Knowledge Center

เจ้าของธุรกิจออนไลน์ควรรู้! เปิดร้านขายของใน Shopee เสียค่าอะไรบ้าง?

เปิดร้านใน Shopee

ในยุคที่การช้อปปิ้งออนไลน์กำลังเฟื่องฟู Shopee กลายเป็นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซยอดนิยมที่ผู้ประกอบการหลายคนเลือกเป็นช่องทางในการขายสินค้า แต่หลายคนอาจยังไม่ทราบว่าการขายของใน Shopee มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ที่ผู้ขายต้องจ่ายเมื่อเปิดร้านบน Shopee เพื่อให้คุณสามารถวางแผนธุรกิจและคำนวณต้นทุนได้อย่างแม่นยำ พร้อมแล้วมาดูกันว่าขายของใน Shopee เสียค่าอะไรบ้าง  

ขายของใน shopee เสียค่าอะไรบ้าง

ก่อนที่จะเริ่มขายสินค้าบน Shopee ผู้ขายควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ที่จะต้องจ่าย เพื่อให้สามารถตั้งราคาสินค้าได้อย่างเหมาะสมและทำกำไรได้ตามเป้าหมาย มาดูกันว่ามีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง  

1. ค่าธรรมเนียมจากการขาย

การขายของใน Shopee มีค่าธรรมเนียมการขายที่แตกต่างกันตามประเภทของร้านค้าและหมวดหมู่สินค้า ซึ่งทางช้อปปี้จะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในส่วนนี้จากทั้ง Shopee Seller ที่ลงขายแบบ Mall Sellers และ Non-Mall Sellers นั้น ทางช้อปปี้จะเริ่มเก็บค่าธรรมเนียมเมื่อได้รับคำสั่งซื้อและจัดการคำสั่งซื้อจนเสร็จ ซึ่งจะเก็บค่าธรรมเนียมตามประเภทของสินค้า ดังนี้

หมวดหมู่สินค้า
Shopee Mall Seller 
(รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
Non-Mall Seller
(รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
สินค้าในหมวดหมู่อิเล็กทรอนิกส์9% – 11%8%
สินค้าในหมวดหมู่อิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ กล้อง, เลนส์กล้อง, โดรน, คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ, Laptop,อุปกรณ์คอมพิวเตอร์, หน้าจอคอมพิวเตอร์, เครื่องเกม, โทรศัพท์มือถือ, Tablet, เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่, ทีวีและอุปกรณ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง5% – 11%5%
สินค้าอุปโภคบริโภค (FMCG) สินค้าแฟชัน สินค้าสกินแคร์ อาหารเสริมและหมวดหมู่อื่น ๆ 
11.77% 

8.56%
สินค้าในหมวดหมู่แฟชัน ได้แก่ แหวน กำไลข้อมือ สร้อยและต่างหู แพลทตินั่มและทอง
11.77% 

8.03%  

2. ค่าธรรมเนียมในการธุรกรรมผ่านบัญชีธนาคาร

เมื่อลูกค้าเลือกชำระเงินผ่านการโอนเงินหรืออินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้ง Shopee จะคิดค่าธรรมเนียมจากผู้ขาย 3.21% (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ของยอดรวมทั้งหมด ซึ่งรวมถึงค่าขนส่งและหลังหักส่วนลดต่าง ๆ รวมถึง Shopee Coin ด้วย ค่าธรรมเนียมนี้ครอบคลุมการทำธุรกรรมทั้งหมดที่เกิดขึ้นผ่านระบบธนาคาร ไม่ว่าจะเป็นการโอนเงินแบบปกติหรือการชำระผ่านระบบออนไลน์ ผู้ขายควรคำนึงถึงค่าใช้จ่ายส่วนนี้เมื่อตั้งราคาสินค้า  

3. ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมผ่านบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต แบบผ่อนชำระ

