Knowledge Center

Omni Channel คืออะไร ช่วยเพิ่มยอดขายให้ธุรกิจในยุค Disruption ?

ความพึงพอใจและประสบการณ์ที่ดีของลูกค้าถือเป็นเป้าหมายสำคัญของธุรกิจ ดังนั้นผู้ประกอบการจึงต้องงัดเอากลยุทธ์ต่าง ๆ มาเพื่อดึงดูดความสนใจของลูกค้า และหัวใจสำคัญที่อยู่ในทุกขั้นตอนของการขาย ตั้งแต่เริ่มต้นทำความรู้จักลูกค้า เพื่อให้ลูกค้ารับรู้เกี่ยวกับแบรนด์ ไปจนถึงการบริการหลังการขายนั่นก็คือ การติดต่อสื่อสาร ซึ่งในปัจจุบันผู้บริโภคคาดหวังการให้บริการแบบเรียลไทม์ ผ่านช่องทางที่หลากหลาย 

ดังนั้นการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าทั้งออนไลน์ และการขายหน้าร้าน หรือที่เรียกว่าออฟไลน์นั้น จึงมีความสำคัญไม่แพ้กัน นี่จึงทำให้เกิดการตลาดแบบผสมผสานที่เรียกว่า Omni Channel Marketing ที่เป็นการผสมผสานทั้งสองช่องทางในการสื่อสารกับลูกค้า เพื่อให้เกิดการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้แก่ลูกค้า และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นการบันทึกข้อมูลลูกค้าไว้ที่ระบบกลางเพื่อเพิ่มโอกาสทางการขายต่อไป 

แล้ว Omni Channel คืออะไร?

Omni มาจากรากศัพท์ลาตินว่า Omnibus ซึ่งหมายถึง For All หรือ ทั้งหมด ในแง่ของ E-commerce คำว่า “Omni Channel” คือช่องทางการสื่อสารและบริการลูกค้าที่หลากหลายและเชื่อมโยงกันให้เป็นหนึ่งเดียวทั้งแบบออฟไลน์และออนไลน์ ซึ่งช่วยในการเก็บรวบรวมข้อมูลของลูกค้าทั้งหมดเอาไว้ เพื่อทำให้การเข้าถึงข้อมูลลูกค้าเป็นไปได้ง่าย รวดเร็วและไร้รอยต่อ เรียกได้ว่าเป็นการรวมการตลาดจากทุกช่องทาง ช่วยดึงลูกค้าจากร้านค้าไปปิดการขายในช่องทางออนไลน์ หรือลูกค้าจากหน้าร้านให้ไปทำการซื้อ-ขายกันในช่องทางออนไลน์ได้เช่นกัน  ถือเป็นการหยิบยื่นประสบการณ์การซื้อสินค้าของลูกค้าได้เป็นอย่างดี เพิ่มความสะดวกให้สามารถเข้าถึงการซื้อขายได้อย่างครอบคลุม โดยในปัจจุบันช่องทางการสื่อสารออนไลน์ที่เป็นที่นิยม ได้แก่ Email Direct Marketing, Website, Social Media , E-Commerce และช่องทาง Marketplace ต่าง ๆ ส่วนช่องทางออฟไลน์ก็คือร้านค้าที่เห็นกันได้ทั่วไปนั่นเอง

ข้อดีของ Omni Channel

การนำระบบ Omni Channel เข้ามาช่วยบริหารและจัดการสินค้า มีข้อดีมากมายที่จะช่วยให้ทั้งธุรกิจของคุณดำเนินไปอย่างสะดวก และช่วยอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าได้มากขึ้น โดยที่ไม่จำเป็นต้องห่วงเรื่องงานหลังบ้านเลย 

Omni Channel ช่วยร้านค้าอย่างไร?

