Knowledge Center

Lazada Fulfillment คืออะไร? แตกต่างกับ MyCloud Fulfillment อย่างไร 

การจัดการสต๊อกสินค้า

ถึงแม้ในปัจจุบันจะมีแพลตฟอร์ม E-commerce เกิดขึ้นมากมาย Lazada ก็ยังคงเป็นหนึ่งในตลาดอีคอมเมิร์ซหลักของไทยอยู่ ด้วยการแข่งขันที่สูงขึ้น ความต้องการของสินค้าที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เรื่องที่ผู้ขายบน Lazada ต้องเตรียมตัวเลย นั่นก็คือการจัดการออเดอร์ให้รวดเร็วทันเกณฑ์ SLA ของทางแพลตฟอร์มที่กำหนดอีกด้วย ด้วยเหตุนี้จึงทำให้มี Lazada Fulfillment บริการจากลาซาด้า ที่เข้ามาช่วยจัดการตั้งแต่คลังสินค้า สต๊อกสินค้าไปจนถึงการจัดขนส่งสินค้าเลย  

หากคุณเป็น Lazada Seller อยู่แล้วหรือสนใจเปิดร้านบนลาซาด้า MyCloud จะพาคุณมาทำความรู้จักกันว่า Fulfillment by Lazada คืออะไร จุดเด่นและเปรียบเทียบกับโซลูชันของทาง MyCloud เพื่อสิ่งที่ดีและตอบโจทย์ร้านค้าของคุณมากที่สุด 

Lazada Fulfillment คืออะไร 

Lazada Fulfillment หรือ Fulfillment by Lazada (FBL) คือบริการการจัดการคลังสินค้าที่ดำเนินการโดย Lazada โดยตรง เพื่อช่วยให้ผู้ขายบนแพลตฟอร์มสามารถจัดการสินค้าและการจัดส่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ ร้านค้าสามารถส่งสินค้าไปเก็บที่คลัง Lazada ซึ่งจะช่วยดูแลตั้งแต่การจัดเก็บ การแพ็คสินค้า ไปจนถึงการจัดส่งถึงมือลูกค้าปลายทาง ซึ่งจะช่วยลดภาระการจัดการสต๊อกและการจัดการของร้านค้าให้สามารถบริหารร้านค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ  

หลักการทำงานของ Lazada Fulfillment  

Lazada Fulfillment นำเสนอโซลูชันการจัดการคลังสินค้าและการจัดส่งแบบครบวงจรที่ช่วยให้ผู้ขายสามารถมุ่งเน้นไปที่การขายได้อย่างเต็มที่ ด้วยแนวคิด Sign up Send In Sit down ที่ทำให้การจัดการสินค้าและการจัดส่งเป็นเรื่องง่าย โดยมีขั้นตอนการทำงาน ดังนี้

  1. การส่งสินค้าเข้าคลัง ผู้ขายนำสินค้าไปส่งที่คลังสินค้าของ Lazada เพื่อให้ทางลาซาด้าเป็นผู้ดำเนินการจัดเก็บสินค้าในคลังที่มีมาตรฐานและระบบการจัดการที่ทันสมัย 
  2. ร้านค้ารับคำสั่งซื้อจากลูกค้า เมื่อมีลูกค้าสั่งซื้อสินค้าผ่านแพลตฟอร์ม ระบบจะประมวลผลคำสั่งซื้อโดยอัตโนมัติส่งต่อให้ทาง Lazada Fulfillment จัดเตรียมสินค้า 
  3. ขั้นตอนนี้ทีมงานจะดำเนินการหยิบและแพ็คสินค้าอย่างมืออาชีพ 
  4. การจัดส่งสินค้า สินค้าจะถูกจัดส่งถึงมือลูกค้าผ่านระบบขนส่งของ Lazada หากมีการคืนสินค้า Lazada จะเป็นผู้ดูแลกระบวนการทั้งหมด ตั้งแต่การรับคืนจนถึงการตรวจสอบและจัดการสินค้า

