Dalio จะไม่มีความรู้ด้านไวรัส เหมือนกับผู้เชี่ยวชาญคนอื่น ๆ แต่สำหรับมุมมองด้านธุรกิจเขาก็เป็นอีกหนึ่งบุคคลที่น่าทึ่งครับ สำหรับเหตุการณ์การระบาดของโลก COVID-19 นี้ เขาได้นำเอาบทเรียนจากเหตุการณ์ร้ายแรงต่าง ๆ ที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว นำมาให้ข้อคิดกับเหตุการณ์ไวรัสที่เกิดขึ้น โดยจุดสำคัญก็คือ ผู้ประกอบการควรสนใจ ผลกระทบใน “ระยะยาว” มากกว่า วิตกกังวลไปกับ ความเสียหาย “ระยะสั้น” ครับ


         ธุรกิจ SMEs ไทยที่ได้รับผลกระทบโดยตรง 

คงหนีไม่พ้น ธุรกิจท่องเที่ยว เพราะชั่วโมงนี้เที่ยวไปก็ไม่สนุกแล้วครับ นักท่องเที่ยวต่างหวาดกลัวไม่กล้าเดินทางข้ามประเทศ ซึ่งไทยเราตลาดหลักคือนักท่องเที่ยวชาวจีนครับ นักท่องเที่ยวจีนคิดเป็นร้อยละ 28% ของสัดส่วนนักท่องเที่ยวต่างชาติต่อการท่องเที่ยวไทยเชียวครับ นั่นทำให้ไทยได้รับผลกระทบทันทีอย่างเห็นได้ชัดหลังไวรัสระบาด รวมไปถึง ความต้องการในการซื้อลดลง ที่เห็นได้จากตลาดยอดฮิตของนักท่องเที่ยวทั้งชาวต่างชาติและคนไทยเองอย่าง “สวนจตุจักร” ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวมากกว่าหมื่นคนต่อวันทำรายได้ให้กับผู้ประกอบการมหาศาล ตอนนี้ก็เงียบเหงา จนบางร้านก้ปิดไปแล้วก็มีครับ รวมถึง ธุรกิจรถบัสนำเที่ยว ที่มีชาวจีนเป็นกลไกหลักก็ได้รับผลกระทบอย่างมากในจุดนี้เหมือนกันครับ ธุรกิจโรงแรม รีสอร์ท ที่พัก ก็เช่นกัน ที่ได้รับผลกระทบส่งต่อกันเป็นทอด ๆ เลยครับ เพราะเมื่อไม่มีคนมาเที่ยว ก็ไม่มีใครมาพัก หรือจากที่เคยจองห้องพักไว้ก็ยกเลิกกันไป นอกจากนี้ก็ยังลุกลามไปถึงธุรกิจอีกอื่น ๆ เช่น คอนเสิร์ต อีเว้นท์ เป็นต้น   

         ธุรกิจ SMEs ไทยที่ได้รับผลกระทบทางอ้อม

ไม่เพียงแค่นั้น ยังมีธุรกิจที่ได้รับผลกระทบทางอ้อมจากวิกฤตไวรัสร้ายนี้เช่นกัน ด้านตลาดแรงงานเองก็ประสบปัญหาจาก การจ้างงานน้อยลง เงินเดือนน้อยลง ซึ่งเป็นผลมาจากทั้งหมดที่ผมกล่าวมาข้างบนครับ เพราะเมื่อธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรม ห้างสรรพสินค้า หรือความต้องการซื้อของคนเราลดลง ส่งผลให้การจ้างงานในช่วงนี้ก็น้อยลงครับ นอกจากนั้นการที่ผู้คนต่างหวาดกลัวและออกจากบ้านกันน้อยลง หรืออย่างบางมหาวิทยาลัยหรือบริษัท ก็ให้มีการเรียนผ่านออนไลน์หรือ work at home ทำให้สิ่งที่ตามมาก็คือ ธุรกิจขนส่งสาธารณะ รวมไปถึง ธุรกิจปั๊มน้ำมัน ก็ซบเซาลง และเสียรายได้ไม่น้อยเลยครับ

