Knowledge Center

Marketplace หรือ Social Commerce ขายที่ไหนกำไรดีกว่า?

Marketplace Social Commerce

ในยุคที่การขายออนไลน์เติบโตอย่างรวดเร็ว คำถามสำคัญที่พ่อค้าแม่ค้าหลายคนมักจะถามตัวเองคือ “ควรขายผ่าน Marketplace หรือ Social Commerce เพื่อให้ได้กำไรมากที่สุด?” ก่อนที่จะรู้คำตอบนั้นก็ควรจะรู้ก่อนว่าแต่ละช่องทางนั้นมีข้อดีและข้อเสียที่ต่างกันอย่างไร แล้วช่องทางไหนที่เหมาะกับธุรกิจของคุณมากที่สุด? บทความนี้จะช่วยเปรียบเทียบให้เห็นภาพชัดเจน พร้อมคำแนะนำที่ช่วยให้คุณตัดสินใจได้ง่ายขึ้น!

Marketplace คืออะไร? ข้อดีและข้อเสีย

Marketplace คือแพลตฟอร์มที่รวบรวมผู้ขายและผู้ซื้อมาไว้ในที่เดียว เช่น Lazada, Shopee, และ TikTok Shop ซึ่งกลายเป็นที่นิยมในหมู่ผู้ขายออนไลน์เพราะสามารถเข้าถึงลูกค้าได้จำนวนมากในเวลาอันสั้น

ข้อดีของ Marketplace

1.เข้าถึงฐานลูกค้าขนาดใหญ่ เพราะมีจำนวนผู้ใช้งานที่เยอะมากและหลากหลายทั้งในแง่ของเพศ อายุ และความสนใจ ทำให้โอกาสที่สินค้าของคุณจะถูกพบเห็นและซื้อมีสูง อีกทั้งยังมีฟีเจอร์ช่วยโปรโมตสินค้า เช่น การแสดงสินค้าในหน้าแนะนำ (Recommended), การจัดอันดับสินค้ายอดนิยม, หรือฟังก์ชัน Search ที่ช่วยให้ลูกค้าเจอสินค้าคุณง่ายขึ้น และมีผู้ใช้งานทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง คุณจึงสามารถขายสินค้าและทำการตลาดได้ต่อเนื่องโดยไม่จำเป็นต้องรอช่วงเวลาหรือกิจกรรมพิเศษ

E-Commerce

2.ระบบจัดการที่สะดวก ระบบจัดการที่สะดวก มีเครื่องมือที่ช่วยในเรื่องของการชำระเงิน การจัดส่ง และโปรโมชั่น

การชำระเงิน (Payment) มีระบบชำระเงินอัตโนมัติที่รองรับการจ่ายเงินหลากหลายช่องทาง เช่น บัตรเครดิต/เดบิต, โอนผ่านธนาคาร, และ e-Wallet ระบบจะช่วยเก็บเงินจากลูกค้าและโอนเงินเข้าบัญชีของคุณโดยอัตโนมัติ ลดขั้นตอนการติดตามหรือจัดการการชำระเงินเอง

การจัดส่ง (Shipping) ทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ด้านการจัดส่ง เช่น Kerry, Flash Express หรือ J&T ที่เชื่อมต่อระบบโดยตรง เมื่อมีคำสั่งซื้อ ระบบจะช่วยสร้างใบจัดส่ง (Shipping Label) พร้อมรายละเอียดลูกค้า โดยผู้ขายเพียงแค่พิมพ์และส่งสินค้าให้พาร์ทเนอร์จัดส่งผู้ซื้อยังสามารถติดตามสถานะสินค้าได้ง่ายผ่าน มาร์เก็ตเพลส

โปรโมชั่น (Promotion) เครื่องมือช่วยสร้างแคมเปญส่งเสริมการขาย เช่น ส่วนลด, คูปอง, การจัด Flash Sale ช่วยให้ผู้ขายดึงดูดลูกค้าและเพิ่มยอดขายได้ง่ายขึ้น โดยไม่ต้องจัดการระบบโปรโมชั่นเอง