ซึ่งระบบการทำงานของ Fulfillment by Lazada นี้ช่วยให้ผู้ขายประหยัดเวลาและทรัพยากรในการจัดการด้านโลจิสติกส์ และสามารถมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาธุรกิจด้านอื่น ๆ ได้อย่างเต็มที่ 

ขั้นตอนการแพ็คสินค้า

Lazada Fulfillment ช่วยผู้ขายอย่างไรบ้าง 

Lazada Fulfillment (FBL) เป็นบริการที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้ผู้ขายสามารถบริหารจัดการธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยมุ่งเน้นการลดภาระด้านการขนส่งและการจัดการคลังสินค้า เพื่อให้ผู้ขายสามารถทุ่มเทเวลาไปกับการพัฒนาธุรกิจในด้านอื่น ๆ ที่สำคัญ โดยมีจุดเด่นที่ช่วยสนับสนุนผู้ขายในหลายด้าน ดังนี้ 

  • โฟกัสกับการขายได้อย่างเต็มที่ ผู้ขายสามารถมุ่งเน้นไปที่การสร้างคอนเทนต์ การทำการตลาดและการบริหารจัดการราคา ในขณะที่ Lazada Fulfillment จะเป็นผู้ดูแลเรื่องการจัดการคำสั่งซื้อทั้งหมดที่เข้ามาให้ 
  • เพิ่มโอกาสในการขยายธุรกิจ ไม่ต้องกังวลเรื่องข้อจำกัดด้านโครงสร้างพื้นฐาน เพราะสามารถใช้ประโยชน์จากเครือข่ายโลจิสติกส์ระดับพรีเมียมของ Lazada
  • เพิ่มคุณภาพการบริการที่ดีขึ้น มีทีมงานมืออาชีพดูแลการแพ็คสินค้า ช่วยลดปัญหาสินค้าหมดสต๊อก ลดการคืนสินค้าจากลูกค้า และช่วยเพิ่มคะแนนความน่าเชื่อถือของร้านค้า
  • ความรวดเร็วในการจัดการและจัดส่ง มีระบบการจัดการที่มีประสิทธิภาพ ช่วยให้กระบวนการแพ็คและจัดส่งสินค้าเป็นไปอย่างรวดเร็ว ช่วยให้ร้านค้าของคุณสามารถรักษาเกณฑ์ SLA ที่แพลตฟอร์มกำหนดได้ 
  • ความยืดหยุ่นในการจัดการคลังสินค้า ผู้ขายสามารถควบคุมและตรวจสอบสต๊อกสินค้าได้อย่างโปร่งใส สามารถสร้างคำสั่งนำเข้าสินค้าและเรียกคืนสินค้าได้ตามต้องการ 

Fulfillment by Lazada แตกต่างจาก Fulfillment Solutions ของ MyCloud อย่างไร  

ถึงแม้ Lazada Fulfillment จะมีข้อดีมากมายที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ขายมากแค่ไหน แต่ก็ยังมีข้อจำกัด คือสามารถใช้บริการได้เฉพาะร้านค้าบนแพลตฟอร์ม Lazada เท่านั้น ทำให้ร้านค้าที่ต้องการจะหาฐานลูกค้าเพิ่ม ด้วยการขยายช่องทางการขายนั้น Fulfillment by Lazada ก็อาจจะยังไม่ครอบคลุมให้จุดนี้ 

และนี่คือจุดที่ MyCloud ตั้งใจพัฒนาและออกแบบโซลูชันที่ Fulfillment ตอบโจทย์ความต้องการของธุรกิจออนไลน์ในยุคนี้มากที่สุดด้วยระบบ Omnichannel Management ที่ช่วยให้ร้านค้าสามารถบริหารจัดการช่องทางการขาย Marketplace ได้ในระบบเดียว ไม่ว่าจะเป็น Shopee, Lazada, TikTok Shop หรือ Line Shopping เชื่อมต่อทุกช่องทางการขายด้วยระบบ API อัปเดตสถานะสินค้าแบบเรียลไทม์ทุก 3 นาที ใช้สต๊อกเดียวขายได้ทุกช่องทาง 