สำหรับเศรษฐกิจระดับประเทศ ด้วยความหวาดกลัวและความไม่มั่นใจว่าจีนจะจัดการกับไวรัสโคโรน่าได้หรือไม่ ทำให้นักลงทุนไม่กล้าเสี่ยงลงทุนในจีนในช่วงนี้ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจคาดการณ์ว่า GDP ของจีนปีนี้จะลดลง 0.5-1% ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 5.5-5.9 เลยทีเดียวครับ ด้านหุ้นของไทย ก็ร่วงระนาวเลยครับ เคลื่อนไหวในแดนลบตลอดทั้งวัน เพราะนักลงทุนกังวลไวรัสโคโรนาแพร่ที่ระบาดทั่วโลก การจะลงทุนช่วงนี้ต้องคิดหนักเลยล่ะครับ เพราะแม้แต่หุ้นของบริษัทยักษ์ใหญ่ อย่าง PTT หรือ CPALL ก็ได้รับผลกระทบไม่ต่างกันครับ 

         “พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส”

          ถึงแม้บางธุรกิจที่ได้รับผลกระทบนั้นยากที่จะพลิกแพลงได้ในสถานการณ์เช่นนี้ แต่ถ้าเราลองมองดี ๆ ผมเชื่อว่าเราจะเห็นหนทางอย่างแน่นอนครับ อย่างเช่นธุรกิจโรงแรม ที่สามารถผลักให้เป็นโอกาสด้วยกลยุทธ์การตลาดใหม่ ๆ การมาโฟกัสที่ลูกค้าคนไทยด้วยกันเอง แล้วโปรโมทในด้านความสะอาด ถูกสุขลักษณะของทั้งที่พัก และตัวพนักงานให้มากก็ฟังดูดีนะครับ นอกจากนั้นเราสามารถใช้เวลาในช่วงวิกฤตนี้มาให้ความสำคัญกับพนักงานมากขึ้น ให้โอกาสเขาลองไปเรียนรู้งานในแผนกอื่น ๆ ถือเป็นการเพิ่มศักยภาพให้กับคนของเรา โรงแรมจะได้มีคนคุณภาพมาทำงาน เมื่อสถานการณ์ฟื้นกลับมาก็ดีไม่น้อย ไม่เพียงแต่ธุรกิจโรงแรมนะครับ วิธีนี้ก็อาจจะนำไปปรับใช้ให้เข้ากับธุรกิจของตนเองต่อไปครับ

         ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบในด้านดี 

          สำหรับธุรกิจที่ได้รับผลกระทบเช่นกัน แต่ดูเหมือนว่าจะเป็นผลในด้านดีซะมากกว่าในช่วงนี้ก็เห็นจะเป็น ธุรกิจ e-Commerce และธุรกิจออนไลน์ต่าง ๆ เนื่องจากคนไม่อยากเสี่ยงไปในที่ที่มีคนมากเพราะเกรงว่าจะติดเชื้อ จึงหันมาทำธุรกรรม กิจกรรมต่าง ๆ ผ่านทางออนไลน์มากขึ้น และนี่ส่งผลให้ บริการเดลิเวอรี่ มาแน่ครับ 

         คำแนะนำที่ผมพอจะให้ได้ในตอนนี้คือ เลือกลงทุนให้ถูกจุดครับ เมื่อเห็นได้ชัดว่าธุรกิจหรือกิจกรรมบนสื่อออนไลน์ มีแนวโน้มพุ่งสูงขึ้นสวนทางกลับการทำธุรกิจแบบเดิม ๆ ดังนั้นผู้ประกอบการควรเลือกลงทุนบนแพลตฟอร์มดิจิทัล รวมถึงการโฆษณาบน Social media มากขึ้น เพราะผู้บริโภคใช้สื่อออนไลน์ และหันมาซื้อของออนไลน์มากขึ้น สื่อออนไลน์เองก็จะมีความสามารถและสามารถเข้าถึงผู้คนบนโลกออนไลน์ได้มากขึ้น เนื่องจากอัตราการใช้สื่อออนไลน์ที่มากขึ้น และยังสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้เฉพาะเจาะจง และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้นตัวนักการตลาดเอง จึงควรหันมาให้ความสำคัญในด้าน Digital marketing ให้มากขึ้นจะส่งผลดีต่อธุรกิจของคุณแน่นอนครับ


