Knowledge Center

SLA คืออะไร กับ 3 ตัวชี้วัด Marketplace ที่คนขายออนไลน์จะต้องรู้

SLA 3 ตัวชี้วัด Marketplace ร้านค้าออนไลน์จะต้องรู้

ถ้าให้พูดถึงการซื้อขายผ่านช่องทางออนไลน์ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันนี้ก็คงเป็นช่องทาง Marketplace ที่ทุกคนรู้จักกันดีอย่างช่องทางการขาย Lazada, Shopee, TikTok Shop ซึ่งแน่นอนว่าการที่ได้รับความสนใจสิ่งที่เพิ่มมากขึ้นตามมาด้วยก็คือการแข่งขันของร้านค้าออนไลน์ใน Marketplace เพราะประเภทสินค้าที่เหมือนกันหรือมีความคล้ายกันก็จะทำให้ผู้ซื้อเกิดการเปรียบเทียบก่อนซื้อ และเพื่อป้องกันความเสี่ยงต่าง ๆ ร้านค้าออนไลน์ควรต้องคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ เพื่อให้สามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้และทำให้แบรนด์เติบโตได้ในระยะยาว  SLA คือข้อตกลงระดับการให้บริการที่ผู้ขายต้องปฏิบัติตาม ดังนั้น บทความนี้เราจะมาพูดถึงปัจจัยที่เป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้ร้านค้ามีเรตติ้งคะแนนร้านค้าที่ดีและเป็นส่วนช่วยทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้น อีกทั้งยังช่วยเพิ่มความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้อีกด้วยนั้นก็คือ SLA (Service Level Agreement)

แน่นอนว่าการมีเรตติ้งร้านค้าที่ดีนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากความคาดหวังของลูกค้ามีสูงขึ้นเรื่อย ๆ การรักษามาตรฐาน SLA ที่ดีจะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้า ทั้งในเรื่องของความรวดเร็วในการจัดการออเดอร์ไปจนถึงจัดส่ง คุณภาพของสินค้าที่ตรงตามที่ระบุ และการให้บริการลูกค้าอย่างมืออาชีพ ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลโดยตรงต่อความสำเร็จและความยั่งยืนของธุรกิจในระยะยาว 

SLA คืออะไร? 

Service Level Agreement หรือ SLA คือข้อตกลงในการให้บริการระหว่างร้านค้าและแพลตฟอร์มการขาย ซึ่งก็จะเป็นในส่วนข้อตกลงในการให้บริการเพื่อวัดคุณภาพการจัดส่งของร้านค้า การที่ร้านค้าปฏิบัติตามข้อตกลง SLA ของแพลตฟอร์มจะช่วยให้ร้านค้า ไม่โดนคะแนนบทลงโทษ สามารถเข้าร่วมแคมเปญใหญ่ ๆ เพิ่มโอกาสในการขาย และสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า

SLA ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง 

การทำธุรกิจออนไลน์บน Marketplace นั้น ผู้ขายจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับมาตรฐานการให้บริการหรือ SLA เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจจากลูกค้า โดยองค์ประกอบหลักของ SLA ที่ผู้ขายควรให้ความสำคัญมีดังนี้  

  1. หน้าที่และข้อจำกัดของการบริการ เป็นการระบุขอบเขตและเงื่อนไขในการให้บริการอย่างชัดเจน เช่น ประเภทสินค้าที่จำหน่าย พื้นที่การจัดส่งและข้อจำกัดต่าง ๆ ที่อาจส่งผลต่อการให้บริการ เพื่อให้ลูกค้าเข้าใจและได้รับบริการตรงตามความคาดหวัง 
  2. ระยะเวลาในการให้บริการ กำหนดกรอบเวลาที่ชัดเจนในการดำเนินการแต่ละขั้นตอน ตั้งแต่การรับคำสั่งซื้อ การจัดเตรียมสินค้า การจัดส่ง รวมถึงการแก้ไขปัญหาหากเกิดข้อผิดพลาด เพื่อให้การบริการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและตรงตามมาตรฐานที่กำหนด 
  3. การยกเลิกข้อตกลง ระบุเงื่อนไขและขั้นตอนในการยกเลิกคำสั่งซื้อหรือข้อตกลงการให้บริการอย่างชัดเจน รวมถึงนโยบายการคืนเงินและการชดเชยต่าง ๆ เพื่อสร้างความเป็นธรรมและความโปร่งใสในการทำธุรกรรม

