Knowledge Center

รักษาความสัมพันธ์กับลูกค้าด้วย CRM (Customer Relationship Management)

ขายของยุคนี้ ไม่ใช่แค่ซื้อมาแล้วขายไป เพราะการขายสินค้าไปได้ครั้งเดียว แล้วต้องหาลูกค้าใหม่เรื่อย ๆ อยู่ตลอด มันเหนื่อยเกินไปครับ และอาจได้ไม่คุ้มเสียอีกด้วย เพราะจะต้องมีค่าใช้จ่ายที่มากขึ้น เพื่อใช้ในการดึงดูดลูกค้าใหม่ เพราะงั้นสิ่งที่สำคัญในการตลาดยุคใหม่จึงเน้นใส่ใจประสบการณ์ของผู้บริโภคเป็นหลัก และหันมาทำ CRM เพื่อที่จะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย ให้ผู้ซื้อเกิดความประทับใจจนนำไปสู่การซื้อสินค้าอย่างต่อเนื่อง และรักษาฐานลูกค้า เพื่อให้มีการบอกต่อหรือแนะนำคนใกล้ตัวของเขาให้มาซื้อสินค้าหรือใช้บริการเราได้ในอนาคตครับ    

       CRM คืออะไร ?

          Customer Relationship Management (CRM) คือ การบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า ซึ่งหมายถึงวิธีการที่เราจะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มยอดขายและ เก็บข้อมูลพฤติกรรมของลูกค้าเพื่อรักษาและขยายฐานลูกค้าในระยะยาว การทำ CRM จะช่วยสร้างทัศนคติที่ดีให้กับลูกค้า ให้มีความจงรักภักดีต่อแบรนด์ ต่อสินค้าหรือบริการ โดยการทำ CRM ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้ครับ 

          1. Identify ขั้นตอนการเก็บข้อมูลของลูกค้า ไม่ว่าจะเป็น ชื่อ-สกุล อายุ อาชีพ ที่อยู่ อีเมล เบอร็โทรศัพท์ และช่องทางการติดต่ออื่น ๆ

          2. Differentiate ขั้นตอนการวิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้า เพราะลูกค้าแต่ละคนมีพฤติกรรมในการซื้อสินค้าที่แตกต่างกัน และเหมือนกันในบางจุด ดังนั้นควรวิเคราะห์ และจัดกลุ่มของลูกค้าเอาไว้

          3. Interact ขั้นตอนการสร้างปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า ติดต่อและปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าเพื่อค้นหาและทำความเข้าใจ Painpoint ของลูกค้า เเละช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวด้วยสินค้าหรือบริการที่มีอยู่ ก็จะช่วยให้ลูกค้าประทับใจ และสร้างความพึงพอใจต่อแบรนด์ได้ในระยะยาว

          4. Customize ขั้นตอนการปรับแต่งการนำเสนอสินค้าหรือบริการ ให้มีความเหมาะสมกับลูกค้าแต่ละคน โดยการนำระบบ CRM มาช่วยในการ จัดการฐานข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และเป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสาร สร้างปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า โดยระบบดังกล่าวมี 3 ประเภทดังนี้ครับ

                      – Operational CRM ซึ่งเป็นระบบที่ช่วยจัดการข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับลูกค้า เช่น ข้อมูลการติดต่อกับลูกค้า ข้อมูลการบริการ ใบเสนอราคา หรือข้อมูลพฤติกรรมของลูกค้า

                      – Analytical CRM เป็นระบบวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้า เพื่อนำมาสร้างหรือปรับปรุงแผนการรตลาดในการสร้างสัมพันธ์ที่ดีต่อลูกค้า ให้เกิดความประทับใจและซื้อของในระยะยาว

                      – Collaborative CRM เป็นระบบที่ช่วยในการติดต่อกับลูกค้าผ่านช่องทางการสื่อสารที่หลากหลาย อาทิเช่น เบอร์โทรศัพท์ อีเมล เว็บไซต์ แฟกซ์ จดหมาย เป็นตัวช่วยให้จัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ สนับสนุนให้ง่ายต่อการบริการลูกค้า 