Omni Channel เป็นประโยชน์อย่างมากต่อธุรกิจในปัจจุบัน ดังนี้

  • เพิ่มโอกาสและช่องทางในการขายได้มากขึ้น โดยจะช่วยเพื่อดึงดูดลูกค้า (Engage) ได้มากขึ้น โดยสามารถทำได้ผ่าน Social Commerce ต่าง ๆ ได้แก่ TikTok Shop, LINE OA, Instagram เป็นต้น ยิ่งมีช่องทางในการขายสินค้ามากเท่าไหร่ โอกาสในการขายก็มีมากขึ้นเท่านั้น 
  • มีระบบการจัดการสินค้าเป็น Center อยู่ที่เดียว ไม่จำเป็นต้องสลับแพลตฟอร์ม เพื่อเข้าไปดูหลังบ้านทีละแพลตฟอร์ม เพราะสามารถเชื่อมต่อทุกที่รวมไว้ใน Marketplace เดียวกันได้
  • สามารถเช็คสต็อกสินค้าที่คงเหลือได้ ลำดับคำสั่งซื้อที่เข้ามา ช่วยให้ร้านค้าสามารถบริหารและจัดการได้ดียิ่งขึ้น 
  • สามารถเข้าถึงรีวิวจากลูกค้าที่ซื้อก่อนหน้าได้ โดยจะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้แก่ร้านค้า ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการเข้าถึงลูกค้าได้กว้างขึ้น และเป็นการกระตุ้นพฤติกรรมการซื้อของลูกค้าได้อีกด้วย 
  • ร้านค้าสามารถเก็บข้อมูลผ่านการสั่งซื้อของลูกค้า เพื่อนำไปวิเคราะห์และพัฒนาต่อยอดธุรกิจได้ในอนาคต 

Omni Channel ดีต่อผู้บริโภคอย่างไร?

สำหรับทางด้านผู้บริโภคเองก็มีข้อดีมากมาย เช่น

  • สามารถเลือกติดต่อผ่านช่องทางที่ตนเองสะดวก อย่างบางคนอาจจะลังเลเมื่ออยู่หน้าร้าน ยังตัดสินใจไม่ได้ หรือต้องการหาข้อมูลของสินค้านั้น ๆ ก็สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ เพื่อประกอบการตัดสินใจได้ และสามารถสั่งซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ได้เลย
  • ลูกค้าสามารถชำระเงินผ่านช่องทางการชำระเงินที่มีให้เลือกหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น บัตรเครดิต/เดบิต Internet Banking เคาน์เตอร์เซอร์วิส หรือ Application ต่าง ๆ ซึ่งง่าย สะดวกบายและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น 
  • มีช่องทางการรับสินค้าที่มีให้เลือกหลายช่องทาง เพื่อให้ตรงกับความต้องการของลูกค้ามากที่สุด เช่น จะไปรับสินค้าที่สาขาหน้าร้าน หรือส่งถึงหน้าบ้านก็ทำได้เช่นกัน
  • ในกรณีที่สินค้ามีปัญหา ลูกค้าสามารถติดต่อกับทางร้านค้าได้อย่างสะดวก ไม่จำเป็นต้องคอยบอกข้อมูลการซื้อซ้ำ ๆ เนื่องจากร้านค้าจะบันทึกข้อมูลและจัดเก็บไว้แล้ว
  • ลูกค้าจะได้รับประสบการณ์การช้อปปิ้งที่มีความเป็นส่วนตัวและพิเศษมากขึ้น เนื่องจากธุรกิจสามารถเข้าถึงและวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมการซื้อของลูกค้าแต่ละรายได้อย่างละเอียด ทำให้สามารถนำเสนอสิทธิประโยชน์ที่ตรงใจลูกค้าได้มากขึ้น เช่น โปรโมชันเดือนเกิด สะสมแต้มหรือคูปองส่วนลด เป็นต้น 

ข้อเสียของการทำ Omni Channel 

เนื่องจาก Omni Channel คือระบบที่เชื่อมต่อทุกช่องทางการขายเข้าด้วยกันก็จริง แต่หากคุณไม่สามารถรับมือและบริหารจัดการได้ อาจจะทำให้ภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือของร้านค้าลดลงได้ นอกจากนี้ ยังรวมไปถึงการลงทุนในด้านระบบเทคโนโลยีเพื่อให้สามารถตามทันการพัฒนาแพลตฟอร์มที่มีการเปลี่ยนแปลงที่ค่อนข้างสูง