นอกจากนี้ MyCloud ยังมีระบบจัดการสต๊อกสินค้าที่ทันสมัย Warehouse Management System ที่ถูกออกแบบมาให้ใช้งานร่วมกับระบบ Order Management System เป็นระบบการใช้งานเดียวที่เสถียรที่สุด ช่วยให้ร้านค้าสามารถควบคุมและติดตามสต๊อกได้แบบเรียลไทม์ ตั้งแต่การรับเข้าสินค้าจนถึงการจัดเก็บ มีระบบ Safety Stock แจ้งเตือนเมื่อสินค้าใกล้หมด ช่วยให้คุณสามารถวางแผนการสต๊อกสินค้าที่จะเข้ามาได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งการเก็บสินค้าที่คลัง MyCloud มีรูปแบบการเก็บสินค้าที่เรียกว่าFEFO (First Expired, First Out) โดยสินค้าที่รับเข้ามาในคลังตั้งแต่ขั้นตอนแรกจะถูกบันทึกข้อมูลสินค้าอย่างละเอียด เช่น ล็อตวันผลิต วันหมดอายุ เพื่อให้การหยิบสินค้าถูกหยิบตามลำดับของวันหมดอายุสินค้าได้อย่างเหมาะสม สินค้าไหนหมดอายุก่อนก็จะถูกหยิบส่งออกก่อน ลดความเสี่ยงในการส่งสินค้าที่หมดอายุให้ลูกค้า อีกทั้งยังลดความเสี่ยงเรื่องสินค้าตีคืนที่ทำให้สูญเสียรายได้ในส่วนนี้ได้ อีกทั้งยังมั่นใจได้ว่าสินค้าจะถึงมือลูกค้าปลายทางได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย เพราะขนส่งพาร์ทเนอร์ที่เราเลือกใช้ มีเครือข่ายครอบคลุมทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็นบริการจัดส่งแบบด่วนในวันถัดไป (Next Day) หรือบริการเก็บเงินปลายทาง (COD) ก็มี ให้ร้านค้าสามารถมั่นใจได้ว่าทุกออเดอร์จะได้รับการดูแลอย่างดีที่สุดแน่นอน 

ระบบการทำงานในคลังสินค้า

สรุปบทความ 

ถึงแม้ Lazada Fulfillment (FBL) จะได้นำเสนอโซลูชันการจัดการคลังสินค้าและการจัดส่งที่ครบวงจร ช่วยให้ผู้ขายสามารถมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาธุรกิจด้านอื่น ๆ ได้อย่างเต็มที่ แต่ด้วยข้อจำกัดที่ให้บริการเฉพาะบนแพลตฟอร์ม Lazada เท่านั้น MyCloud จึงได้พัฒนาโซลูชัน Fulfillment ที่ตอบโจทย์การขายแบบ Omnichannel ด้วยระบบ API ที่เชื่อมต่อทุกช่องทางการขายใน Marketplace เข้าด้วยกัน พร้อมระบบจัดการออเดอร์และระบบจัดการออเดอร์สต๊อกสินค้าที่ทันสมัย อัปเดตแบบเรียลไทม์และบริการขนส่งที่ครอบคลุม ทำให้ร้านค้าสามารถขยายช่องทางการขายและเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น โดยไม่ต้องกังวลเรื่องการจัดการหลังบ้านอีกต่อไป 