ความสำคัญของ SLA  

SLA คือเครื่องมือสำคัญในการวัดและควบคุมคุณภาพการให้บริการของร้านค้าออนไลน์ การรักษามาตรฐานที่ดี จะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับร้านค้า และสามารถความมั่นใจให้แก่ลูกค้าได้ ไม่เพียงแต่ความพึงพอใจของลูกค้า แต่ยังส่งผลโดยตรงต่อการจัดอันดับและการแสดงผลสินค้าบนแพลตฟอร์ม ร้านค้าที่มีเกณฑ์ SLA ที่ดีมักจะได้รับสิทธิพิเศษจากแพลตฟอร์ม เช่น การแสดงผลบนหน้าเสิร์ช ได้รับป้ายรับรองคุณภาพหรือการเข้าร่วมแคมเปญพิเศษต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังส่งผลดีต่อผลประกอบการของร้านในระยะยาว โดยเฉพาะยอด Impression ในการแสดงผลของสินค้าใน Marketplace ซึ่งจะเพิ่มโอกาสในการขายสินค้าได้มากขึ้นด้วย


3 ตัวชี้วัด SLA แต่ละ Marketplace เรียกว่าอะไร ทำไมถึงสำคัญ?

อัตราการจัดส่งเร็ว,อัตราการจัดส่งล่าช้า,อัตราการจัดส่งไม่สำเร็จ 3 ตัวชี้วัดนี้ร้านค้าควรที่จะเลือกโฟกัสเป็นอันดับต้น ๆ เพราะหากถ้าทำได้ดีแล้ว ตัวชี้วัดอื่น ๆ ก็จะมีคะแนนที่ดีตามมาด้วย การทำความเข้าใจว่า SLA คืออะไรจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง แต่หากทำไม่ถึงเกณฑ์ตามที่แพลตฟอร์มกำหนดก็อาจจะมีบทลงโทษซึ่งส่งผลกระทบตั้งแต่การมองเห็นสินค้า ถูกตัดสิทธิ์เข้าร่วมแคมเปญการขายต่าง ๆ ถูกจำกัดคำสั่งซื้อรายวัน หรืออาจจะส่งผลกระทบไปถึงขั้นร้านค้าถูกระงับชั่วคราวและถูกปิดถาวรได้เลย ใครที่ขายออนไลน์ช่องทาง Marketplace นอกจากจะโฟกัสที่การขายแล้วก็อย่าลืมให้ความสนใจในเรื่องนี้กันด้วยนะคะ มาเริ่มทำความเข้าใจกับตัวชี้วัดแรกกันเลยค่ะ

1.อัตราการจัดส่งเร็ว

อัตราการจัดส่งสินค้าที่ได้รับการยืนยันสถานะส่งมอบให้กับขนส่งภายในระยะเวลาที่แพลตฟอร์มกำหนด โดยแต่ละแพลตฟอร์จะแตกต่างกันออกไปดังนี้ 

1. Shopee FHR หรือ (Fast Handover Rate) อัตราการจัดส่งเร็วต้องทำให้ได้ ≥ 80% ซึ่งจะถูกคำนวนจากคำสั่งซื้อทั้งหมดที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาย้อนหลัง 30 วัน ร้านค้าต้องทำการส่งมอบพัสดุให้กับขนส่งภายระยะเวลาที่กำหนดดังนี้

เกณฑ์ในการคำนวณอัตราการจัดส่งเร็ว Shopee

  • คำสั่งซื้อที่ได้รับการยืนยันก่อนเวลา 12.00 น. ร้านค้าต้องทำการส่งมอบพัสดุให้ขนส่งภายใน 23.59 น.ของวันที่ได้รับและยืนยันคำสั่งซื้อ
  • คำสั่งซื้อที่ได้รับการยืนยันหลังเวลา 12.00 น. ร้านค้าต้องทำการส่งมอบพัสดุให้ขนส่งภายใน 23.59 น. ของวันถัดไปหลังจากที่คำสั่งซื้อได้รับการยืนยัน

2. Lazada FFR (Fast Fulfilment Rate) อัตราการจัดส่งเร็วต้องทำให้ได้ ≥ 80% ขึ้นไป ร้านค้าจะต้องทำให้ออเดอร์อยู่ในสถานะ RTS (Ready to Ship) ภายใน 24 ชม. และส่งมอบพัสดุให้ขนส่งภายใน 48 ชม.ทำความเข้าใจง่าย ๆ เพื่อให้ได้ตามเกณฑ์ที่แพลตฟอร์มกำหนดก็คือต้องจัดการออเดอร์ภายใน 1 วันหรือ 24 ชม.ทันที หลังจากที่ลูกค้ากดชำระเงินนั่นเองค่ะ

