Knowledge Center

ไขข้อสงสัย KPI กับ OKRs ต่างกันอย่างไร ?

          ไขข้อสงสัย KPI กับ OKRs ต่างกันอย่างไร ?  

    OKRs ที่หลาย ๆ บริษัทกำลังให้ความสนใจ เป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนองค์กรให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุดจริงหรือไม่? แล้วเป็นเครื่องมือที่ใช้ประเมินผลที่บริษัทต่าง ๆ ใช้กันอย่าง KPI หรือเปล่า? จากนั้นก็เริ่มตั้งคำถามกันล่ะครับว่าสรุปตัวไหนได้ผลดีกว่ากัน? หลายคนอ่านมาถึงตรงนี้ยิ่งคิ้วขมวดไปกันใหญ่ เพราะยังไม่ค่อยสนิทกับทั้ง 2 อย่างเลย งั้นวันนี้ ผมจะพาไปรู้จักกับ KPI และ OKRs ฉบับเข้าใจง่าย ว่ามันคืออะไร และมีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร รวมถึงมันจะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพขึ้นได้อย่างไรกันครับ

       KPI คืออะไร?

          KPI ย่อมาจาก Key Performance Indicator เป็นตัวชี้วัดความสำเร็จหรือความก้าวหน้า เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินการขององค์กร หรือแม้แต่ประเมินการทำงานของตัวบุคคลว่ามีศักยภาพเพียงใด โดยเทียบผลการทำงานกับมาตรฐานหรือเป้าหมายที่ได้ตกลงกันไว้ ซึ่งถือว่าเป็นตัวชี้วัดที่น่าเชื่อถือมากครับ เพราะผลที่ออกมาจะอยู่ในรูปของตัวเลขหรือเป็นรูปธรรมที่เห็นได้ชัดและสามารถอ้างอิงได้ ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าเจ้า KPI ตัวนี้เป็นตัวชี้วัดความสำเร็จของธุรกิจ เพราะหากประสิทธิภาพในการทำงานมีมาก หรือมีเท่ากับเกณฑ์เป้าหมายที่กำหนดไว้ก็แสดงว่าการทำงานนั้นประสบความสำเร็จบรรลุผลครับ

       OKRs คืออะไร?

          OKRs ย่อมาจาก Objectives and Key Results เป็นวิธีการตั้งเป้าหมายไปสู่ความสำเร็จขององค์กร โดยมีวัตถุประสงค์หลัก (Objectives) ที่จะมีความสอดคล้องกันในทุก ๆ ระดับในองค์กร ตั้งแต่ระดับผู้บริหารไปจนถึงระดับพนักงาน โดยที่ผู้บริหารระดับสูงจะตั้ง OKRs ระดับองค์กรขึ้นมาก่อน จากนั้นเปิดโอกาสให้ผู้บุคลากรในระดับต่าง ๆ รวมถึงพนักงาน ตั้ง OKRs ทั้งของตนเองและหน่วยงานตนเอง ที่สอดคล้องกับ OKRs ของทั้งองค์กร เป็นระบบที่แสดงให้เห็นถึง Teamwork เพราะทุกฝ่ายประสานงานกัน เพื่อไปบรรลุเป้าหมาย และมีผลลัพธ์หลัก (Key Results) คือการกำหนดตัววัดผลที่เป็นวิธีการที่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ โดยจะต้องปฏิบัติไปในทางเดียว เพื่อให้องค์กรประสบความสำเร็จได้อย่างรวดเร็ว

       OKR ต่างจาก KPI อย่างไร?

คำถามสำคัญที่คนส่วนใหญ่มักสงสัย คือ KPI กับ OKRs มีความแตกต่างกันอย่างไร ผมขอสรุปความต่างที่เห็นได้ชัดตามนี้ครับ 

KPI

– เป้าหมายของตัวชี้วัดถูกตั้งขึ้นโดยองค์กรเป็นหลัก

– ตัวชี้วัดมักจะไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง เมื่อตกลงกันแล้วจะคงระบบเดิมไว้

– มีผลโดยตรงต่อผลตอบแทนที่พนักงานได้รับ หรือที่เราเรียกว่า Compensation KPI

– สามารถควบคุมผลลัพธ์ได้ทั้งหมด เพราะจะเป็นตัวชี้วัดที่มีผลเป็นตัวเลขที่ชัดเจน

– KPI มักจะไม่ค่อยมีการทำงานประสานกัน มักจะเน้นแต่เฉพาะ KPIs ของตัวเอง

– การออกแบบจะเน้นในรูปแบบของ Top-Down เป็นหลัก คือผู้บริหารระดับสูงจะออกแบบตัววัดระดับองค์กร จนไปถึงระดับพนักงานด้วยตนเอง