แต่ไม่ต้องกังวลไป เพราะ MyCloud ได้พัฒนาโซลูชันที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถก้าวข้ามข้อจำกัดเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ต้องกังวลเรื่องการลงทุน เพราะเราได้พัฒนาและออกแบบระบบที่เหมาะสำหรับร้านค้าออนไลน์ทุกร้าน Omnichannel Management ของเรา รองรับการเชื่อมต่อทุกช่องทางการขาย ได้ทั้ง E-Commerce, Social Commerce, Website หรือแม้แต่ช่องทางออฟไลน์ต่าง ๆ ไว้ในที่เดียวกัน พร้อมฟีเจอร์รับออเดอร์ ตัดสต็อกสินค้าและอัปเดตสต็อกแบบเรียลไทม์ทุก ๆ 3 นาที เพื่อให้การขายของคุณเป็นไปได้อย่างราบรื่น และรวดเร็ว 

ขั้นตอนการทำการตลาดแบบ Omni Channel 

การทำการตลาดแบบ Omni Channel ไม่ใช่เรื่องยาก หากคุณเข้าใจและทำตามขั้นตอนอย่างเป็นระบบ มาดูกันว่าขั้นตอนสำคัญที่จะช่วยให้การทำการตลาดแบบ Omni Channel ประสบความสำเร็จมีอะไรบ้าง  

1. เลือกช่องทางที่เหมาะสม 

การเลือกช่องทางที่เหมาะสมถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการทำการตลาดแบบ Omni Channel เนื่องจากแต่ละช่องทางมีลักษณะเฉพาะและกลุ่มผู้ใช้งานที่แตกต่างกัน การเลือกช่องทางควรเริ่มจากการวิเคราะห์พฤติกรรมของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายว่านิยมใช้แพลตฟอร์มใดในการติดต่อสื่อสารและทำธุรกรรมมากที่สุด เช่น หากกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ใช้งาน Facebook เป็นหลัก การให้ความสำคัญกับการทำการตลาดผ่าน Facebook และการเชื่อมโยงกับช่องทางอื่น ๆ จะช่วยเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น

นอกจากนี้ การพิจารณางบประมาณและทรัพยากรที่มีอยู่ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน เนื่องจากแต่ละช่องทางต้องการการลงทุนทั้งในแง่ของเงินทุน เวลาและบุคลากรที่แตกต่างกัน การวางแผนทรัพยากรอย่างเหมาะสมจะช่วยให้สามารถบริหารจัดการทุกช่องทางได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง 

2. เก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลของลูกค้า   

การเริ่มต้นทำการตลาดแบบ Omni Channel คือต้องเริ่มจากการทำความเข้าใจลูกค้าอย่างลึกซึ้ง ผ่านการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานจากทุกช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นหน้าร้าน เว็บไซต์หรือแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ซึ่งข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้จะช่วยให้คุณเข้าใจว่าลูกค้าแต่ละกลุ่มมีความต้องการอะไร ชอบใช้ช่องทางไหนในการติดต่อหรือซื้อสินค้า และมีพฤติกรรมการตัดสินใจซื้ออย่างไรบ้าง ทำให้สามารถนำมาวิเคราะห์เพื่อพัฒนาธุรกิจไปในทางที่ดีขึ้นได้ในอนาคต   

3. วางแผน Customer Journey ให้เหมาะสม 

เมื่อเข้าใจพฤติกรรมของลูกค้าแล้ว ขั้นตอนต่อไป คือการออกแบบ Customer Journey ที่เหมาะสม โดยต้องคำนึงถึง Touchpoints ทั้งหมดที่ลูกค้าจะมีโอกาสพบเจอแบรนด์ของคุณ ตั้งแต่การรู้จักแบรนด์ครั้งแรก การค้นหาข้อมูล การตัดสินใจซื้อ ไปจนถึงการบริการหลังการขายทั้งรูปแบบออฟไลน์และออนไลน์ อย่างไรก็ตามการวางแผนที่ดีจะช่วยให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ราบรื่นและสอดคล้องกันในทุกช่องทางอีกด้วย   