3. TikTok FDR (Fast Dispatch Rate) อัตราการจัดส่งเร็วต้องทำให้ถึง 85% โดยจะถูกคิดจากเปอร์เซ็นต์ของคำสั่งซื้อที่จ่ายเงินแล้วทั้งหมด (ตลอดช่วง 30 วัน) ที่มีการส่งมอบให้ขนส่งภายในระยะเวลาที่กำหนดดังนี้

  • คำสั่งซื้อที่เกิดขึ้นก่อนเวลา 12:00 น. จะต้องได้รับการส่งมอบและตรวจสอบโดยผู้ให้บริการขนส่ง ภายในเวลา 23:59 น. ในวันทำการเดียวกัน (วันจันทร์ – วันเสาร์)

คำสั่งซื้อที่เกิดขึ้นหลังเวลา 12:00 น. จะต้องได้รับการส่งมอบและตรวจสอบโดยผู้ให้บริการขนส่ง ภายในเวลา 23:59 น. ในวันทำการถัดไป


2.อัตราการจัดส่งล่าช้า

เกิดจากหลาย ๆ สาเหตุ เช่น ร้านค้าไม่สามารถจัดส่งได้ เพราะสินค้าสต็อกหมด มีจำนวนคำสั่งซื้อจำนวนมากแต่มีจำนวนคนไม่เพียงพอในการแพ็คสินค้าทำให้ออเดอร์ค้างอยู่ที่ระบบนานจึงทำให้เกิดอัตราการจัดส่งที่ล่าช้า ยิ่งร้ายแรงไปกว่านั้นคำสั่งซื้อที่ล่าช้าอาจจะถูกยกเลิกได้เลย

  • Shopee Late Shipment Rate (LSR) ร้านค้าจะต้องมีเรทอัตราการจัดส่งที่ล่าช้าไม่เกิน 10% ในระยะเวลา 7 วันย้อนหลัง หากร้านค้ามีออเดอร์ที่ทำการจัดส่งล่าช้าเกินกว่ากำหนดจะได้รับคะแนนความประพฤติรวมไปถึงอาจจะถูกตัดสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ
  • TikTok Shop ใช้ตัวย่อว่า LDR (Late Dispatch Rate) ร้านค้าควรมีอัตรา LDR น้อยกว่า 10% ซึ่งจะถูกคำนวนจากเปอร์เซ็นต์ของคำสั่งซื้อทั้งหมด (ในช่วง 7 วันย้อนหลัง) ที่ไม่ได้อัปเดตสถานะเป็น “จัดส่งแล้ว” ภายใน 1 วันทำการ (ถึงเวลา 23.59 น.) นับตั้งแต่วันที่มีคำสั่งซื้อนั้น ๆ

Lazada สำหรับช่องทาง ลาซาด้า จะไม่ได้มีตัวชี้วัดที่เป็นอัตราการจัดส่งล่าช้าโดยตรงแต่ร้านค้าสามารถใช้ตัวชี้วัด อัตราการจัดส่งเร็ว FFR (Fast Fulfilment Rate) เป็นเกณฑ์การประเมินเพื่อประสิทธิภาพการจัดส่งของร้านค้าเองได้ค่ะ


3.อัตราการจัดส่งไม่สำเร็จ

อัตราการจัดส่งไม่สำเร็จหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อัตราการยกเลิกคำสั่งซื้อ ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นได้จากทั้งฝั่งผู้ซื้อและผู้ขายหรืออาจจะถูกยกเลิกโดยอัตโนมัติจากแพลตฟอร์มก็เป็นไปได้ สำหรับตัวชี้วัดในส่วนนี้เราจะพูดถึงกรณีการยกเลิกที่คำสั่งซื้อถูกยกเลิกเนื่องจากความผิดพลาดของผู้ขาย ซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลาย ๆ สาเหตุ เช่น ผู้ขายกดยกเลิกคำสั่งซื้อเอง เนื่องจากสินค้าหมดสต็อก ไม่สามารถจัดส่งได้, คำสั่งซื้อถูกยกเลิกโดยระบบ เพราะผู้ขายไม่สามารถจัดส่งได้ตามระยะเวลาที่กำหนด ระบบจึงยกเลิกอัตโนมัติ เป็นต้น มาดูกันเลยว่าแต่ละช่องทางการขายมีเกณฑ์การวัดอัตราการยกเลิกเท่าไหร่กันบ้าง