OKRs

– พนักงานมีส่วนร่วมหรือเป็นคนตั้งเป้าหมาย OKRs ขององค์กร

– ท้าทายระบบการทำงานแบบเดิม และสามารถเปลี่ยนได้ตลอดเวลาจึงทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ ได้ง่ายกว่า

– ไม่มีผลต่อผลตอบแทนของพนักงานในแต่ละบุคคล

– ทีมสามารถควบคุมผลลัพธ์ของ OKR ได้เพียงบางส่วน เพราะเป็นการตั้งเป้าหมายให้สูงไว้ก่อน

– OKRs จะทำให้เกิด Teamwork มากกว่า ทุกฝ่ายร่วมมือกันทำงาน

– การออกแบบจะเป็นรูปแบบผสมระหว่าง Top-Down กับ Bottom-Up ผู้บริหารระดับสูงจะตั้ง OKRs ระดับองค์กรขึ้นมาก่อน จากนั้นเปิดโอกาสให้ผู้บุคลากรในระดับต่าง ๆ รวมถึงพนักงาน ตั้ง OKRs ที่สอดคล้องกันทั้งองค์กร

       สรุปจุดเด่นของ KPI และ OKRs

          อ่านมาถึงตรงนี้คงจะพอเห็นภาพกันแล้วใช่ไหมว่า KPI และ OKRs เหมือน และต่างกันอย่างไร กล่าวโดยสรุปก็คือ ทั้งสองตัวมีหน้าที่ในการวัดผลของการทำงานเหมือนกัน แต่KPI เป็นการกำหนดเป้าหมายจากผู้บริหารมาสู่พนักงานในลักษณะ top down แต่มีข้อดีตรงที่สามารถวัดผลได้อย่างชัดเจนและผลออกมาเป็นตัวเลขซึ่งสามารถนำไปเปรียบเทียบ คำนวณต่อได้ง่าย ซึ่งแตกต่างจาก OKRs ที่มีความหลากหลายและเปิดโอกาสให้พนักงานมีส่วนร่วมในการกำหนดแลกเปลี่ยนเป้าหมาย ในลักษณะ two way ซึ่งตรงจุดนี้ถือว่าได้เปรียบเพราะผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับตัวงานมากกว่า ย่อมมองเห็นปัญหา ทราบปัญหาที่แท้จริงขององค์กร และตั้งเป้าหมายเพื่อไปเติมเต็มจุดบอด หรือสิ่งที่ยังขาดไปขององค์กร เพื่อให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้อย่างยั่งยืน ซึ่งจุดเด่นเหล่านี้ไปโดนใจหลายองค์กรระดับโลก เช่น Google, Twitter, Intel, Uber หรือผู้ให้บริการเครือข่ายใหญ่ ๆ อย่าง AIS และ DTAC ให้เลือกใช้ OKRs ด้วยเหมือนกันครับ

          การวัดผลหรือการประเมินผลในการทำงานนั้น ส่งผลดีต่อองค์กรมามากมายนับไม่ถ้วน องค์กรควรวัดประสิทธิภาพของการทำงาน หรือผลลัพธ์ที่ได้ เพื่อการวางแผนกลยุทธ์หรือแนวทาง.ในการทำงานต่อไป ซึ่งนอกจากจะมีประโยชน์กับบริษัทที่ได้วัดความสามารถของพนักงานแล้ว พนักงานเองก็ยังได้เห็นภาพรวมการทำงานที่ผ่านมา แล้วหาจุดที่จะต้องปรับปรุงแก้ไขตัวเองให้ดีขึ้นอีกด้วยครับ

สนใจศึกษาและลงทะเบียนได้ที่ www.mycloudfulfillment.com
หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
โทร: 092-472-7742, 02-138-9920
อีเมล: [email protected]
line: @mycloudgroup
MyCloudFulfillment ขายของง่ายไม่ต้องแตะสต๊อก
บริการคลังสินค้าออนไลน์ เก็บ แพ็ค ส่ง ครบวงจร