 มุมมองของ Ray Dalio และสิ่งที่อาจขึ้นต่อไปหลังจากนี้

          มุมมองที่มีต่อตัวไวรัส ไม่มีธุรกิจไหนไม่เคยเจอปัญหาครับ เพียงแต่ในภาวะวิกฤติใหญ่แบบนี้หลาย ๆ ธุรกิจล้วนต้องตกอยู่ในสถานการณ์เดียวกันดังนั้น “สติ” เป็นส่วนสำคัญที่สุดที่จะนำทางให้ผู้ประกอบธุรกิจฝ่าฟันอุปสรรคและผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปได้ อย่างที่ Ray Dalio กล่าวครับ ผลกระทบจากวิกฤตไวรัสนี้ไม่ส่งผลด้านเศรษฐกิจมากนัก แต่ ส่งผลต่อจิตใจมหันต์ และสำคัญที่สุด คือ ทรัพย์สินที่มีมูลค่ามากที่สุดที่คุณต้องดูแลให้ดีนั่นก็คือตัวคุณเองและครอบครัวของคุณ ดังนั้นต้องสู้นะครับ เพื่อประคองธุรกิจให้อยู่ได้ในระยะยาว 

          ประเด็น “Social distancing” หรือ การทิ้งระยะห่างทางสังคม ที่เรย์ยกมาพูดนั้นก็เป็นแนวทางที่น่าสนใจและเป็นทางออกได้จริงครับ เขายังให้ความเห็นอีกว่า จีนจะมีความสามารถในการทำเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี และมากกว่าประเทศพัฒนาแล้วอื่นๆอีกด้วยครับ ดังนั้นผู้นำของประเทศต้องมีศักยภาพมากพอที่จะควบคุมดูแลคนในประเทศ และต้องตัดสินใจได้ถูกต้องและทันถ้วงทีครับ ประชาชนปฏิบัติตามคำสั่ง ผู้ป่วยที่รู้ตัวว่าป่วยต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคม โดยแยกตัวออก และไม่ไปในที่ที่มีผู้คนมาก และผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยก็ต้องดูเเล ป้องกันตนเอง และไม่ใช้ของร่วมกับผู้ป่วยครับ และสิ่งที่รัฐบาลต้องเตรียมพร้อม คือ ระบบสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพ ในการควบคุมจำนวนหรือบ่งชี้ผู้ป่วยอย่างถูกต้อง รวมไปถึงให้ความรู้กับประชาชนครับ 

          มุมมองต่อเศรษฐกิจ จากการเปรียบเทียบกับสิ่งที่เคยเกิดขึ้นในอดีต เรย์ให้ความต่อเรื่องเศรษฐกิจว่า เศรษฐกิจถดถอย หรือชะลอในระยะสั้น และสามารถฟื้นตัวได้อย่างที่กล่าวไปว่าจะไม่ส่งผลต่อเศรษฐกิจในระยะยาว แต่ความเหลื่อมล้ำของความมั่งคั่ง และการปกครองนั้น อาจทำให้เศรษฐกิจยิ่งแย่ได้ ดังนั้นองค์กรที่มีหนี้สินมาก และยังนโยบายรัดเข็มขัดในช่วงไวรัสแบบนี้ ก็ต้องเตรียมตัวกันได้เเล้วนะครับ ไม่งั้นแย่เเน่ ๆ

           มุมมองต่อตลาด ตอนนี้ตลาดอาจจะยังแยกไม่ออกว่าบริษัทไหนสามารถอยู่รอด และบริษัทไหนจะไม่สามารถอยู่รอดได้ เพราะมัวไปโฟกัสกับผลกระทบชั่วคราวต่อรายได้ของบริษัท แทนที่จะสนใจเรื่องหนี้ในระยะที่อยู่ในช่วงวิกฤตหรือเครดิตของบริษัทนั่นเองครับ ดังนั้น เรย์สรุปให้คร่าว ๆ เลยครับว่า บริษัทหรือธุรกิจที่จะฟื้นตัวได้ดีแบบ V หรือ U-shaped นั้นคือ ธุรกิจที่นักลงทุนที่มักจะซื้อหุ้นหรือสินทรัพย์อื่น ๆ โดยการกู้ยืนเงิน และกู้มากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะดอกเบี้ยจะต่ำเมื่อเทียบกับผลตอบแทนที่คาดไว้ ซึ่งตรงนี้แหล่ะครับจะเป็นช่วงที่มีรายได้ลดลงจนเป็นจุดต่ำสุดจองกราฟตัว V หรือ U แต่เมื่อไวรัสหายไปแล้วรายได้ของบริษัทก็อาจจะฟืนกลับมาครับ แต่บริษัทที่จะฟื้นตัวได้ยากนั้น ก็คือองค์กรที่กู้ยืมมากเกินไป ทำให้มีหนี้ระยะสั้นเยอะ มีแนวโน้มมากที่จะเจอกับปัญหาสภาพคล่อง และไม่มีทุนพอที่จะรักษาตัวให้อยู่รอดจนกว่าจะไปถึงช่วงที่ไวรัสหายนั่นเองครับ