บทความที่เกี่ยวข้อง

อ่านเพิ่มเติม

4 เทคนิคแก้ปัญหาแพ็คสินค้าไม่ทัน แก้ไขอย่างไรได้บ้าง 

ในยุคที่การค้าออนไลน์เติบโตอย่างรวดเร็ว หลายธุรกิจต้องเผชิญกับปัญหาแพ็คสินค้าไม่ทัน โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลที่เต็มไปด้วยแคมเปญทั้งลด แลก แจก แถมหรือสินค้าที่กำลังเป็นที่นิยม ฮอตฮิตจนเป็นกระแสกันไปทั่วบ้านทั่วเมือง ทำให้มีออเดอร์สั่งซื้อพุ่งขึ้นสูงเป็นอย่างมาก ซึ่งปัญหาตรงนี้มักจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อความพึงพอใจของลูกค้าและภาพลักษณ์ของร้านค้า วันนี้เรามีวิธีรับมือและแก้ไขปัญหาในสถานการณ์นี้มาฝากกัน เพื่อให้การจัดส่งสินค้าของคุณเป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น  แพ็คสินค้าไม่ทัน มีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง  ปัญหาแพ็คสินค้าไม่ทันมักเกิดจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นการขาดการวางแผนที่ดี การจัดการคลังสินค้าที่ไม่เป็นระบบ กำลังคนไม่เพียงพอ ระบบการจัดการออเดอร์ที่ไม่มีประสิทธิภาพ หรือสินค้าของคุณอาจกำลังเป็นที่พูดถึง และเป็นกระแสนิยมที่หลายคนให้ความสนใจ ส่งผลให้ยอดคำสั่งซื้อเข้ามาจำนวนมากจนแพ็คของไม่ทัน อย่างไรก็ตาม หากไม่สามารถรับมือกับออเดอร์จำนวนมากได้ทัน ก็อาจส่งผลให้เกิดความล่าช้าในการจัดส่ง สินค้าตกหล่นหรือแม้แต่การส่งผิดพลาด ซึ่งส่งผลเสียต่อความน่าเชื่อถือของร้านค้าในระยะยาว และคะแนนร้านค้าที่ส่งผลกับการเปิดการมองเห็นสินค้าของคุณอีกด้วย   แพ็คสินค้าไม่ทัน ควรทำอย่างไรดี  เมื่อเผชิญกับปัญหาการแพ็คสินค้าไม่ทัน สิ่งสำคัญคือการหาวิธีแก้ไขที่เหมาะสม ไม่ใช่เพียงแค่การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า แต่ต้องวางระบบที่ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำในอนาคต โดยมีวิธีแก้ไขดังนี้    1. เตรียมสต็อกสินค้าไว้ให้พร้อมอยู่เสมอ  การบริหารสต็อกที่ดีเป็นกุญแจสำคัญในการป้องกันปัญหาการแพ็คสินค้าไม่ทัน เริ่มจากการวางแผนล่วงหน้าโดยเฉพาะในช่วงเทศกาลสำคัญ อย่างวันปีใหม่ วันวาเลนไทน์หรือช่วงโปรโมชั่นใหญ่ ๆ เช่น วันเลขเบิ้ล 11.11 12.12 เทศกาล Black Friday หรือ Pay day ทั้งนี้ ควรมีระบบติดตามสต็อกแบบ Real-time ที่จะช่วยให้คุณทราบถึงปริมาณสินค้าคงเหลือและยอดขายในแต่ละวันได้ […]

การหยิบสินค้ามีกี่แบบ? FIFO, LIFO, FEFO แต่ละแบบต่างกันอย่างไร

เคยสงสัยกันไหมครับ แค่การหยิบสินค้าไปแพ็คส่งลูกค้า ต้องมีรูปแบบด้วยหรอ? ไปหาคำตอบกันได้เลยครับ!! จริง ๆ แล้วทุกขั้นตอนของการบริการ fulfillment มีความสำคัญทั้งหมดเลยครับ แต่บางคนอาจจะให้ความสำคัญไปที่ขั้นตอนการเก็บ การเเพ็ค และส่งมากกว่า จนลืมไปว่าหากขั้นตอนการหยิบสินค้าก่อนแพ็คผิดผลาดก็อาจเกิดปัญหาในขั้นตอนถัด ๆ มาได้ครับ ซึ่งก่อนหน้านี้ใน ขั้นตอนการหยิบสินค้า (Picking) ในคลังสินค้า ผมได้ยกตัวอย่างวิธีการหยิบสินค้า ที่คลังสินค้าต่าง ๆ มักใช้กันไปแล้วนะครับ blog นี้ผมจึงอยากให้ทุกคนรู้จักรูปแบบการหยิบสินค้ากันบ้างครับ  การหยิบสินค้าแบบ FIFO, LIFO, และ FEFO FIFO FIFO หรือ First-In First-Out เหมาะกับร้านค้าที่ขายสินค้าที่มีวันหมดอายุเช่น เภสัชภัณฑ์ อาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงร้านค้าที่มีสินค้าหลายชนิด หรือสินค้าประเภทอื่น ๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงจำนวน เปลี่ยนราคาอยู่บ่อย ๆ ซึ่งมีความหมายตรงตัวคือการหยิบสินค้าที่เก็บเข้าคลังก่อนออกไปก่อน เพื่อลดปัญหาสินค้าเสื่อมสภาพจากการเก็บเป็นเวลานานครับ ประโยชน์ของการหยิบสินค้าแบบ FIFO FEFO FEFO หรือ First Expire date First Out หมายถึง สินค้าใดที่จะหมดอายุก่อน จ่ายออกไปก่อน […]