บทความที่เกี่ยวข้อง

อ่านเพิ่มเติม

รวมคำศัพท์ใน Lazada ที่ Seller ต้องรู้ พร้อมเทคนิคเพิ่มยอดขาย

รวมคำศัพท์ใน Lazada ที่ Seller ต้องรู้ พร้อมเทคนิคเพิ่มยอดขาย … ใครกำลังขายของใน Lazada บ้างยกมือขึ้น!! ถ้าคุณกำลังทำอยู่บอกเลยว่าห้ามพลาดบทความนี้ เพราะเราได้รวบรวมคำศัพท์ที่ใช้บ่อยๆ ไว้ให้แล้ว! จริงๆ แล้วในเว็บ Lazada มีฟีเจอร์เยอะมากๆ ที่หลายคนอาจจะเคยเห็นแต่ไม่รู้ว่าคืออะไร อย่างเช่น Store Builder, Lorikeet, Seller Picks เอาเป็นว่าเรามาลองศึกษาไปพร้อมๆ กันดีกว่า แล้วอย่าลืมนำไปใช้ให้ยอดขายปังๆ ด้วยนะครับบบ Collectable Voucher: คูปองส่วนลด เป็นคูปองที่ร้านค้าสามารถสร้างขึ้นมาเองได้ แล้วให้ลูกค้าเข้าไปกดรับเพื่อใช้งานตอนจ่ายเงิน  มันจะไม่เหมือนกับโค้ด ที่ต้องกด Copy Paste บางทีก็อปผิดก็กลายเป็นใช้โปรไม่ได้แล้วซะงั้น  ข้อดีคือ Lazada จะเลือกคูปองที่ลดเยอะที่สุดให้อยู่แล้ว ไม่ต้องกังวลเลยว่าเราจะใช้คูปองผิดๆ ถูกๆ นอกจากนี้ ร้านค้าที่ร่วมแคมเปญต่างๆ ของ Lazada เช่น 9.9 , 11.11 , 12.12 ลูกค้าก็จะเห็นคูปองมากขึ้น ช่วยสร้างยอดขายได้ดีขึ้นด้วยนะ Flash Sale: […]

Dead Stock คืออะไร? ร้ายแรงแค่ไหน ถ้าสินค้าค้างสต๊อกนาน

Dead Stock ปัญหาใหญ่ที่คอยกัดกินธุรกิจ! โดยเฉพาะธุรกิจที่มีการซื้อมาขายไป หรือผลิตสินค้าเองแล้วสต็อกไว้ ปัญหาโลกแตกที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยก็คือ สินค้าขายไม่ออก ค้างสต๊อกนาน ยิ่งค้างนานวันเข้า ปัญหาที่ตามมาก็ไม่พ้นเรื่อง “ต้นทุนจม” คือสัญญาณอันตรายของธุรกิจเลยก็ว่าได้ ใครที่กำลังเผชิญกับปัญหานี้อยู่ ขอบอกเลยว่าคุณไม่ได้อยู่คนเดียว ลองจินตนาการภาพสินค้าของคุณนอนแอ้งแม้งอยู่ในโกดัง ฝุ่นจับเกรอะกรัง เวลาผ่านไปนานแสนนานก็ยังขายไม่ได้สักที นอกจากจะไม่สร้างรายได้แล้ว ยังทำให้ต้นทุนจม แถมยังต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บอีกด้วย ปัญหาสินค้าค้างสต๊อกไม่ได้ส่งผลกระทบแค่เรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ เท่านั้นนะคะ แต่มันยังส่งผลต่อภาพลักษณ์ของธุรกิจ ทำให้ลูกค้ามองว่าสินค้าของคุณไม่น่าสนใจ ไม่ทันสมัย หรือตกรุ่นไปแล้ว แต่ไม่ต้องกังวลใจไปค่ะ ในบทความนี้ เราจะมาเจาะลึกถึงความหมายของ Dead Stock ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับธุรกิจ และแนวทางแก้ไขแบบหมดเปลือก เพื่อให้ธุรกิจของคุณอยู่รอดปลอดภัย ไม่จมอยู่กับปัญหานี้อีกต่อไป Dead Stock คืออะไร? สินค้าที่ค้างอยู่ในคลังเป็นระยะเวลานานโดยไม่มีการเคลื่อนไหว ไม่ถูกขายหรือส่งออก ซึ่งถือเป็นปัญหาสำคัญสำหรับธุรกิจออนไลน์ โดยเฉพาะธุรกิจที่มีสินค้าหลายประเภทและต้องจัดการสต๊อกเป็นจำนวนมากหรือธุรกิจสินค้าประเภทสกินแคร์ อาหารเสริม ที่มีวันหมดอายุ หากไม่มีการบริหารสต๊อกอย่างมีประสิทธิภาพ อาจทำให้เกิดปัญหาสินค้าค้างสต๊อก หมดอายุ ไม่สามารถนำไปขายต่อได้ ทำให้ภาระต้นทุนเพิ่มเติม สูญเสียโอกาสในการทำกำไร และสร้างปัญหาให้กับการดำเนินธุรกิจในระยะยาว สาเหตุที่ทำให้เกิด […]