  • Shopee NFR (Non Fulfilment Rate) ร้านค้าจะต้องรักษาระดับอัตราการยกเลิกไม่ให้เกิน 10% ซึ่งเกณฑ์การวัดนี้จะถูกวัดจากจากจำนวนคำสั่งซื้อที่ถูกยกเลิกและขอคืนเงินทั้งหมด (ระยะเวลา 7 วันย้อนหลัง) นอกเหนือจากสาเหตุที่คำสั่งซื้อถูกยกเลิกโดยผู้ขายและยกเลิกโดยระบบแล้ว อัตราการยกเลิกอาจเกิดได้จากสาเหตุ การคืนสินค้า เช่น ผู้ซื้อขอคืนสินค้า เนื่องจากสินค้าอยู่ในสภาพที่ไม่พร้อมใช้งาน หรือ เนื่องจากความผิดพลาดในการแพ็ค เช่น ส่งสินค้าผิดไปจากที่เลือก สินค้าไม่ครบตามที่สั่ง สินค้าส่วนประกอบไม่ครบถ้วน เป็นต้น
  • Lazada CR% (Cancellation Rate) ถูกคำนวนจากคำสั่งซื้อทั้งหมดในช่วงเวลา 28 วันที่ผ่านมา ร้านค้าควรมีอัตราการยกเลิกไม่เกิน 5% เพราะอาจจะถูกจำกัดจำนวนคำสั่งซื้อรายวัน และหากมีอัตราการยกเลิกในช่วงแคมเปญที่สูงถึง 10% ก็จะถูกจำกัดเข้าร่วมแคมเปญพิเศษ ทำให้เสียโอกาสในการทำยอดขายในช่วงนั้นได้
  • Tiktok SFCR (Seller-Fault Cancellation Rate) ช่องทางนี้จะคำนวณจาก คำสั่งซื้อทั้งหมดในช่วง 7 วันที่ผ่านมาโดยที่ผู้ขายจะต้องมีเรทอัตราการยกเลิกไม่เกิน 10% เพราะจะโดนบทลงโทษจากแพลตฟอร์มโดยการให้คะแนนการละเมิดร้านค้า 2 คะแนน และหาก 10% นั้นมีจำนวนคำสั่งซื้อที่ถูกยกเลิกมากกว่า 30 ออเดอร์ ก็จะได้รับคะแนนการละเมิด 4 คะแนน ซึ่งตัวคะแนนการละเมิดของ TikTok Shop นั้นก็จะมีเกณฑ์การให้บทลงโทษในแต่ละช่วงเช่นกัน ร้ายแรงสุดร้านค้าอาจจะถูกปิดไปเลยก็ได้

สรุป SLA คืออะไร? ในแต่ละ Marketplace ให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น

สำหรับใครที่ขายออนไลน์อยู่ในทุก ๆ ช่องทางที่กล่าวมานั้นสามารถเทียบเกณฑ์การวัดจากตารางด้านบนนี้เลยค่ะ เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดขึ้นและจะได้เช็คบทลงโทษที่จะเกิดขึ้นหากทำได้ไม่ถึงตามเกณฑ์หรือเกินกว่าที่กำหนด (ข้อมูลอัปเดตเดือนพฤศจิกายน 2567)


ถ้าไม่อยากโดนบทลงโทษต้องทำยังไง? 

ทั้ง 3 ตัวชี้วัดที่กล่าวมานั้นร้านค้าควรทำ อัตราการจัดส่งเร็วให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดี เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอัตราการจัดส่งล่าช้า และอัตราการยกเลิก และหากไม่อยากมากังวลว่าจะทำได้ถึงเกณฑ์ตามที่แพลตฟอร์มกำหนดหรือไม่นั้น ในเรื่องของการจัดการออเดอร์ตั้งแต่การแพ็คสินค้า,จัดส่งสินค้า,การบริหารจัดการเรื่องสต็อกสินค้า สามารถใช้บริการ Fulfillment เพื่อเข้ามาช่วยในเรื่องนี้ได้ค่ะเพราะไม่เพียงแต่จะช่วยให้คุณไม่ต้องมานั่งกังวลเรื่องตัวชี้วัดเหล่านี้แล้วคุณยังมีเวลาไปโฟกัสจัดการเรื่องอื่นๆที่สำคัญกว่าไม่ว่าจะเป็นเรื่องการทำการตลาดเพื่อเพิ่มยอดขายให้กับแบรนด์ หรือ การดูแลลูกค้าที่เข้ามาสอบถามทางแชทข้อความได้อีกด้วย