คู่มือสำหรับพ่อค้าแม่ค้า ขายของออนไลน์ ต้องจดทะเบียนอะไรบ้าง 

หากพูดถึงการเริ่มต้นธุรกิจออนไลน์ก็คงเป็นเรื่องที่ดูจะง่ายดายใช่ไหมล่ะ แต่จริง ๆ แล้วหลายคนอาจไม่ทราบว่าการขายของออนไลน์นั้นต้องมีการจดทะเบียนตามกฎหมายเช่นเดียวกับการเปิดร้านค้าแบบมีหน้าร้าน เพราะการจดทะเบียนนั้น ไม่เพียงแต่ทำให้ธุรกิจของคุณดำเนินการอย่างถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น แต่ยังช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับลูกค้าและเพิ่มโอกาสทางธุรกิจอีกด้วย ในบทความนี้ MyCloud จะพาคุณไปดูว่า การจดทะเบียนขายของออนไลน์ ตั้งแต่การจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไปจนถึงการจดทะเบียนรับรองคุณภาพสินค้า พร้อมเอกสารที่จำเป็นทั้งสำหรับบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล มีอะไรและมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง     ขายของออนไลน์ ต้องจดทะเบียนอะไรบ้าง การขายของออนไลน์ในปัจจุบันนั้นมีขั้นตอนทางกฎหมายที่ผู้ประกอบการต้องดำเนินการเพื่อให้ธุรกิจเป็นไปอย่างถูกต้อง ซึ่งหลัก ๆ แล้ว ต้องจดทะเบียนทั้ง 3 อย่าง ดังนี้  1. จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (DBD) สำหรับผู้ขายออนไลน์ที่มีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง การจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (DBD) ถือว่าเป็นวิธีที่จะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจของคุณได้ เนื่องจากการขายสินค้าออนไลน์ก็เปรียบเสมือนการมีหน้าร้าน จึงต้องมีการจดทะเบียนเช่นเดียวกับร้านค้าทั่วไป แต่จะแตกต่างตรงที่เป็นการจดทะเบียนพาณิชย์แบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งไม่เพียงแต่ทำให้ธุรกิจของคุณดำเนินงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น แต่ยังเป็นการยืนยันตัวตนของผู้ประกอบการและสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าว่าธุรกิจของคุณมีตัวตนที่ชัดเจนและน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น  2. จดภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับร้านค้าออนไลน์ที่มียอดขายเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี จำเป็นต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามที่กฎหมายกำหนด หากธุรกิจของคุณยังไม่ถึงเกณฑ์นี้แต่มีแนวโน้มเติบโตในอนาคต การขยายช่องทางการขายเพิ่มเติมถือเป็นทางเลือกที่จะช่วยให้ธุรกิจของคุณเติบโตไปถึงยอดขายตามเงื่อนไขได้ ซึ่งปกติธุรกิจส่วนใหญ่ก็มักขายผ่าน Marketplace ต่าง ๆ เช่น Shopee, Lazada, TikTok Shop หรือ […]