3.ความน่าเชื่อถือของแพลตฟอร์ม มีความน่าเชื่อถือในสายตาของลูกค้าเนื่องจากแพลตฟอร์มมีการวางระบบที่ปลอดภัยและโปร่งใส ซึ่งช่วยสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าทั้งในด้านการซื้อสินค้าและการบริการหลังการขาย โดยสามารถแยกเป็นข้อได้ดังนี้

ความปลอดภัยในการชำระเงิน ใช้ระบบชำระเงินที่ปลอดภัยเช่น การเข้ารหัสข้อมูล(Encryption)และมาตรฐานความปลอดภัยระดับสากล (PCI DSS)ลูกค้าสามารถจ่ายเงินผ่านช่องทางที่หลากหลายโดยไม่ต้องกังวลเรื่องข้อมูลรั่วไหลหรือการถูกโกง

นโยบายรับประกันสินค้า มักมีนโยบายคุ้มครองผู้ซื้อ เช่น การคืนเงินหรือเปลี่ยนสินค้าในกรณีที่สินค้าชำรุดหรือไม่ได้รับสินค้าลูกค้ารู้สึกมั่นใจว่าหากเกิดปัญหา แพลตฟอร์มจะช่วยแก้ไขหรือติดตามเรื่องให้

ความโปร่งใสในการรีวิวสินค้า ลูกค้าแสดงความคิดเห็นหรือให้คะแนนสินค้าที่เคยซื้อซึ่งช่วยให้ลูกค้าคนอื่นตัดสินใจได้ง่ายขึ้นผู้ขายไม่สามารถแก้ไขหรือลบรีวิวได้ ทำให้ข้อมูลมีความน่าเชื่อถือ

ระบบตรวจสอบผู้ขาย (Seller Verification)มีการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพของผู้ขาย เช่น การลงทะเบียนธุรกิจ, การยืนยันตัวตน, และการติดตามพฤติกรรมของผู้ขายลูกค้ารู้สึกมั่นใจว่าสินค้าที่ซื้อจะมาจากผู้ขายที่ผ่านการตรวจสอบ

-ชื่อเสียงและการบริการของแพลตฟอร์ม ด้านการให้บริการและการจัดการข้อร้องเรียนทำให้ลูกค้ารู้สึกสบายใจในการใช้บริการตัวอย่างเช่น Shopee และ Lazada ในประเทศไทยได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าหลายล้านคน

ข้อเสียของ Marketplace

1.ค่าธรรมเนียมและค่าคอมมิชชัน อาจต้องเสียค่า GP (Gross Profit) สูงถึง 10-30% ต่อออเดอร์โดยจะเก็บจากยอดขายสินค้า โดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ขึ้นอยู่กับประเภทสินค้า เช่น สินค้าทั่วไปจะมีค่า GP ต่ำกว่า แต่สินค้าที่มีการแข่งขันสูง เช่น แฟชั่นหรืออิเล็กทรอนิกส์ อาจมีค่า GP สูงกว่า ค่าธรรมเนียมนี้ครอบคลุมบริการต่างๆ เช่น การโปรโมต การจัดส่ง และระบบชำระเงิน ทำให้ผู้ขายต้องวางแผนราคาสินค้าให้เหมาะสมเพื่อรักษากำไร.

2.การแข่งขันที่สูง เนื่องจากมีผู้ขายจำนวนมากในหมวดสินค้าเดียวกัน ทำให้ต้องลดราคาสินค้าเพื่อดึงดูดลูกค้า ส่งผลให้กำไรลดลง และยากที่จะสร้างความแตกต่างหรือเพิ่มมูลค่าแบรนด์ เพราะลูกค้ามักตัดสินใจซื้อจากราคาที่คุ้มค่าที่สุด

3.การควบคุมลูกค้า ผู้ขายไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลลูกค้าได้โดยตรง เนื่องจากลูกค้าที่ซื้อสินค้าผ่านช่องทางนี้ถือว่าเป็นของแพลตฟอร์มไม่ใช่ของคุณ โดยผลกระทบที่สำคัญได้แก่

-ขาดการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า คุณไม่สามารถสื่อสารโดยตรงกับลูกค้า เช่น ส่งโปรโมชันหรือข้อเสนอพิเศษ ทำให้ยากต่อการสร้างฐานลูกค้าประจำ