สำหรับบริการคลังสินค้าออนไลน์แบบครบวงจรที่ MyCloud Fulfillment เรามีบริการการจัดการออเดอร์ด้วยระบบ Order Management System ที่ทันสมัยและ API เชื่อมต่อทุกช่องทางการขายและอัปเดตออเดอร์และสต็อกแบบเรียลไทม์ทุก 3 นาที สามารถดึงออเดอร์จากระบบหลังบ้าน Marketplace เพื่อทำการแพ็คสินค้าและจัดส่งสินค้าให้กับขนส่งที่เข้ามารับที่คลังได้ทันตามรอบ SLA ไม่ต้องมาคอยนั่งเช็คว่า % ของอัตราการจัดส่งเร็ว,อัตราการจัดส่งล่าช้า และ อัตราการยกเลิก จะเป็นยังไง เพราะใช้บริการคลังสินค้าที่ MyCloud เราการันตีเรื่องการจัดส่งเร็วด้วยทีมงานมืออาชีพที่ทำงานกันตลอด 24 ชม. คลังเปิดตลอดไม่มีวันหยุด หากสนใจบริการคลังสินค้าออนไลน์แบบครบวงจรที่ MyCloud Fulfillment สามารถทักเข้ามาเพื่อปรึกษากับทางเราได้ก่อนค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง

อ่านเพิ่มเติม

5 เทคนิคขายออนไลน์ ขายแบบไม่ขาย ถูกใจผู้ซื้อกว่าจริงหรือไม่?

ตลาด E-Commerce กำลังเติบโตไปพร้อมกับการแข่งขันที่สูงขึ้น นอกจากจุดเด่นของสินค้าแล้ว ธุรกิจยังต้องมีกลยุทธหรือเทคนิคการขายใหม่ ๆ เอาไว้ใช้มัดใจลูกค้า หรือไว้ตอบโจทย์พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปอยู่เสมอของผู้ซื้อ ในปัจจุบันมีหลากหลายธุรกิจเข้ามาในตลาดการขายออนไลน์ โดยเชื่อมต่อกับลูกค้าผ่านช่องทางต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เว็บไซต์ E-Commerce หรือ Marketplace อย่าง Lazada Shopee และอื่น ๆ ไปจนถึงการใช้ Social media ในการขายสินค้า (Social Commerce) เพราะมีเครื่องมือที่อำนวยความสะดวกในการขาย เช่น การไลฟ์ หรือการทำโฆษณา เป็นต้น            แต่รู้หรือไม่? พฤติกรรมของผู้ที่ใช้งาน Social media ส่วนใหญ่ไม่ชอบเห็นการโพสต์ขายสินค้าโดยตรง เพราะถือเป็นช่องทางที่ใช้ติดตาม ติดต่อสื่อสาร และเน้นไปที่ไลฟ์สไตล์มากกว่าการซื้อของ แต่เมื่อ Social media เป็นช่องทางที่มีโอกาสเข้าถึงลูกค้าโดยตรงได้สูงมาก ดังนั้นวันนี้สำหรับธุรกิจที่กำลังมองหาวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพการขาย และเพิ่มโอกาสในการขายบนโซเชียลมีเดีย MyCloud มีเทคนิคการขายแบบไม่ขาย เพื่อมัดใจลูกค้ามาฝากกันค่ะ 1.Relationship มัดใจลูกค้า […]

Strengthen Customer Relationships with CRM (Customer Relationship Management)

Modern sales are no longer about just buying and selling. Relying solely on attracting new customers can be exhausting and costly. With increased expenses to capture new audiences, businesses today focus on enhancing customer experiences through CRM. CRM fosters long-lasting relationships between buyers and sellers, turning first-time buyers into loyal customers. By building trust and […]