4. เชื่อมต่อทุกช่องทางเข้าด้วยกัน 

การเชื่อมโยงทุกช่องทางเข้าด้วยกันเป็นหัวใจสำคัญของการทำ Omni Channel คือต้องอาศัยการบูรณาการระบบต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นระบบจัดการสต็อกสินค้า ระบบการชำระเงินและระบบบริการลูกค้า การเชื่อมต่อที่ดีจะทำให้ข้อมูลถูกอัปเดตแบบ Real-time ในทุกช่องทาง ช่วยให้ลูกค้าสามารถทำธุรกรรมต่าง ๆ ได้อย่างต่อเนื่องและไม่สะดุด  

5. ปรับปรุงสินค้าและบริการอยู่เสมอ 

การพัฒนาและปรับปรุงอย่างต่อเนื่องเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการทำ Omni Channel Marketing ด้วยการติดตามและวิเคราะห์ผลตอบรับจากลูกค้าในทุกช่องทาง ทั้งจากการรีวิว ข้อเสนอแนะ และพฤติกรรมการใช้งาน ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้คุณเข้าใจจุดแข็งและจุดอ่อนของแบรนด์ นำไปสู่การพัฒนาสินค้าและบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น  

ตัวอย่างของการทำการตลาดแบบ Omni Channel

ยกตัวอย่างเช่น มีลูกค้าที่ต้องการซื้อนาฬิกา แต่ไม่มั่นใจในเรื่องของวัสดุที่ทำ และยังไม่แน่ใจว่าจะเข้ากับตัวเองไหม จึงอยากไปดูของจริงก่อน ลูกค้าจึงติดต่อร้านผ่านทางเฟสบุ๊คเพจ เพื่อถามว่านาฬิการุ่นนี้มีขายที่สาขาใกล้บ้านไหม จากนั้นทางแอดมินเพจจึงทำการเช็คสต็อกสินค้า โดยการสอบถามไปยังสาขานั้น ๆ ว่ามีนาฬิกาตามที่ลูกค้าต้องการหรือไม่ โดยได้ให้ข้อมูลเบื้องต้นของลูกค้าไป เช่น ชื่อลูกค้า และนาฬิการุ่นที่ลูกค้าต้องการไปลอง

เมื่อลูกค้าไปถึงสาขานั้นเพียงแค่บอกชื่อกับพนักงาน ก็จะมีพนักงานที่รับเรื่องไว้เข้ามาดูแลและให้คำแนะนำเกี่ยวกับนาฬิกาแบบที่ลูกค้าต้องการ แต่ว่าลูกค้าก็ยังไม่ได้ตัดสินใจซื้อเดี๋ยวนั้น เพราะอยากหาข้อมูลเพิ่มเติมและรุ่นอื่น ๆ ที่ใกล้เคียง ทางร้านจึงแนะนำโปรโมชั่นให้ลูกค้าเพิ่มเพื่อนใน Line Official Account เพื่อที่จะได้รับคูปองส่วนลดและติดตามข่าวสารของร้านค้า และสามารถใช้คูปองได้กับทุกสาขาและทุกช่องทางการสั่งซื้อ จากนั้นเมื่อลูกค้าตัดสินใจได้แล้วว่าจะซื้อ จึงติดต่อและชำระเงินผ่านช่องทาง Line ในที่สุด

จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่า ลูกค้าคนนี้ได้ใช้ช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ ในการดูรายละเอียดข้อมูลของสินค้า และสอบถามพูดคุยกับทางร้าน จนถึงไปลองดูของจริงกับทางหน้าร้าน ซึ่งทางร้านก็มีการประสานงานกันของแต่ละสาขา และเชื่อมโยงของข้อมูลลูกค้าจากออนไลน์ไปยังออฟไลน์หรือหน้าร้าน ทำให้การบริการไม่มีสะดุด สามารถสร้างความพอใจให้กับลูกค้าจนตัดสินใจซื้อได้ ซึ่งการที่เรามีช่องทางที่ลูกค้าสามารถเข้ามาดูข้อมูลได้หลากหลายด้วยการทำการตลาดแบบ Omni Channel นั้นเป็นเรื่องที่ดีต่อภาพลักษณ์ของร้านค้าอีกด้วย

แล้วการ Retarget เกิดขึ้นตอนไหน? ยังไง? ในการซื้อขายจริง เมื่อลูกค้าเพิ่มเพื่อนในไลน์แล้ว ก็ใช่ว่าจะตัดสินใจซื้อทุกคน ผู้ขายก็สามารถนำข้อมูลของลูกค้าไป Retarget เพื่อเป็นการย้ำความสนใจโดยส่ง Ads หรือ โปรโมชั่นต่าง ๆ ไปยังลูกค้าหรือผู้ที่มีความสนใจ ซึ่งเราเรียกกันว่า กลุ่มเป้าหมาย ซึ่งกลยุทธ์นี้อาจจะทำให้กลุ่มเป้าหมายกลายมาเป็นลูกค้าของเราในภายหลัง โดยเมื่อผู้ขายได้ลูกค้ามาแล้ว สิ่งที่ควรทำหลังจากนั้นคือติดตามผลว่าลูกค้าชอบอะไรหรือไม่ชอบอะไรในการบริการ เพื่อนำไปปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงแก้ไขในจุดที่บกพร่องของร้านค้าให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยสร้างความพึงพอใจของลูกค้าที่อาจจะทำให้เกิดการ ซื้อซ้ำ (Replete Order) และนำไปสู่การแนะนำบอกต่อได้อีกด้วย

สรุปบทความ 

Omni Channel คือแนวทางการทำการตลาดที่สร้างโอกาสทางการค้าใหม่ ๆ ของผู้ประกอบการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ถือเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่ช่วยให้ธุรกิจออนไลน์ และออฟไลน์อยู่รอดในยุค Digital Disruption นี้ได้

MyCloud เชื่อเสมอว่า ใคร ๆ ก็สามารถขายของ และจัดการร้านค้าได้ง่าย ๆ หากคุณมีความฝันที่อยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง ก็ขอให้เชื่อมั่นและลงมือทำ เพราะเราพร้อมช่วยเหลือ และแก้ปัญหาหลังบ้าน ไม่ว่าจะเป็นการเก็บ แพ็คสินค้าหรือการจัดส่งสินค้าที่ยุ่งยาก เราหาดีลที่คุ้มค่าและเหมาะสมที่สุดให้คุณ ไม่ว่าธุรกิจคุณจะขนาดเล็กหรือใหญ่ เราเป็นเสมือนหุ้นส่วนที่จะร่วมเดินทางเพื่อสานฝันอันยิ่งใหญ่ของคุณให้เป็นจริงได้ 

สนใจศึกษาและลงทะเบียนได้ที่ https://www.mycloudfulfillment.com/quotation 

หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

โทร: 092-472-7742, 02-138-9920

อีเมล: [email protected] 