-ข้อมูลลูกค้าเป็นของแพลตฟอร์ม ช่องทางการขายทางมาร์เก็ตเพลส จะเก็บข้อมูลสำคัญ เช่น ชื่อ เบอร์โทร และพฤติกรรมการซื้อ ทำให้คุณพลาดโอกาสในการนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อพัฒนาธุรกิจ

-การพึ่งพา Marketplace สูง หากมีการเปลี่ยนโยบายหรือปิดบัญชีร้านค้า คุณอาจสูญเสียโอกาสในการขายและฐานลูกค้าทั้งหมด

สรุปข้อเสีย การขายในมาร์เก็ตเพลสทำให้คุณไม่สามารถควบคุมหรือสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าได้อย่างเต็มที่ เพราะลูกค้าเป็นของแพลตฟอร์มส่งผลต่อความยั่งยืนของธุรกิจในระยะยาว

Social Commerce คืออะไร? ข้อดีและข้อเสีย

Social Commerce เป็นการขายสินค้าผ่านแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย เช่น Facebook, Instagram, และ LINE ซึ่งเป็นการสื่อสารโดยตรงระหว่างผู้ขายและลูกค้า

ข้อดีของการขายผ่าน Social Commerce

1.ไม่มีค่าคอมมิชชัน การขายผ่าน Social Commerce อย่าง Facebook, Instagram, TikTok หรือ LINE ไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียมแพลตฟอร์มจากยอดขาย ต่างจากมาร์เก็ตเพลสที่มักหักค่าธรรมเนียม 10-15% ทำให้คุณลดการเสียค่าธรรมเนียมในแต่ละออเดอร์

2.สร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อลูกค้าได้ง่าย ผู้ขายสามารถพูดคุยกับลูกค้าได้โดยตรงผ่านแชท เช่น LINE, Messenger หรือคอมเมนต์ในโพสต์ ลูกค้าสามารถสอบถามหรือขอคำแนะนำเกี่ยวกับสินค้าได้แบบเรียลไทม์ ผู้ขายจึงสามารถสร้างความไว้วางใจ ตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะบุคคล ลูกค้าจะรู้สึกใกล้ชิดกับแบรนด์ส่งผลให้เกิดความภักดีและกลับมาซื้อซ้ำบ่อยขึ้น.

3.สร้างเอกลักษณ์ของแบรนด์ สไตล์การโพสต์และการตอบโต้ช่วยทำให้แบรนด์ของคุณโดดเด่น Social Commerce ช่วยให้คุณสร้างเอกลักษณ์แบรนด์ผ่านเนื้อหา เช่น การโพสต์ที่มีเอกลักษณ์ การใช้ภาษาเฉพาะตัว หรือการตอบคอมเมนต์ที่เป็นมิตรและใกล้ชิด สิ่งเหล่านี้ทำให้แบรนด์ของคุณน่าจดจำและแตกต่างจากคู่แข่ง ลูกค้าจำแบรนด์ได้ง่าย สร้างความประทับใจ และเพิ่มโอกาสในการขายซ้ำ.

ข้อเสียของ Social Commerce

ตอบแชทลูกต้า

1.ใช้เวลามากในการตอบแชท การพูดคุยกับลูกค้าเป็นรายบุคคล เช่น ตอบคำถามเกี่ยวกับสินค้า, แจ้งราคาหรือโปรโมชั่น และยืนยันการสั่งซื้อ หากมีออเดอร์หรือข้อความเข้ามาจำนวนมาก อาจทำให้ตอบแชทล่าช้า ส่งผลให้ลูกค้ารอคอยนานและเปลี่ยนใจไปซื้อที่อื่น

2.การจัดการสต็อกไม่อัตโนมัติ ต้องใช้เวลามากขึ้นในการจัดการข้อมูลเอง ไม่มีระบบจัดการสต็อกอัตโนมัติเหมือนทางมาร์เก็ตเพลส ทำให้ผู้ขายต้องอัปเดตข้อมูลสต็อกด้วยตนเอง เช่น จำนวนสินค้าคงเหลือหรือการจองสินค้า หากขายในหลายช่องทาง อาจเกิดปัญหาสต็อกคลาดเคลื่อน สินค้าหมดโดยไม่ทราบ หรือส่งผิดพลาด