Shopping ใน 15 วินาทีกับสถิติ Tiktok Shop

Shopping ใน 15 วินาทีกับสถิติ Tiktok Shop           Shopping ง่ายๆ กับ Tiktok ใน 15 วินาทีเป็นเหตุผลให้คนตัดสินใจซื้อได้เร็วขึ้น? และ TikTok Shop ที่กำลังเติบโตไปทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แพลตฟอร์มนี้จะเป็นมากกว่าแค่ให้ความบันเทิงหรือไม่? จะโดดเด่นในตลาด E-Commerce แค่ไหน? MyCloud มีสถิติ และ case study ของร้านค้าที่น่าจับตามองบน Tiktok มาฝากกันค่ะ            หลังจากที่ MyCloud เคยแนะนำให้ทุกคนรู้จักกับฟังก์ชันใหม่ “Tiktok Shop” นี้มาแล้ว วันนี้เรามีธุรกิจ E-Commerce ที่โดดเด่นบน Tiktok ที่นำมาเสนอ นั่นคือร้าน เสื้อผ้าแมว และสัตว์เลี้ยงจากอินโดนีเซียเพื่อนบ้านของไทยเราค่ะ คุณ “Fredi” […]

5 เทคนิคขายออนไลน์ ขายแบบไม่ขาย ถูกใจผู้ซื้อกว่าจริงหรือไม่?

ตลาด E-Commerce กำลังเติบโตไปพร้อมกับการแข่งขันที่สูงขึ้น นอกจากจุดเด่นของสินค้าแล้ว ธุรกิจยังต้องมีกลยุทธหรือเทคนิคการขายใหม่ ๆ เอาไว้ใช้มัดใจลูกค้า หรือไว้ตอบโจทย์พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปอยู่เสมอของผู้ซื้อ ในปัจจุบันมีหลากหลายธุรกิจเข้ามาในตลาดการขายออนไลน์ โดยเชื่อมต่อกับลูกค้าผ่านช่องทางต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เว็บไซต์ E-Commerce หรือ Marketplace อย่าง Lazada Shopee และอื่น ๆ ไปจนถึงการใช้ Social media ในการขายสินค้า (Social Commerce) เพราะมีเครื่องมือที่อำนวยความสะดวกในการขาย เช่น การไลฟ์ หรือการทำโฆษณา เป็นต้น            แต่รู้หรือไม่? พฤติกรรมของผู้ที่ใช้งาน Social media ส่วนใหญ่ไม่ชอบเห็นการโพสต์ขายสินค้าโดยตรง เพราะถือเป็นช่องทางที่ใช้ติดตาม ติดต่อสื่อสาร และเน้นไปที่ไลฟ์สไตล์มากกว่าการซื้อของ แต่เมื่อ Social media เป็นช่องทางที่มีโอกาสเข้าถึงลูกค้าโดยตรงได้สูงมาก ดังนั้นวันนี้สำหรับธุรกิจที่กำลังมองหาวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพการขาย และเพิ่มโอกาสในการขายบนโซเชียลมีเดีย MyCloud มีเทคนิคการขายแบบไม่ขาย เพื่อมัดใจลูกค้ามาฝากกันค่ะ 1.Relationship มัดใจลูกค้า […]

Strengthen Customer Relationships with CRM (Customer Relationship Management)

Modern sales are no longer about just buying and selling. Relying solely on attracting new customers can be exhausting and costly. With increased expenses to capture new audiences, businesses today focus on enhancing customer experiences through CRM. CRM fosters long-lasting relationships between buyers and sellers, turning first-time buyers into loyal customers. By building trust and […]

Shopping ใน 15 วินาทีกับสถิติ Tiktok Shop

Shopping ใน 15 วินาทีกับสถิติ Tiktok Shop           Shopping ง่ายๆ กับ Tiktok ใน 15 วินาทีเป็นเหตุผลให้คนตัดสินใจซื้อได้เร็วขึ้น? และ TikTok Shop ที่กำลังเติบโตไปทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แพลตฟอร์มนี้จะเป็นมากกว่าแค่ให้ความบันเทิงหรือไม่? จะโดดเด่นในตลาด E-Commerce แค่ไหน? MyCloud มีสถิติ และ case study ของร้านค้าที่น่าจับตามองบน Tiktok มาฝากกันค่ะ            หลังจากที่ MyCloud เคยแนะนำให้ทุกคนรู้จักกับฟังก์ชันใหม่ “Tiktok Shop” นี้มาแล้ว วันนี้เรามีธุรกิจ E-Commerce ที่โดดเด่นบน Tiktok ที่นำมาเสนอ นั่นคือร้าน เสื้อผ้าแมว และสัตว์เลี้ยงจากอินโดนีเซียเพื่อนบ้านของไทยเราค่ะ คุณ “Fredi” […]