line: @mycloudgroup

MyCloudFulfillment ขายของง่ายไม่ต้องแตะสต็อก

บริการคลังสินค้าออนไลน์ เก็บ แพ็ค ส่ง ครบวงจร

บทความที่เกี่ยวข้อง

อ่านเพิ่มเติม

รู้จัก Red Ocean คืออะไร ต่างจาก Blue Ocean อย่างไรบ้าง

          สงสัยกันไหมคะว่า Red Ocean และ Blue Ocean Strategy นั้นคืออะไร? แม้ว่าจะเคยได้ยินกันบ่อย ๆ แต่ก็ดูเป็นเรื่องไกลตัวใช่ไหมล่ะคะ สักทีวันนี้ MyCloud จะพาผู้อ่านทุกคนไปรู้จักกับ กลยุทธ์ Red Ocean และ Blue Ocean รวมถึงมองภาพรวมทั้งสองกลยุทธ์บนตลาดออนไลน์ของไทย อย่าง Marketplace ชื่อดังอย่าง Lazada และ Shopee รวมถึงช่องทางการขายออนไลน์อื่น ๆ อีกด้วย  Red Ocean Strategy (กลยุทธ์น่านน้ำสีแดง) คืออะไร  Red Ocean Strategy คือคำนิยามของกลยุทธ์ทางการตลาดที่เข้มข้น เปรียบเสมือนกับสีแดง เนื่องมาจากการแข่งขันทางการตลาดสูง และมีคู่แข่งที่มีธุรกิจลักษณะคล้ายกันจำนวนมาก ไม่โดดเด่น ทำให้ต้องแข่งขันกันที่ด้านอื่น ๆ เพื่อดึงดูดผู้บริโภค โดยมักจะแข่งขันกันจนเป็นสงครามราคา หรือการทำโปรโมชันลดราคา เพื่อเอาชนะคู่แข่ง จาก […]

ขั้นตอนการหยิบสินค้า (Picking) ในคลังสินค้า ใครว่าไม่สำคัญ?

ขั้นตอนการหยิบสินค้า (Picking) ในคลังสินค้า ใครว่าไม่สำคัญ? … อย่าคิดว่าการหยิบสินค้า (Picking) ในคลังสินค้าไม่สำคัญ! เพราะทุกขั้นตอนตั้งแต่สินค้าเข้าคลัง จนสินค้าออกจากคลังเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะการหยิบสินค้าที่ดีต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของสินค้า และช่วยลดเวลาเพื่อให้เราทำงานเร็วขึ้น ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ขึ้นอยู่กับการวางแผนวิธีการหยิบ ซึ่งเรามี 4 วิธีที่คนนิยมใช้บ่อยๆ มาแนะนำครับ รับรองว่า มีประสิทธิภาพ ทำงานง่ายขึ้นแน่นอน 1.หยิบตามคำสั่งซื้อ (Discrete Picking) เป็นวิธีที่เบสิคและเข้าใจง่ายที่สุด! วิธีการคือ เมื่อมีออเดอร์เข้ามา ผู้หยิบจะเดินไปหยิบสินค้าตามรายการ ที่อยู่ในใบสั่งจนครบทุกออเดอร์ ถ้ามีคำสั่งซื้อใหม่ ก็ต้องเดินไปหยิบใหม่ เป็นขั้นตอนที่ใช้เวลาค่อนข้างมาก อาจทำให้ทำงานไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควรครับ 2.หยิบเป็นโซน (Zone Picking) เหมาะสำหรับคลังสินค้าที่มีหลายโซน เช่น โซนห้องเย็น, โซนชั้นวางมาตรฐาน โดยผู้หยิบจะถูกกำหนดให้หยิบเฉพาะโซนนั้นๆ เมื่อคำสั่งสินค้าเข้ามาจะแบ่งออกตามโซน สินค้าจะถูกหยิบพร้อมๆกันในทุุกโซนจนครบ อาจจะอาศัยสายพานในการช่วยลำเลียงสินค้า เพื่อส่งต่อไปยังขั้นตอนต่อไป 3.หยิบแบบคลื่น (Wave Picking) วิธีนี้จะคล้ายๆ กับแบบแรกเลยครับ แต่ต่างกันที่แบบนี้จะกำหนดเวลาชัดเจน การหยิบสินค้าจะมีลักษณะเหมือนคลื่น หมายถึง คำสั่งซื้อจะเข้าตามช่วงเวลา เช่น […]