สำหรับการชำระเงินผ่านบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต Shopee มีการคิดค่าธรรมเนียมจากผู้ขาย โดยคำนวณจากยอดชำระ หลังหักส่วนลดและ Shopee Coin แล้ว ในกรณีที่ลูกค้าเลือกผ่อนชำระ ร้านค้าจะมีค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม ดังนี้ 

  • ระยะเวลาผ่อน 3 เดือน อัตราค่าธรรมเนียม 4.28% (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) 
  • ระยะเวลาผ่อน 6 เดือน อัตราค่าธรรมเนียม 5.89% (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
  • ระยะเวลาผ่อน 10 เดือน อัตราค่าธรรมเนียม 6.42% (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)   
ลูกค้าใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต

4. ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมผ่าน AirPay Wallet

เมื่อลูกค้าชำระเงินผ่าน AirPay Wallet ไม่ว่าจะซื้อผ่านเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน Shopee จะคิดค่าธรรมเนียม 2% จากผู้ขาย โดยคำนวณจากยอดรวมทั้งหมดที่ลูกค้าชำระ ซึ่งรวมค่าขนส่ง และคำนวณหลังจากหักส่วนลดต่าง ๆ และ Shopee Coin แล้ว วิธีการชำระเงินนี้เป็นที่นิยมเพราะสะดวกสำหรับผู้ซื้อ แม้จะมีค่าธรรมเนียมสำหรับผู้ขายก็ตาม  

5. ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมผ่าน SpayLater 

SpayLater เป็นบริการผ่อนชำระที่ทาง Shopee ได้นำเสนอให้กับลูกค้า โดยมีค่าธรรมเนียมที่แตกต่างกันตามระยะเวลาการผ่อนชำระ สำหรับร้านที่มีเลือกอำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าก็ถูกหักค่าธรรมเนียมในส่วนนี้ 3% 

นอกจากนี้ ยังมีค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมผ่าน Special SpayLater อีกด้วย โดยค่าธรรมเนียมที่ทางร้านค้าจะต้องเสียจะแบ่งออกไปตามระยะเวลาในการผ่อนชำระสินค้า ดังนี้  

  • ระยะเวลาผ่อน 1 – 2 เดือน อัตราค่าธรรมเนียม 3% 
  • ระยะเวลาผ่อน 3 เดือน อัตราค่าธรรมเนียม 4%
  • ระยะเวลาผ่อน 5 เดือน อัตราค่าธรรมเนียม 5.5% 
  • ระยะเวลาผ่อน 12 เดือน อัตราค่าธรรมเนียม 6% 

6. ค่าธรรมเนียมสำหรับการทำธุรกรรมแบบชำระเงินปลายทาง 

สำหรับการชำระเงินปลายทางหรือ COD (Cash on Delivery) Shopee จะคิดค่าธรรมเนียม 2% จากผู้ขาย โดยคำนวณจากยอดรวมทั้งหมดที่รวมค่าขนส่งและหลังหักส่วนลดต่าง ๆ รวมถึง Shopee Coin การชำระเงินปลายทางเป็นตัวเลือกที่ได้รับความนิยมจากผู้ซื้อ แต่ผู้ขายควรคำนึงถึงค่าธรรมเนียมนี้ในการคำนวณต้นทุน 

ชำระเงินปลายทาง (COD)

สรุปบทความ 

ขายของใน shopee เสียค่าอะไรบ้าง การขายของใน Shopee มีค่าธรรมเนียมหลายประเภทที่ผู้ขายต้องทำความเข้าใจ ตั้งแต่ค่าธรรมเนียมการขายที่แตกต่างกันตามประเภทสินค้า ไปจนถึงค่าธรรมเนียมการชำระเงินในรูปแบบต่าง ๆ ดังนั้น หากผู้ขายรู้และเข้าใจค่าใช้จ่ายเหล่านี้ ก็จะช่วยให้ผู้ขายสามารถวางแผนธุรกิจ ตั้งราคาสินค้าและคำนวณกำไรได้อย่างแม่นยำทำให้ธุรกิจออนไลน์ให้ประสบความสำเร็จได้ 

