Knowledge Center

3 สิ่งที่ต้องรู้ เพื่อให้ร้านค้าอยู่รอดในโลก E-Commerce แห่งอนาคต

          จากการขยายตัวของธุรกิจ E-Commerce จึงเป็นโอกาสดีที่ผู้ประกอบการจะหันมาบุกตลาดออนไลน์หรือทำการตลาดออนไลน์ แต่ก่อนจะเจาะตลาดผู้ประกอบการต้องเข้าใจทิศทางตลาดและพฤติกรรมของผู้บริโภคให้ถ่องแท้เสียก่อนค่ะ เพราะในการขายออนไลน์มีรายละเอียดยิบย่อย และมีการจัดการที่แตกต่างจากการขายออฟไลน์ เพื่อให้ผู้ขายไม่เพียงแค่เพิ่มช่องทางการขายที่หลากหลายขึ้น แต่สามารถขยายตลาดได้อย่างมั่นคงในระยะยาว เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ และอยู่รอดในโลกของ E-Commerce ในอนาคต ไม่ว่าจะเกิดวิกฤตใด ๆ ขึ้นอีก ตัวอย่างเช่น วิกฤต COVID-19 เป็นต้น

          เรายังอยู่กับสาระดี ๆ จากงาน MyCloud Press Conference 2020 ที่คุณเมฆ นิธิ สัจจทิพวรรณ Chief Executive Officer (CEO) ของเราได้นำเสนอมุมมองความเปลี่ยนแปลงของธุรกิจออนไลน์จากวิกฤต COVID-19 (New Normal) และทิศทางการขายในโลกอนาคต รวมถึงสิ่งที่ต้องการเตือน!! ให้ผู้ประกอบการคำนึงถึง ที่หากเจาะลึกลงไปแล้วจะมี 3 สิ่งที่เราอยากให้ทำความเข้าใจเพื่อให้การขายออนไลน์ของคุณประสบความสำเร็จมากขึ้น โดยทั้ง 3 ข้อนั้นเกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์จากข้อมูล Data ในอดีตที่ผ่านมาเป็นหลักดังนี้ 

1. Understand lifestyles not trend

          ถ้าหากยึดติดแค่กระแสสินค้า จะทำให้ขายดีแค่ช่วงใดช่วงหนึ่ง แต่ถ้ายึดติดกับตัวผู้คน ผู้บริโภค จะสามารถขายดีอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนได้ เนื่องจากตามธรรมชาติของผู้บริโภคแล้ว จะมีความต้องการสินค้าลึกขึ้นเรื่อย ๆ อีกทั้งเนื่องจากยุคดิจิทัลเทรนด์ตลาดหรือผู้บริโภคจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ไม่เหมือนในอดีต การเข้าใจ Lifestyle เพื่อคาดการณ์แนวโน้มที่ผู้บริโภคโภคจะเปลี่ยนไป จึงเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึง ซึ่งแนวคิดจาก Simon Sinek เรื่อง Start With Why ได้ให้ข้อคิดไว้ดีมาก ๆ ว่า ธุรกิจควรทำความเข้าใจถึงเหตุผลในการแก้ปัญหา หรือ Pain Point ของลูกค้าให้ได้ ไม่ใช่ทำความเข้าใจแค่ตัวสินค้าที่อยากขายตามความนิยมในช่วงนั้น ๆเท่านั้น เห็นได้จากการตุนหน้ากากอนามัยในช่วงที่ COVID-19 ระบาดใหม่ ๆ แล้วขายไม่ได้ในเวลาถัดมานั่นเอง 