       ประโยชน์ของการทำ CRM

       1. เพิ่มยอดขายและลดต้นทุนในการดึงดูดลูกค้าใหม่ ๆ

          การรักษาความสัมพันธ์อันดีต่อลูกค้าช่วยให้ลูกค้าเชื่อมั่นในตัวแบรนด์ และกลับมาซื้อหรือใช้บริการอย่างต่อเนื่อง เป็นการเพิ่มยอดขายให้กับองค์กร รวมไปถึงการชักชวนคนใกล้ตัวให้รู้จักแบรนด์ ซึ่งช่วยให้แบรนด์ไม่ต้องเสียต้นทุนในการดึงดูด หรือหาลูกค้าใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็น การโฆษณา หรือการทำแคมเปญต่าง ๆ

       2. ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

          ไม่ใช้แค่แผนกการขาย แต่รวมถึงทุกฝ่ายที่ทำงานเกี่ยวข้องกับลูกค้า ไม่ว่าจะเป็น การตลาด Customer Service ฝ่ายบัญชี ฝ่ายสินค้าคงคลัง หรือ ฝ่ายการจัดส่ง เพราะการรวบรวมข้อมูลของลูกค้าไว้ในฐานข้อมูลกลาง ทำให้ทุกฝ่ายประสานงานกันได้ง่ายขึ้น รวดเร็วขึ้น และมีความเข้าใจตรงกัน ทำให้ลดการเกิดความผิดผลาดลงได้ นอกจากนี้ข้อมูลเหล่านั้นยังช่วยในการวางแผนการทำงานในอนาคต เพื่อพัฒนาธุรกิจให้ยั่งยืนอีกด้วย

       3. สร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าหรือบริการ

          เพราะปัจจุบันลูกค้าไม่เพียงแต่หาสินค้าที่ตอบโจทย์ความต้องการ แต่ยังหาร้านค้าหรือผู้ให้บริการที่สร้างความพึงพอใจให้ได้มากที่สุด สิ่งที่ลูกค้าต้องการจึงไม่ใช่แค่คุณค่าจากคุณภาพสินค้าและบริการ แต่เป็นการบริการที่ดี ผู้ขายยิ้มแย้มแจ่มใส พูดจาดี มีมารยาท และใส่ใจต่อลูกค้า ซึ่งตรงนี้เป็นจุดที่จะพึ่งระบบอย่างเดียวไม่ได้ ต้องขึ้นอยู่กับตัวบุคคลด้วยครับ นอกจากนั้นการบริการเฉพาะตัวเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเเบรนด์และทำให้แต่ละเเบรนด์แตกต่างกันด้วยครับ

       อุปสรรคของการใช้ระบบ CRM

          อย่างไรก็ตามระบบอัตโนมัติต้องอาศัยคนในการควบคุมครับ ดังนั้นการให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบต่อผู้ที่เกี่ยวข้องก็เป็นเรื่องที่สำคัญมากครับ เพราะในส่วนของการทำงานแบบอัตโนมัติ ไม่ควรปล่อยให้หน้าที่ของระบบเพียงอย่างเดียว เพราะมีความเสี่ยงต่อการถูกแฮ็กข้อมูลได้ ที่สำคัญองค์กรต้องวางแผนการแก้ไขปัญหาตั้งแต่แรก เพราะหากข้อมูลหรือการทำงานผิดพลาดตั้งแต่แรก การทำงานในขั้นตอนถัด ๆ มาก็อาจเกิดปัญหาได้

ตัวอย่าง ผู้ให้บริการ CRM Software ที่เป็นที่นิยมในตลาด ได้แก่

Zoho, Microsoft Dynamic CRM, Sugar CRM, SignifyCRM, Pipedrive, Insightly และ Salesforce ครับ

          จากภาพจะเห็นได้ชัดเลยนะครับว่ากว่าที่คนทั่วไปจะมาเป็นลูกค้าของเราได้นั้น ต้องผ่านหลายฝ่าย หลายกระบวนการพอสมควร ดังนั้นการขายไม่ได้เกี่ยวข้องแค่เฉพาะ Sale เท่านั้น แต่รวมไปถึงการรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้าให้ยืนยาวต่อไปนั้น ขึ้นอยู่กับทุกขั้นตอนของการขาย ไม่ว่าจะเป็น