          เนื่องจากเศรษฐกิจที่ถดถอยลงในช่วงวิกฤต ทำให้หลายประเทศตกเป็นหนี้ และไม่มีนโยบายการเงินที่มีประสิทธิภาพ จึงคาดหวังเรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ยตามที่กล่าวข้างต้น แต่สำหรับเขาแล้วการดำเนินนโยบายทางการเงินให้สอดคล้องกับนโยบายทางการคลัง ให้เฉพาะเจาะจงสำหรับหน่วยงาน หรือองค์กรที่มีปัญหาเรื่องหนี้สินและสภาพคล่องครับ แทนที่จะลดอัตราดอกเบี้ยและเพิ่มสภาพคล่องโดยรวมน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า

          เช่นเดียวกับในยุโรปหลาย ๆ ประเทศยังน่าเป็นห่วงว่า นโยบายการคลังจะสามารถพยุงสถานการณ์นี้ได้หรือไม่ เรย์มองว่าทุกประเทศที่ไม่ได้คาดหวังว่าการกระตุ้นเศรษฐกิจจะมาจากการลดอัตราดอกเบี้ย เพราะการลดอัตราดอกเบี้ยมีผลผ่านการลดผลตอบแทนพันธบัตรและเงินสด ซึ่งทำให้ตราสารทุนและสินทรัพย์อื่นมีมูลค่าลดลงเช่นกัน ผมจึงมองว่าการพยุงเศรษฐกิจจำเป็นต้องใช้ทั้งนโยบายการเงินและนโยบายการคลัง พุ่งเป้าหมายไปที่การจัดการหนี้สินและสภาพคล่อง มากกว่าการลดอัตราดอกเบี้ยและเพิ่มสภาพคล่องในวงกว้าง

          และที่สำคัญคือ เขาคาดหวังให้ทุกคนย้อนกลับไปมองความเสียหายของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตแล้วเอามาเป็นบทเรียน ไม่ให้เกิดซ้ำในเหตุการณ์ไวรัสระบาดแบบนี้ครับ

          เป็นอย่างไรกันบ้างครับสำหรับ ผลกระทบต่อธุรกิจ SME และแนวทางในการแก้ปัญหาในช่วงนี้ที่ผมได้นำมาให้อ่านกัน ผมเองก็หวังว่าผู้ประกอบการจะนำไปประยุกต์ใช้เเละสามารถช่วยธุรกิจของคุณได้จริง ๆ นะครับ สำหรับมุมมองของ Ray Dalio ที่ผมยกมา ไม่เพียงแต่จะนำบทเรียนในอดีตมาเพื่อชี้นำแนวทางที่อาจเกิดขึ้นกับสถานการณ์ปัจจุบัน แต่อยากให้ผู้อ่านลองนำไปเป็นแนวทาง เผื่อวางแผนรับมือให้กับองค์กรของตัวเองให้สามารถยืดหยัดได้จนกว่าไวรัสร้ายจะสงบลงนะครับ สู้ ๆ ครับ ^^

สนใจศึกษาและลงทะเบียนได้ที่ www.mycloudfulfillment.com
หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
โทร: 092-472-7742, 02-138-9920
อีเมล: [email protected]
line: @mycloudgroup
MyCloudFulfillment ขายของง่ายไม่ต้องแตะสต๊อก
บริการคลังสินค้าออนไลน์ เก็บ แพ็ค ส่ง ครบวงจร

    ขอใบเสนอราคา

    ฟอร์มการติดต่อสอบถามและขอใบเสนอราคา