Stock Management

3.การเข้าถึงที่จำกัด: ขึ้นอยู่กับจำนวนผู้ติดตามและการลงทุนในโฆษณา มีข้อจำกัดในเรื่องการเข้าถึง หากจำนวนผู้ติดตามน้อย โอกาสในการมองเห็นโพสต์จะต่ำ ยิ่งไปกว่านั้น การเพิ่มการเข้าถึงส่วนใหญ่มักต้องอาศัยการลงทุนในโฆษณา เช่น Facebook Ads หรือการโปรโมตโพสต์ ซึ่งอาจเป็นต้นทุนเพิ่มเติมสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก.

สรุปควรเลือกขายที่ช่องทางไหน ?

ขายที่ไหนกำไรดีกว่า
  • เลือกขายทาง Marketplace หากคุณต้องการ ขยายฐานลูกค้าแบบรวดเร็ว,ใช้ระบบจัดการออเดอร์ที่มีประสิทธิภาพ และ ไม่ต้องการดูแลระบบหลังบ้านเองมากนักเพราะลูกค้าสามารถกดซื้อสินค้าได้ด้วยตัวเอง
  • เลือก Social Commerce หากคุณต้องการ เก็บกำไรเต็มจำนวน,มีความสัมพันธ์ที่ดีและใกล้ชิดกับลูกค้า,ควบคุมการสื่อสารและประสบการณ์ของลูกค้าได้อย่างเต็มที่

แต่หากคุณต้องการเพิ่มกำไรและประหยัดเวลาการใช้ทั้งสองช่องทางร่วมกันอาจเป็นคำตอบที่ดีที่สุด และการที่จะขายทั้ง 2 ช่องทางได้แบบไม่ติดปัญหาก็ต้องมีเรื่องของระบบเข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นระบบการจัดการสต๊อกสินค้าและเรื่องการจัดส่งที่รวดเร็วเพราะความต้องการของลูกค้าทั้ง 2 ช่องทางก็คงอยากได้รับสินค้าที่รวดเร็วเช่นกัน

ไม่ว่าคุณจะเลือกขายผ่าน Marketplace หรือ Social Commerce หรือทั้งสองช่องทาง MyCloud Fulfillment พร้อมเป็นผู้ช่วยด้านการจัดการหลังบ้าน ตั้งแต่การจัดการสต็อก การแพ็กสินค้า ไปจนถึงการจัดส่ง ด้วยระบบ Omni-Channel Management ที่ช่วยให้คุณรวมสต็อกและออเดอร์จากทุกช่องทางไว้ในที่เดียว

รูปที่แสดงถึงระบบ MyCloud Fulfillment สามารถเชื่อมต่อและทำงานกับระบบไหนได้บ้าง

-ขายสินค้าได้หลายช่องทางโดยไม่ต้องกังวลเรื่องสต็อก

-ประหยัดเวลาในกระบวนการหลังบ้าน เพื่อให้คุณโฟกัสกับการขายและเพิ่มกำไร

-เข้าถึงข้อมูลเชิงลึกผ่าน Dashboard ที่ช่วยวิเคราะห์และวางแผนการขายได้แม่นยำ

เพียงแค่คุณนำสินค้ามาฝากไว้ที่คลังสินค้าของเรา MyCloud เราจะทำการเชื่อมต่อช่องทางการขายให้คุณได้ทุกช่องทาง เช่น Lazada, Shopee, TikTok, Line Shopping และหากเป็นการขายผ่านทาง Social Commerce เช่น Facebook Chat, Line OA, Instagram เรามีฟีเจอร์ Chat Commerce ที่ช่วยซัพพอร์ตการขายผ่านทางแชทให้เป็นไปได้อย่างสะดวกเพียงแค่ส่งลิงก์สรุปยอดออเดอร์สินค้าให้ลูกค้าชำระเงิน ระบบจะทำการดึงข้อมูลออเดอร์นั้นๆส่งมายังระบบคลังสินค้า MyCloud จากนั้นเราจะทำการแพ็กส่งให้ทันที ร้านค้าเองไม่ต้องเสียเวลามาคีย์ออเดอร์ลงระบบย้อนหลังและวิธีนี้จะทำให้ออเดอร์ไม่หลุดอีกด้วย