รู้จัก Red Ocean คืออะไร ต่างจาก Blue Ocean อย่างไรบ้าง

          สงสัยกันไหมคะว่า Red Ocean และ Blue Ocean Strategy นั้นคืออะไร? แม้ว่าจะเคยได้ยินกันบ่อย ๆ แต่ก็ดูเป็นเรื่องไกลตัวใช่ไหมล่ะคะ สักทีวันนี้ MyCloud จะพาผู้อ่านทุกคนไปรู้จักกับ กลยุทธ์ Red Ocean และ Blue Ocean รวมถึงมองภาพรวมทั้งสองกลยุทธ์บนตลาดออนไลน์ของไทย อย่าง Marketplace ชื่อดังอย่าง Lazada และ Shopee รวมถึงช่องทางการขายออนไลน์อื่น ๆ อีกด้วย  Red Ocean Strategy (กลยุทธ์น่านน้ำสีแดง) คืออะไร  Red Ocean Strategy คือคำนิยามของกลยุทธ์ทางการตลาดที่เข้มข้น เปรียบเสมือนกับสีแดง เนื่องมาจากการแข่งขันทางการตลาดสูง และมีคู่แข่งที่มีธุรกิจลักษณะคล้ายกันจำนวนมาก ไม่โดดเด่น ทำให้ต้องแข่งขันกันที่ด้านอื่น ๆ เพื่อดึงดูดผู้บริโภค โดยมักจะแข่งขันกันจนเป็นสงครามราคา หรือการทำโปรโมชันลดราคา เพื่อเอาชนะคู่แข่ง จาก […]

ขั้นตอนการหยิบสินค้า (Picking) ในคลังสินค้า ใครว่าไม่สำคัญ?

ขั้นตอนการหยิบสินค้า (Picking) ในคลังสินค้า ใครว่าไม่สำคัญ? … อย่าคิดว่าการหยิบสินค้า (Picking) ในคลังสินค้าไม่สำคัญ! เพราะทุกขั้นตอนตั้งแต่สินค้าเข้าคลัง จนสินค้าออกจากคลังเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะการหยิบสินค้าที่ดีต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของสินค้า และช่วยลดเวลาเพื่อให้เราทำงานเร็วขึ้น ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ขึ้นอยู่กับการวางแผนวิธีการหยิบ ซึ่งเรามี 4 วิธีที่คนนิยมใช้บ่อยๆ มาแนะนำครับ รับรองว่า มีประสิทธิภาพ ทำงานง่ายขึ้นแน่นอน 1.หยิบตามคำสั่งซื้อ (Discrete Picking) เป็นวิธีที่เบสิคและเข้าใจง่ายที่สุด! วิธีการคือ เมื่อมีออเดอร์เข้ามา ผู้หยิบจะเดินไปหยิบสินค้าตามรายการ ที่อยู่ในใบสั่งจนครบทุกออเดอร์ ถ้ามีคำสั่งซื้อใหม่ ก็ต้องเดินไปหยิบใหม่ เป็นขั้นตอนที่ใช้เวลาค่อนข้างมาก อาจทำให้ทำงานไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควรครับ 2.หยิบเป็นโซน (Zone Picking) เหมาะสำหรับคลังสินค้าที่มีหลายโซน เช่น โซนห้องเย็น, โซนชั้นวางมาตรฐาน โดยผู้หยิบจะถูกกำหนดให้หยิบเฉพาะโซนนั้นๆ เมื่อคำสั่งสินค้าเข้ามาจะแบ่งออกตามโซน สินค้าจะถูกหยิบพร้อมๆกันในทุุกโซนจนครบ อาจจะอาศัยสายพานในการช่วยลำเลียงสินค้า เพื่อส่งต่อไปยังขั้นตอนต่อไป 3.หยิบแบบคลื่น (Wave Picking) วิธีนี้จะคล้ายๆ กับแบบแรกเลยครับ แต่ต่างกันที่แบบนี้จะกำหนดเวลาชัดเจน การหยิบสินค้าจะมีลักษณะเหมือนคลื่น หมายถึง คำสั่งซื้อจะเข้าตามช่วงเวลา เช่น […]