4 เทคนิคแก้ปัญหาแพ็คสินค้าไม่ทัน แก้ไขอย่างไรได้บ้าง 

ในยุคที่การค้าออนไลน์เติบโตอย่างรวดเร็ว หลายธุรกิจต้องเผชิญกับปัญหาแพ็คสินค้าไม่ทัน โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลที่เต็มไปด้วยแคมเปญทั้งลด แลก แจก แถมหรือสินค้าที่กำลังเป็นที่นิยม ฮอตฮิตจนเป็นกระแสกันไปทั่วบ้านทั่วเมือง ทำให้มีออเดอร์สั่งซื้อพุ่งขึ้นสูงเป็นอย่างมาก ซึ่งปัญหาตรงนี้มักจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อความพึงพอใจของลูกค้าและภาพลักษณ์ของร้านค้า วันนี้เรามีวิธีรับมือและแก้ไขปัญหาในสถานการณ์นี้มาฝากกัน เพื่อให้การจัดส่งสินค้าของคุณเป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น  แพ็คสินค้าไม่ทัน มีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง  ปัญหาแพ็คสินค้าไม่ทันมักเกิดจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นการขาดการวางแผนที่ดี การจัดการคลังสินค้าที่ไม่เป็นระบบ กำลังคนไม่เพียงพอ ระบบการจัดการออเดอร์ที่ไม่มีประสิทธิภาพ หรือสินค้าของคุณอาจกำลังเป็นที่พูดถึง และเป็นกระแสนิยมที่หลายคนให้ความสนใจ ส่งผลให้ยอดคำสั่งซื้อเข้ามาจำนวนมากจนแพ็คของไม่ทัน อย่างไรก็ตาม หากไม่สามารถรับมือกับออเดอร์จำนวนมากได้ทัน ก็อาจส่งผลให้เกิดความล่าช้าในการจัดส่ง สินค้าตกหล่นหรือแม้แต่การส่งผิดพลาด ซึ่งส่งผลเสียต่อความน่าเชื่อถือของร้านค้าในระยะยาว และคะแนนร้านค้าที่ส่งผลกับการเปิดการมองเห็นสินค้าของคุณอีกด้วย   แพ็คสินค้าไม่ทัน ควรทำอย่างไรดี  เมื่อเผชิญกับปัญหาการแพ็คสินค้าไม่ทัน สิ่งสำคัญคือการหาวิธีแก้ไขที่เหมาะสม ไม่ใช่เพียงแค่การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า แต่ต้องวางระบบที่ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำในอนาคต โดยมีวิธีแก้ไขดังนี้    1. เตรียมสต็อกสินค้าไว้ให้พร้อมอยู่เสมอ  การบริหารสต็อกที่ดีเป็นกุญแจสำคัญในการป้องกันปัญหาการแพ็คสินค้าไม่ทัน เริ่มจากการวางแผนล่วงหน้าโดยเฉพาะในช่วงเทศกาลสำคัญ อย่างวันปีใหม่ วันวาเลนไทน์หรือช่วงโปรโมชั่นใหญ่ ๆ เช่น วันเลขเบิ้ล 11.11 12.12 เทศกาล Black Friday หรือ Pay day ทั้งนี้ ควรมีระบบติดตามสต็อกแบบ Real-time ที่จะช่วยให้คุณทราบถึงปริมาณสินค้าคงเหลือและยอดขายในแต่ละวันได้ […]