ขายออนไลน์

สรุป Marketplace และ Social Commerce ขายช่องทางไหนกำไรดีกว่า? หากเป็นในสถานการณ์ตอนนี้เราแนะนำว่าควรขายควบคู่กันทั้ง 2 ช่องทางเพราะจะทำให้คุณกระจายช่องทางของรายได้และเข้าถึงกลุ่มลูกค้าหลายๆกลุ่มได้กว้างขึ้น แต่ถ้าใครอยากที่เน้นการขายช่องทางของตัวเองอย่าลืมติดตามบทความดีๆจาก MyCloud Fulfillment เอาไว้นะคะ

บทความที่เกี่ยวข้อง

อ่านเพิ่มเติม

คัมภีร์ The TAO of Alibaba [ใครเป็นเจ้าของธุรกิจ ควรอ่าน!!]

คัมภีร์ The TAO of Alibaba [ใครเป็นเจ้าของธุรกิจ ควรอ่าน!] ผมได้เจอแจ๊ค หม่าครับ!!! สุดยอดไอดอลของผม ได้ฟังเค้าสอนตัวๆ ได้สบตา พูดคุยด้วยนานๆ ใจนี่สั่นเลยครับ หวั่นไหวมาก ตอนได้จับมือ นี่อยากกรี๊ดดดมากๆ เลย ดีใจยิ่งกว่า ได้จับมือเฌอปรางอีก 555+ วันนี้ ผมจะมาเล่าให้ฟังถึงเรื่อง “TAO” หรือ “คัมภีร์เต๋า” ของ Alibaba ครับ เป็นสูตรที่พี่แจ๊คใช้มาตลอด ในการบริหาร Alibaba และ เป็นสิ่งที่แบบ ไม่ว่า Manager หน้าใหม่ อายุ 29 หรือ COO อายุ 70 ที่เกษียณไปแล้ว ก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่าเรื่องนี้สำคัญที่สุด และ เรื่องนี้เป็นเหตุผลที่ทำให้ Alibaba เติบโตมาได้จนถึงขนาดนี้ เป็นเรื่องเรียบง่าย ธรรมดาแหละครับ แบบ Vision, Mission ของบริษัท แต่ ที่นี่ไม่ใช่แค่ มีไว้เล่นๆเก๋ๆ ติดตามห้องน้ำครับ สำหรับที่นี่ เค้าใช้โพยนี้เอาไว้ […]

คัมภีร์ The TAO of Alibaba [ใครเป็นเจ้าของธุรกิจ ควรอ่าน!!]

คัมภีร์ The TAO of Alibaba [ใครเป็นเจ้าของธุรกิจ ควรอ่าน!] ผมได้เจอแจ๊ค หม่าครับ!!! สุดยอดไอดอลของผม ได้ฟังเค้าสอนตัวๆ ได้สบตา พูดคุยด้วยนานๆ ใจนี่สั่นเลยครับ หวั่นไหวมาก ตอนได้จับมือ นี่อยากกรี๊ดดดมากๆ เลย ดีใจยิ่งกว่า ได้จับมือเฌอปรางอีก 555+ วันนี้ ผมจะมาเล่าให้ฟังถึงเรื่อง “TAO” หรือ “คัมภีร์เต๋า” ของ Alibaba ครับ เป็นสูตรที่พี่แจ๊คใช้มาตลอด ในการบริหาร Alibaba และ เป็นสิ่งที่แบบ ไม่ว่า Manager หน้าใหม่ อายุ 29 หรือ COO อายุ 70 ที่เกษียณไปแล้ว ก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่าเรื่องนี้สำคัญที่สุด และ เรื่องนี้เป็นเหตุผลที่ทำให้ Alibaba เติบโตมาได้จนถึงขนาดนี้ เป็นเรื่องเรียบง่าย ธรรมดาแหละครับ แบบ Vision, Mission ของบริษัท แต่ ที่นี่ไม่ใช่แค่ มีไว้เล่นๆเก๋ๆ ติดตามห้องน้ำครับ สำหรับที่นี่ เค้าใช้โพยนี้เอาไว้ […]