สำหรับใครที่ต้องการจะเปิดร้านค้าบน Shopee นอกจากต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายเรื่องค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่ายให้กับแพลตฟอร์มแล้ว ในส่วนค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เช่น การจัดการออเดอร์ และการสต๊อกสินค้าก็จำเป็นต้องให้ความสำคัญด้วยเช่นกัน เพราะค่าใช้จ่ายเหล่านี้มีผลด่อเรื่องต้นทุนและกำไร ดังนั้นหากคุณกำลังมองหาพาร์ทเนอร์ผู้เชี่ยวชาญเรื่องคลังสินค้าออนไลน์ MyCloud Fulfillment เราพร้อมเป็นผู้ช่วยให้คุณบริหารจัดการเรื่องออเดอร์และสต๊อกสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยบริการที่ครบวงจรตั้งแต่การเก็บ แพ็กและส่งสินค้า ระบบเชื่อมต่อช่องทางการขาย Omnichannel Management ระบบจัดการออเดอร์ ระบบจัดการคลังสินค้าใช้สต๊อกตัวเดียวเชื่อมต่อได้ทุกช่องทางการขาย และทีมงานมืออาชีพกว่า 1,200 คน ที่พร้อมจัดการออเดอร์ให้คุณได้ตลอด 24 ชั่วโมง ทำให้คุณไม่ต้องเสียเวลาจัดการเรื่องหลังบ้าน ไม่ต้องเสียค่าจ้างพนักงานเพิ่ม อีกทั้งไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในเรื่องของระบบการจัดการออเดอร์ ระบบจัดการคลังสินค้าที่อาจจะต้องลงทุนซื้อระบบในส่วนนี้เพิ่ม เราช่วยให้คุณมีเวลาไปโฟกัสกับการขายและพัฒนาธุรกิจให้เติบโตได้มากขึ้น และที่สำคัญที่สุด เราช่วยควบคุมต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจออนไลน์ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด    

หากสนใจ Fulfillment โซลูชันที่ครบวงจรแบบนี้ สามารถติดต่อเราได้ที่ https://www.mycloudfulfillment.com/quotation 

บทความที่เกี่ยวข้อง

อ่านเพิ่มเติม

ทำความเข้าใจทุก Platform การขาย ช่องทางไหนเวิร์คสุด?

ธุรกิจออนไลน์ไปได้สวย ต้องเข้าใจทุก Platform การขาย           ธุรกิจ E-Commerce เติบโตขึ้นมาก ถึงมากที่สุดในปี2020 ยิ่งในช่วงวิกฤตแบบนี้ เพราะช่องทางออนไลน์ไม่ใช่แค่ตลาดเสมือนจริงที่จำลองโลกการซื้อขายไว้บนโลกออนไลน์ แต่เป็นช่องทางหลักอีกช่องทางหนึ่งที่ทำเงินให้ผู้ขายไม่แพ้การขายหน้าร้านเลย เผลอ ๆ มากกว่าด้วยซ้ำค่ะ ทั้งนี้เพราะ การขายออนไลน์ทำให้ผู้ขายเข้าถึงลูกค้ามากขึ้น และการซื้อของออนไลน์ หรือการใช้อินเตอร์เน็ตถือเป็นวิถีชีวิตของคนยุคใหม่ไปแล้ว และแน่นอนว่าทั้งผู้ซื้อและผู้ขายออนไลน์ต้องเคยซื้อขาย หรือเข้าไปในช่องทางต่าง ๆ เหล่านี้ 1. Social Media 2. E-Marketplace และ 3. บน Website ของแบรนด์ แล้วช่องทางไหนเป็นช่องทางที่ดี และเหมาะสมที่สุดในการขายกันแน่ วันนี้เราจะมาหาคำตอบไปพร้อม ๆ กันค่ะ           ตามสถิติแล้วช่องทางการขายที่มีมานาน และเป็นช่องทางแรก ๆ ที่คนลงขายของกันก็คือ Social Media ไม่ว่าจะเป็น Facebook ก็ดี Instagram, Twitter ก็ดี […]