รวมคำศัพท์ใน Lazada ที่ Seller ต้องรู้ พร้อมเทคนิคเพิ่มยอดขาย

รวมคำศัพท์ใน Lazada ที่ Seller ต้องรู้ พร้อมเทคนิคเพิ่มยอดขาย … ใครกำลังขายของใน Lazada บ้างยกมือขึ้น!! ถ้าคุณกำลังทำอยู่บอกเลยว่าห้ามพลาดบทความนี้ เพราะเราได้รวบรวมคำศัพท์ที่ใช้บ่อยๆ ไว้ให้แล้ว! จริงๆ แล้วในเว็บ Lazada มีฟีเจอร์เยอะมากๆ ที่หลายคนอาจจะเคยเห็นแต่ไม่รู้ว่าคืออะไร อย่างเช่น Store Builder, Lorikeet, Seller Picks เอาเป็นว่าเรามาลองศึกษาไปพร้อมๆ กันดีกว่า แล้วอย่าลืมนำไปใช้ให้ยอดขายปังๆ ด้วยนะครับบบ Collectable Voucher: คูปองส่วนลด เป็นคูปองที่ร้านค้าสามารถสร้างขึ้นมาเองได้ แล้วให้ลูกค้าเข้าไปกดรับเพื่อใช้งานตอนจ่ายเงิน  มันจะไม่เหมือนกับโค้ด ที่ต้องกด Copy Paste บางทีก็อปผิดก็กลายเป็นใช้โปรไม่ได้แล้วซะงั้น  ข้อดีคือ Lazada จะเลือกคูปองที่ลดเยอะที่สุดให้อยู่แล้ว ไม่ต้องกังวลเลยว่าเราจะใช้คูปองผิดๆ ถูกๆ นอกจากนี้ ร้านค้าที่ร่วมแคมเปญต่างๆ ของ Lazada เช่น 9.9 , 11.11 , 12.12 ลูกค้าก็จะเห็นคูปองมากขึ้น ช่วยสร้างยอดขายได้ดีขึ้นด้วยนะ Flash Sale: […]

Dead Stock คืออะไร? ร้ายแรงแค่ไหน ถ้าสินค้าค้างสต๊อกนาน

Dead Stock ปัญหาใหญ่ที่คอยกัดกินธุรกิจ! โดยเฉพาะธุรกิจที่มีการซื้อมาขายไป หรือผลิตสินค้าเองแล้วสต็อกไว้ ปัญหาโลกแตกที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยก็คือ สินค้าขายไม่ออก ค้างสต๊อกนาน ยิ่งค้างนานวันเข้า ปัญหาที่ตามมาก็ไม่พ้นเรื่อง “ต้นทุนจม” คือสัญญาณอันตรายของธุรกิจเลยก็ว่าได้ ใครที่กำลังเผชิญกับปัญหานี้อยู่ ขอบอกเลยว่าคุณไม่ได้อยู่คนเดียว ลองจินตนาการภาพสินค้าของคุณนอนแอ้งแม้งอยู่ในโกดัง ฝุ่นจับเกรอะกรัง เวลาผ่านไปนานแสนนานก็ยังขายไม่ได้สักที นอกจากจะไม่สร้างรายได้แล้ว ยังทำให้ต้นทุนจม แถมยังต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บอีกด้วย ปัญหาสินค้าค้างสต๊อกไม่ได้ส่งผลกระทบแค่เรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ เท่านั้นนะคะ แต่มันยังส่งผลต่อภาพลักษณ์ของธุรกิจ ทำให้ลูกค้ามองว่าสินค้าของคุณไม่น่าสนใจ ไม่ทันสมัย หรือตกรุ่นไปแล้ว แต่ไม่ต้องกังวลใจไปค่ะ ในบทความนี้ เราจะมาเจาะลึกถึงความหมายของ Dead Stock ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับธุรกิจ และแนวทางแก้ไขแบบหมดเปลือก เพื่อให้ธุรกิจของคุณอยู่รอดปลอดภัย ไม่จมอยู่กับปัญหานี้อีกต่อไป Dead Stock คืออะไร? สินค้าที่ค้างอยู่ในคลังเป็นระยะเวลานานโดยไม่มีการเคลื่อนไหว ไม่ถูกขายหรือส่งออก ซึ่งถือเป็นปัญหาสำคัญสำหรับธุรกิจออนไลน์ โดยเฉพาะธุรกิจที่มีสินค้าหลายประเภทและต้องจัดการสต๊อกเป็นจำนวนมากหรือธุรกิจสินค้าประเภทสกินแคร์ อาหารเสริม ที่มีวันหมดอายุ หากไม่มีการบริหารสต๊อกอย่างมีประสิทธิภาพ อาจทำให้เกิดปัญหาสินค้าค้างสต๊อก หมดอายุ ไม่สามารถนำไปขายต่อได้ ทำให้ภาระต้นทุนเพิ่มเติม สูญเสียโอกาสในการทำกำไร และสร้างปัญหาให้กับการดำเนินธุรกิจในระยะยาว สาเหตุที่ทำให้เกิด […]