2. Understand Journey Not Channels

          Channel หรือช่องทางการขาย มีรูปแบบและคาแรกเตอร์เฉพาะตัวที่ต่างกัน และตอบโจทย์ธุรกิจได้ไม่เหมือนกัน ทุก ๆ ช่องทางจึงมีความสำคัญ โดยผู้คนที่เข้ามาในแต่ละช่องทางก็มีความคาดหวังที่ต่างกัน เส้นทางการซื้อสินค้า (Customer Journey) เองก็ด้วย เช่น Marketplaces ชื่อดังอย่าง Shopee หรือ Lazada จะเป็นพื้นที่สำหรับค้นหาสินค้า หรือดีลใหม่ ๆ ซึ่งจะแตกต่างจาก Social Media ที่เป็นพื้นที่ของการแชร์ ไลฟ์สไตล์ หรือความไว้เนื้อเชื่อใจและ Relationship ส่วนเว็บไซต์หรือ Line ที่เป็นของธุรกิจเอง เหมาะสำหรับการซื้อซ้ำ หรือติดต่อกับผู้บริโภค และเสนอขายสินค้าหรือบริการใหม่ ๆ รวมถึงสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อแบรนด์ให้กับลูกค้ารู้สึกว่าได้สิทธิพิเศษ ซึ่งหากผู้ขายขายสินค้าผิดวัตถุประสงค์ของแต่ละช่องทาง เช่นขายบน Lazada Shopee แต่ต้องการกำไรมาก หรือการโพสต์ขายสินค้าบน Social Media เป็นหลักแบบ Hard Sale โดยไม่คำนึงถึงผู้บริโภคหรือผู้ติดตาม และการใช้เว็บไซต์เพื่อหาลูกค้าใหม่ ๆ ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานั้นผิด!! และอาจส่งผลให้คุณทำการขายได้ยากมากยิ่งขึ้น ดังนั้นนอกจากการทำความเข้าใจพฤติกรรมของผู้บริโภคแล้วการทำความเข้าใจช่องทางการขายก็เป็นสิ่งสำคัญ

“เพราะไม่ใช่ทุกช่องทางที่จะเหมาะกับธุรกิจของคุณและแต่ละธุรกิจก็ไม่จำเป็นต้องใช้ทุก ๆ ช่องทาง”

          การทำให้แบรนด์เข้าถึงง่าย ลูกค้าสามารถเข้าถึงจากช่องทางพี่ลูกค้าสะดวกสบายที่สุดถือเป็นเรื่องสำคัญ และสามารถเพิ่มยอดขายได้ เราเรียกกันว่า Omni-Channel แต่ Omni-Channel ไม่ใช่การมีช่องทางการขายเยอะ แต่เป็นการเชื่อมต่อช่องทางที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นข้อมูล ออเดอร์ สต๊อก เพื่อให้สามารถจัดการได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ รวมถึงสามารถพัฒนาสินค้าและบริการให้ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าแต่ละคนได้ในอนาคตค่ะ

3. Understand patterns not numbers

          เพราะการขายสินค้าออนไลน์ค่อนข้างมีรูปแบบ ต้องเข้าใจรูปแบบไม่ใช่ตัวเลข เราจึงไม่ต้องการให้ผู้ประกอบการยึดติดกับตัวเลขที่คาดการณ์ไปล่วงหน้า เพราะถึงแม้จะมีตัวเลขที่สามารถคำนวณได้แน่นอน แต่ในอนาคตอาจมีวิกฤตอื่น ๆ เกิดขึ้นมาทำให้ข้อมูล Data เหล่านั้นใช้ไม่ได้ การเข้าใจ Patterns จึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะทำให้เราสามารถคาดการณ์ว่าควรจะทำอย่างไรในอนาคต รวมถึงรับมือกับวิกฤตต่าง ๆ จากประสบการณ์ที่เคยได้รับนั่นเอง ที่สำคัญที่สุดคือการบริหารจัดการที่ดี คุณไม่ต้องเก่งทุกอย่าง ไม่ต้องถือทุกอย่างไว้ที่ตัวเอง สามารถกระจายการทำงานที่ไม่ถนัดให้คนที่ถนัดทำ คุณจะได้สามารถโฟกัสเฉพาะแค่สิ่งที่ถนัดได้ และหากเกิดวิกฤตอีก จะได้ยืดหยุ่นพอที่จะปรับแปลงบริบทได้แบบทันท่วงที อีกทั้งยังต้องระมัดระวังเรื่องการนำเงินไปลงทุน ต้องกระจายความเสี่ยง อย่าเพิ่งลงทุนหวังผลระยะยาวและความคุ้มค่า ลงทุนเพื่อสร้างความยืดหยุ่นก่อนดีกว่า”

          MyCloudFulfillment ผู้ให้บริการด้านคลังสินค้าออนไลน์ครบวงจร พร้อมด้วยบริการ Fulfillment ที่เป็นมากกว่าแค่การ เก็บ แพ็ค ส่ง ยังมีจุดแข็งด้านดาต้าที่ช่วยลูกค้าวางแผนได้อย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการบริหารจัดการข้อมูลการสั่งซื้อสินค้า (Order Management Data) ที่สามารถช่วยรวมออเดอร์ของแต่ละช่องทางการขายมาเป็นที่เดียว และ ช่วยให้จัดการข้อมูลการซื้อของลูกค้า จัดการช่องทางการขาย จัดโปรโมชั่นอย่างมีประสิทธิภาพ และ มองเห็นโอกาสการเติบโตได้ (Growth Potential)