4 กลยุทธ์พลิกโฉม E-Commerce ที่ธุรกิจออนไลน์ห้ามพลาด

แบรนด์ทุกแบรนด์ หรือธุรกิจต่าง ๆ มีโมเดลที่แตกต่างกัน แต่เมื่อพฤติกรรมของลูกค้าเปลี่ยนไปทุกวัน แบรนด์ก็ต้องต้องเต็มใจที่จะปรับตัวหรือกล้าเสี่ยงอะไรใหม่ ๆ ดังนั้นหากคุณพร้อมที่จะพลิกโฉมธุรกิจ E-Commerce ของคุณ วันนี้ MyCloud นำ 4 กลยุทธ์ที่จะช่วยจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ให้กับคุณ แบรนด์ของคุณ และลูกค้าของคุณมาให้อ่านกันค่ะ

ทำความเข้าใจทุก Platform การขาย ช่องทางไหนเวิร์คสุด?

ธุรกิจออนไลน์ไปได้สวย ต้องเข้าใจทุก Platform การขาย           ธุรกิจ E-Commerce เติบโตขึ้นมาก ถึงมากที่สุดในปี2020 ยิ่งในช่วงวิกฤตแบบนี้ เพราะช่องทางออนไลน์ไม่ใช่แค่ตลาดเสมือนจริงที่จำลองโลกการซื้อขายไว้บนโลกออนไลน์ แต่เป็นช่องทางหลักอีกช่องทางหนึ่งที่ทำเงินให้ผู้ขายไม่แพ้การขายหน้าร้านเลย เผลอ ๆ มากกว่าด้วยซ้ำค่ะ ทั้งนี้เพราะ การขายออนไลน์ทำให้ผู้ขายเข้าถึงลูกค้ามากขึ้น และการซื้อของออนไลน์ หรือการใช้อินเตอร์เน็ตถือเป็นวิถีชีวิตของคนยุคใหม่ไปแล้ว และแน่นอนว่าทั้งผู้ซื้อและผู้ขายออนไลน์ต้องเคยซื้อขาย หรือเข้าไปในช่องทางต่าง ๆ เหล่านี้ 1. Social Media 2. E-Marketplace และ 3. บน Website ของแบรนด์ แล้วช่องทางไหนเป็นช่องทางที่ดี และเหมาะสมที่สุดในการขายกันแน่ วันนี้เราจะมาหาคำตอบไปพร้อม ๆ กันค่ะ           ตามสถิติแล้วช่องทางการขายที่มีมานาน และเป็นช่องทางแรก ๆ ที่คนลงขายของกันก็คือ Social Media ไม่ว่าจะเป็น Facebook ก็ดี Instagram, Twitter ก็ดี […]

4 กลยุทธ์พลิกโฉม E-Commerce ที่ธุรกิจออนไลน์ห้ามพลาด

แบรนด์ทุกแบรนด์ หรือธุรกิจต่าง ๆ มีโมเดลที่แตกต่างกัน แต่เมื่อพฤติกรรมของลูกค้าเปลี่ยนไปทุกวัน แบรนด์ก็ต้องต้องเต็มใจที่จะปรับตัวหรือกล้าเสี่ยงอะไรใหม่ ๆ ดังนั้นหากคุณพร้อมที่จะพลิกโฉมธุรกิจ E-Commerce ของคุณ วันนี้ MyCloud นำ 4 กลยุทธ์ที่จะช่วยจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ให้กับคุณ แบรนด์ของคุณ และลูกค้าของคุณมาให้อ่านกันค่ะ