การหยิบสินค้ามีกี่แบบ? FIFO, LIFO, FEFO แต่ละแบบต่างกันอย่างไร

เคยสงสัยกันไหมครับ แค่การหยิบสินค้าไปแพ็คส่งลูกค้า ต้องมีรูปแบบด้วยหรอ? ไปหาคำตอบกันได้เลยครับ!! จริง ๆ แล้วทุกขั้นตอนของการบริการ fulfillment มีความสำคัญทั้งหมดเลยครับ แต่บางคนอาจจะให้ความสำคัญไปที่ขั้นตอนการเก็บ การเเพ็ค และส่งมากกว่า จนลืมไปว่าหากขั้นตอนการหยิบสินค้าก่อนแพ็คผิดผลาดก็อาจเกิดปัญหาในขั้นตอนถัด ๆ มาได้ครับ ซึ่งก่อนหน้านี้ใน ขั้นตอนการหยิบสินค้า (Picking) ในคลังสินค้า ผมได้ยกตัวอย่างวิธีการหยิบสินค้า ที่คลังสินค้าต่าง ๆ มักใช้กันไปแล้วนะครับ blog นี้ผมจึงอยากให้ทุกคนรู้จักรูปแบบการหยิบสินค้ากันบ้างครับ  การหยิบสินค้าแบบ FIFO, LIFO, และ FEFO FIFO FIFO หรือ First-In First-Out เหมาะกับร้านค้าที่ขายสินค้าที่มีวันหมดอายุเช่น เภสัชภัณฑ์ อาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงร้านค้าที่มีสินค้าหลายชนิด หรือสินค้าประเภทอื่น ๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงจำนวน เปลี่ยนราคาอยู่บ่อย ๆ ซึ่งมีความหมายตรงตัวคือการหยิบสินค้าที่เก็บเข้าคลังก่อนออกไปก่อน เพื่อลดปัญหาสินค้าเสื่อมสภาพจากการเก็บเป็นเวลานานครับ ประโยชน์ของการหยิบสินค้าแบบ FIFO FEFO FEFO หรือ First Expire date First Out หมายถึง สินค้าใดที่จะหมดอายุก่อน จ่ายออกไปก่อน […]

คู่มือสำหรับพ่อค้าแม่ค้า ขายของออนไลน์ ต้องจดทะเบียนอะไรบ้าง 

หากพูดถึงการเริ่มต้นธุรกิจออนไลน์ก็คงเป็นเรื่องที่ดูจะง่ายดายใช่ไหมล่ะ แต่จริง ๆ แล้วหลายคนอาจไม่ทราบว่าการขายของออนไลน์นั้นต้องมีการจดทะเบียนตามกฎหมายเช่นเดียวกับการเปิดร้านค้าแบบมีหน้าร้าน เพราะการจดทะเบียนนั้น ไม่เพียงแต่ทำให้ธุรกิจของคุณดำเนินการอย่างถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น แต่ยังช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับลูกค้าและเพิ่มโอกาสทางธุรกิจอีกด้วย ในบทความนี้ MyCloud จะพาคุณไปดูว่า การจดทะเบียนขายของออนไลน์ ตั้งแต่การจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไปจนถึงการจดทะเบียนรับรองคุณภาพสินค้า พร้อมเอกสารที่จำเป็นทั้งสำหรับบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล มีอะไรและมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง     ขายของออนไลน์ ต้องจดทะเบียนอะไรบ้าง การขายของออนไลน์ในปัจจุบันนั้นมีขั้นตอนทางกฎหมายที่ผู้ประกอบการต้องดำเนินการเพื่อให้ธุรกิจเป็นไปอย่างถูกต้อง ซึ่งหลัก ๆ แล้ว ต้องจดทะเบียนทั้ง 3 อย่าง ดังนี้  1. จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (DBD) สำหรับผู้ขายออนไลน์ที่มีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง การจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (DBD) ถือว่าเป็นวิธีที่จะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจของคุณได้ เนื่องจากการขายสินค้าออนไลน์ก็เปรียบเสมือนการมีหน้าร้าน จึงต้องมีการจดทะเบียนเช่นเดียวกับร้านค้าทั่วไป แต่จะแตกต่างตรงที่เป็นการจดทะเบียนพาณิชย์แบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งไม่เพียงแต่ทำให้ธุรกิจของคุณดำเนินงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น แต่ยังเป็นการยืนยันตัวตนของผู้ประกอบการและสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าว่าธุรกิจของคุณมีตัวตนที่ชัดเจนและน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น  2. จดภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับร้านค้าออนไลน์ที่มียอดขายเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี จำเป็นต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามที่กฎหมายกำหนด หากธุรกิจของคุณยังไม่ถึงเกณฑ์นี้แต่มีแนวโน้มเติบโตในอนาคต การขยายช่องทางการขายเพิ่มเติมถือเป็นทางเลือกที่จะช่วยให้ธุรกิจของคุณเติบโตไปถึงยอดขายตามเงื่อนไขได้ ซึ่งปกติธุรกิจส่วนใหญ่ก็มักขายผ่าน Marketplace ต่าง ๆ เช่น Shopee, Lazada, TikTok Shop หรือ […]