สนใจศึกษาและลงทะเบียนได้ที่ www.mycloudfulfillment.com
หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
โทร: 092-472-7742, 02-138-9920
อีเมล: [email protected]
line: @mycloudgroup
MyCloudFulfillment ขายของง่ายไม่ต้องแตะสต๊อก
บริการคลังสินค้าออนไลน์ เก็บ แพ็ค ส่ง ครบวงจร

บทความที่เกี่ยวข้อง

อ่านเพิ่มเติม

CRM คืออะไร ช่วยรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้าได้อย่างไรบ้าง

ขายของยุคนี้ ไม่ใช่แค่ซื้อมาแล้วขายไป เพราะการขายสินค้าไปได้ครั้งเดียว แล้วต้องหาลูกค้าใหม่เรื่อย ๆ อยู่ตลอด มันเหนื่อยเกินไปครับ และอาจได้ไม่คุ้มเสียอีกด้วย เพราะจะต้องมีค่าใช้จ่ายที่มากขึ้น เพื่อใช้ในการดึงดูดลูกค้าใหม่ เพราะงั้นสิ่งที่สำคัญในการตลาดยุคใหม่จึงเน้นใส่ใจประสบการณ์ของผู้บริโภคเป็นหลัก และหันมาทำ CRM เพื่อที่จะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย ให้ผู้ซื้อเกิดความประทับใจจนนำไปสู่การซื้อสินค้าอย่างต่อเนื่อง และรักษาฐานลูกค้า เพื่อให้มีการบอกต่อหรือแนะนำคนใกล้ตัวของเขาให้มาซื้อสินค้าหรือใช้บริการเราได้ในอนาคตครับ CRM คืออะไร ? Customer Relationship Management (CRM) คือ การบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า ซึ่งหมายถึงวิธีการที่เราจะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มยอดขายและ เก็บข้อมูลพฤติกรรมของลูกค้าเพื่อรักษาและขยายฐานลูกค้าในระยะยาว การทำ CRM จะช่วยสร้างทัศนคติที่ดีให้กับลูกค้า ให้มีความจงรักภักดีต่อแบรนด์ ต่อสินค้าหรือบริการ ประเภทของ CRM หลังจากที่ทำความรู้จักกันไปแล้วว่า CRM คืออะไร มาดูกันดีกว่าครับว่า CRM หรือการรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้า มีกี่ประเภท อะไรบ้าง  Operational CRM  Operational CRM คือระบบที่ช่วยจัดการข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับลูกค้า เช่น ข้อมูลการติดต่อกับลูกค้า ข้อมูลการบริการ ใบเสนอราคา หรือข้อมูลพฤติกรรมของลูกค้า ซึ่งจะช่วยให้กระบวนการทำงานคล่องตัวและสามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น […]

ไขข้อสงสัย KPI กับ OKRs ต่างกันอย่างไร ?

          ไขข้อสงสัย KPI กับ OKRs ต่างกันอย่างไร ?       OKRs ที่หลาย ๆ บริษัทกำลังให้ความสนใจ เป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนองค์กรให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุดจริงหรือไม่? แล้วเป็นเครื่องมือที่ใช้ประเมินผลที่บริษัทต่าง ๆ ใช้กันอย่าง KPI หรือเปล่า? จากนั้นก็เริ่มตั้งคำถามกันล่ะครับว่าสรุปตัวไหนได้ผลดีกว่ากัน? หลายคนอ่านมาถึงตรงนี้ยิ่งคิ้วขมวดไปกันใหญ่ เพราะยังไม่ค่อยสนิทกับทั้ง 2 อย่างเลย งั้นวันนี้ ผมจะพาไปรู้จักกับ KPI และ OKRs ฉบับเข้าใจง่าย ว่ามันคืออะไร และมีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร รวมถึงมันจะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพขึ้นได้อย่างไรกันครับ        KPI คืออะไร?           KPI ย่อมาจาก Key Performance Indicator เป็นตัวชี้วัดความสำเร็จหรือความก้าวหน้า เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินการขององค์กร หรือแม้แต่ประเมินการทำงานของตัวบุคคลว่ามีศักยภาพเพียงใด โดยเทียบผลการทำงานกับมาตรฐานหรือเป้าหมายที่ได้ตกลงกันไว้ ซึ่งถือว่าเป็นตัวชี้วัดที่น่าเชื่อถือมากครับ เพราะผลที่ออกมาจะอยู่ในรูปของตัวเลขหรือเป็นรูปธรรมที่เห็นได้ชัดและสามารถอ้างอิงได้ ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าเจ้า […]