          ก่อนการขาย ผู้ขายต้องมีความอดทนและมีใจรักงานขายเพราะทัศนคติของพนักงานนั้นจะส่งผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพของงานด้วยครับ ผู้ขายที่ดี ต้องเข้าใจปัญหาของลูกค้า รู้ว่าลูกค้าต้องการอะไร หรือมีปัญหาอะไรถึงต้องการสินค้าของเราไปแก้

          ระหว่างการขาย การสื่อสารกับลูกค้าระหว่างการขายนี้จึงต้องคำนึงถึงความพึงพอใจหรือความต้องการซื้อของลูกค้าเป็นหลัก ควรจะเป็นการขายที่เสนอทางเลือกให้กับลูกค้า และให้คำแนะนำแก่ลูกค้า เพื่อตอบโจทย์ หรือแก้ปัญหาของลูกค้าได้จริง ๆ การสื่อสารอย่างมีมารยาทและถูกต้องครบถ้วนเป็นสิ่งสำคัญ

          หลังการขาย สร้างความสัมพันธ์ลูกค้าต่อเนื่อง เสมอต้นเสมอปลาย นอกจากการติดตามผลหลังการขายที่ควรจะมีเพื่อ สอบถามความพึงพอใจ หากมีจุดที่ต้องแก้ไขและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น การใส่ใจรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ของลูกค้าได้ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญด้วยครับ

          MyCloudFulfillment ขอเป็นอีกหนึ่งกำลังใจให้ผู้ประกอบการทุกท่านนะครับ เพราะเราเชื่อว่าไม่ว่าจะเป็นร้านค้าขนาดเล็ก หรือใหญ่ ก็มีความสามารถในการแข่งขันทัดเทียมองค์กรขนาดใหญ่ได้ เราอยากให้ผู้ขายมีเวลาโฟกัส แต่เรื่องการขายของ การทำแบรนด์ หรือ Marketing งานอื่นๆที่เหลือ เราจะเป็นผู้ช่วยคอยจัดการให้คุณเอง ด้วยบริการคลังสินค้าออนไลน์ และมีระบบจัดการออนไลน์ที่ทำให้ผู้ประกอบการสามารถเก็บข้อมูลลูกค้าและนำมาวิเคราะห์ทำ CRM ได้ดีเยี่ยมเลยครับ ส่วนเรื่องงาน เก็บ แพ็ค ส่ง ให้เราเป็นผู้ช่วยคุณดีกว่าครับ 🙂

สนใจศึกษาและลงทะเบียนได้ที่ www.mycloudfulfillment.com
หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
โทร: 092-472-7742, 02-138-9920
อีเมล: [email protected]
line: @mycloudgroup
MyCloudFulfillment ขายของง่ายไม่ต้องแตะสต๊อก
บริการคลังสินค้าออนไลน์ เก็บ แพ็ค ส่ง ครบวงจร 

บทความที่เกี่ยวข้อง

อ่านเพิ่มเติม

เจาะลึก ส่งฟรีขั้นต่ำ 99 บาท จาก Shopee ผู้ขายควรเข้าร่วมหรือไม่?