CRM คืออะไร ช่วยรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้าได้อย่างไรบ้าง

ขายของยุคนี้ ไม่ใช่แค่ซื้อมาแล้วขายไป เพราะการขายสินค้าไปได้ครั้งเดียว แล้วต้องหาลูกค้าใหม่เรื่อย ๆ อยู่ตลอด มันเหนื่อยเกินไปครับ และอาจได้ไม่คุ้มเสียอีกด้วย เพราะจะต้องมีค่าใช้จ่ายที่มากขึ้น เพื่อใช้ในการดึงดูดลูกค้าใหม่ เพราะงั้นสิ่งที่สำคัญในการตลาดยุคใหม่จึงเน้นใส่ใจประสบการณ์ของผู้บริโภคเป็นหลัก และหันมาทำ CRM เพื่อที่จะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย ให้ผู้ซื้อเกิดความประทับใจจนนำไปสู่การซื้อสินค้าอย่างต่อเนื่อง และรักษาฐานลูกค้า เพื่อให้มีการบอกต่อหรือแนะนำคนใกล้ตัวของเขาให้มาซื้อสินค้าหรือใช้บริการเราได้ในอนาคตครับ CRM คืออะไร ? Customer Relationship Management (CRM) คือ การบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า ซึ่งหมายถึงวิธีการที่เราจะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มยอดขายและ เก็บข้อมูลพฤติกรรมของลูกค้าเพื่อรักษาและขยายฐานลูกค้าในระยะยาว การทำ CRM จะช่วยสร้างทัศนคติที่ดีให้กับลูกค้า ให้มีความจงรักภักดีต่อแบรนด์ ต่อสินค้าหรือบริการ ประเภทของ CRM หลังจากที่ทำความรู้จักกันไปแล้วว่า CRM คืออะไร มาดูกันดีกว่าครับว่า CRM หรือการรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้า มีกี่ประเภท อะไรบ้าง  Operational CRM  Operational CRM คือระบบที่ช่วยจัดการข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับลูกค้า เช่น ข้อมูลการติดต่อกับลูกค้า ข้อมูลการบริการ ใบเสนอราคา หรือข้อมูลพฤติกรรมของลูกค้า ซึ่งจะช่วยให้กระบวนการทำงานคล่องตัวและสามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น […]

ไขข้อสงสัย KPI กับ OKRs ต่างกันอย่างไร ?

          ไขข้อสงสัย KPI กับ OKRs ต่างกันอย่างไร ?       OKRs ที่หลาย ๆ บริษัทกำลังให้ความสนใจ เป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนองค์กรให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุดจริงหรือไม่? แล้วเป็นเครื่องมือที่ใช้ประเมินผลที่บริษัทต่าง ๆ ใช้กันอย่าง KPI หรือเปล่า? จากนั้นก็เริ่มตั้งคำถามกันล่ะครับว่าสรุปตัวไหนได้ผลดีกว่ากัน? หลายคนอ่านมาถึงตรงนี้ยิ่งคิ้วขมวดไปกันใหญ่ เพราะยังไม่ค่อยสนิทกับทั้ง 2 อย่างเลย งั้นวันนี้ ผมจะพาไปรู้จักกับ KPI และ OKRs ฉบับเข้าใจง่าย ว่ามันคืออะไร และมีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร รวมถึงมันจะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพขึ้นได้อย่างไรกันครับ        KPI คืออะไร?           KPI ย่อมาจาก Key Performance Indicator เป็นตัวชี้วัดความสำเร็จหรือความก้าวหน้า เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินการขององค์กร หรือแม้แต่ประเมินการทำงานของตัวบุคคลว่ามีศักยภาพเพียงใด โดยเทียบผลการทำงานกับมาตรฐานหรือเป้าหมายที่ได้ตกลงกันไว้ ซึ่งถือว่าเป็นตัวชี้วัดที่น่าเชื่อถือมากครับ เพราะผลที่ออกมาจะอยู่ในรูปของตัวเลขหรือเป็นรูปธรรมที่เห็นได้ชัดและสามารถอ้างอิงได้ ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าเจ้า […]