โปรแกรม ส่งฟรีขั้นต่ำ 99 บาท จาก Shopee  นักช็อปเคยสงสัยไหม ทำไมขึ้นว่าส่งฟรี แต่ยังต้องออกค่าส่ง? ผู้ขายต้องรับผิดชอบค่าส่งเองหรือเปล่า? วันนี้ MyCloud มีคำตอบให้ทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับโปรแกรมส่งฟรีขั้นต่ำ 99 บาท จาก Shopee เพื่อให้ผู้ขายได้ทำความรู้จักข้อดี ข้อเสียของโปรแกรม และตัดสินใจเข้าร่วมโปรแกรมได้ต่อไป สำหรับโปรแกรมส่งฟรีนั้น Shopee จะสนับสนุนค่าส่งฟรี ให้กับลูกค้าที่ใช้โค้ดส่วนลด กับร้านค้าที่เข้าร่วมโปรแกรมส่งฟรีขั้นต่ำ 99 บาทสูงสุดจำนวน 40 บาทต่อออเดอร์ ซึ่งในกรณีที่สินค้าของคุณมีน้ำหนักเบาค่าส่งไม่เกิน 40 บาท ก็จะได้ส่งฟรี 100% ไปเลยค่ะ แต่ถ้าหากสินค้าหนัก หรือมีขนาดใหญ่ก็จะต้องออกค่าส่วนต่างเอง ซึ่งในส่วนนี้ค่าจัดส่งส่วนต่างจะถูกคิดไปกับจำนวนเงินที่ผู้ซื้อต้องชำระนั่นเอง ดังนั้นหายสงสัยกันได้แล้วนะคะว่าทำไมชื่อส่งฟรี แล้วไม่ฟรี!! ผู้ซื้อถูกใจ ผู้ขายได้ประโยชน์  สำหรับผู้ซื้อจะได้สินค้าจากร้านที่เ้ขาร่วมโปรแกรม ทำให้ประหยัดค่าส่ง ซึ่งสินค้าจากร้านค้าที่เข้าร่วมโปรแกรมส่งฟรีจะมีแถบของตัวเองโดยเฉพาะ ทำให้ผู้ซื้อเข้าไปเลือกซื้อได้สะดวกมากขึ้น ส่วนร้านค้าที่เข้าร่วมโปรแกรม ส่งฟรีขั้นต่ำ 99 บาท จะได้รับสิทธิพิเศษดังต่อไปนี้ 1. เพิ่มโอกาสในการเพิ่มยอดขาย และสินค้าที่พบเห็นจากลูกค้าได้มากขึ้น 2. สำหรับร้านค้าที่ซื้อโฆษณา […]

เจาะลึก ส่งฟรีขั้นต่ำ 99 บาท จาก Shopee ผู้ขายควรเข้าร่วมหรือไม่?

โปรแกรม ส่งฟรีขั้นต่ำ 99 บาท จาก Shopee  นักช็อปเคยสงสัยไหม ทำไมขึ้นว่าส่งฟรี แต่ยังต้องออกค่าส่ง? ผู้ขายต้องรับผิดชอบค่าส่งเองหรือเปล่า? วันนี้ MyCloud มีคำตอบให้ทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับโปรแกรมส่งฟรีขั้นต่ำ 99 บาท จาก Shopee เพื่อให้ผู้ขายได้ทำความรู้จักข้อดี ข้อเสียของโปรแกรม และตัดสินใจเข้าร่วมโปรแกรมได้ต่อไป สำหรับโปรแกรมส่งฟรีนั้น Shopee จะสนับสนุนค่าส่งฟรี ให้กับลูกค้าที่ใช้โค้ดส่วนลด กับร้านค้าที่เข้าร่วมโปรแกรมส่งฟรีขั้นต่ำ 99 บาทสูงสุดจำนวน 40 บาทต่อออเดอร์ ซึ่งในกรณีที่สินค้าของคุณมีน้ำหนักเบาค่าส่งไม่เกิน 40 บาท ก็จะได้ส่งฟรี 100% ไปเลยค่ะ แต่ถ้าหากสินค้าหนัก หรือมีขนาดใหญ่ก็จะต้องออกค่าส่วนต่างเอง ซึ่งในส่วนนี้ค่าจัดส่งส่วนต่างจะถูกคิดไปกับจำนวนเงินที่ผู้ซื้อต้องชำระนั่นเอง ดังนั้นหายสงสัยกันได้แล้วนะคะว่าทำไมชื่อส่งฟรี แล้วไม่ฟรี!! ผู้ซื้อถูกใจ ผู้ขายได้ประโยชน์  สำหรับผู้ซื้อจะได้สินค้าจากร้านที่เ้ขาร่วมโปรแกรม ทำให้ประหยัดค่าส่ง ซึ่งสินค้าจากร้านค้าที่เข้าร่วมโปรแกรมส่งฟรีจะมีแถบของตัวเองโดยเฉพาะ ทำให้ผู้ซื้อเข้าไปเลือกซื้อได้สะดวกมากขึ้น ส่วนร้านค้าที่เข้าร่วมโปรแกรม ส่งฟรีขั้นต่ำ 99 บาท จะได้รับสิทธิพิเศษดังต่อไปนี้ 1. เพิ่มโอกาสในการเพิ่มยอดขาย และสินค้าที่พบเห็นจากลูกค้าได้มากขึ้น 2. สำหรับร้านค้าที่ซื้อโฆษณา […]