Knowledge Center

ขายของบน Marketplace เสียภาษีอย่างไร? MyCloud รวบรวมไว้ให้หมดแล้ว

ขายของบน Marketplace เสียภาษีอย่างไร? MyCloud รวบรวมไว้ให้หมดแล้ว         

          ขายของออนไลน์ ไม่มีหน้าร้านต้องเสียภาษีหรือไม่ ? ในปัจจุบันมีหลาย ๆ คนเริ่มเป็นพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์กันมากขึ้น โดยช่องทางยอดฮิตก็หนีไม่พ้น Lazada และ Shopee ค่ะ พอเริ่มมีรายได้มากขึ้น สงสัยกันไหมคะว่าขายบน Marketplace แบบนี้ต้องเสียภาษีหรือไม่ เสียอย่างไร ? MyCloud รวบรวมมาให้ไว้หมดแล้ว พร้อมวิธีการยื่นภาษีไปอ่านกันได้เลยค่ะ

          ไม่ว่าขายออนไลน์ช่องทางใดก็แล้วแต่ ต้องเสียภาษีนะคะ ถึงแม้ว่ายอดของคุณจะไม่ถึง 1,800,000 ต่อปี แต่ยื่นไว้ก่อนก็ไม่เสียหาย ไม่อย่างนั้นอาจโดนสุ่มเรียกย้อนหลังได้ค่ะ แล้วสรรพากรรู้ข้อมูลของเราได้อย่างไร? แน่นอนค่ะว่าผู้ให้บริการทางการเงินของเรา เป็นผู้ส่งให้กับทางสรรพากรโดยจะมีหลักเกณฑ์คือ มีเงินเข้าในบัญชีของเราเกิด 3,000 ครั้งต่อปี/ผู้ให้บริการ โดยผู้ให้บริการทางการเงินไม่ใช่ธนาคารต่าง ๆ แต่นับรวมถึง Lazada Shopee และกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Wallet) ด้วยเช่นกัน หากไม่ถึง 3,000 ครั้งแต่มากกว่า 400 ครั้งต่อปี และมียอดเงินเข้าดังกล่าวรวมแล้วเกิน 2 ล้านบาทขึ้นไปก็โดนส่งข้อมูลให้สรรพากรนะคะ เพราะฉะนั้นยื่นภาษี และเก็บหลักฐานไว้ให้ครบถ้วนสบายใจที่สุดค่ะ

เสียภาษีแบบไหน? ช่วงเวลาใด?

          หากร้านค้าของคุณไม่ได้จดทะเบียนรูปแบบบริษัท ก็จะต้องเสียภาษีรูปแบบเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งการขายบนช่องทาง Marketplace จะอยู่ในมาตรา 40(8) หรือ เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่งเงินได้อื่น ๆ ค่ะ โดยช่วงเวลาที่พ่อค้าแม่ค้าต้องยื่นภาษีจะมีอยู่ 2 ช่วงดังนี้ค่ะ

1. ยื่นภาษีสิ้นปี ในเดือน ม.ค. – มี.ค. เป็นการสรุปรายได้ทั้งหมดที่เกิดขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมา

2. ยืนภาษีกลางปี ในเดือน ก.ค. – ก.ย. เป็นการสรุปรายได้ที่เกิดขึ้นในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมา 

ขายบน Shopee & Lazada เสียภาษีอย่างไร?

          เริ่มกันที่ผู้ขายสินค้าออนไลน์บน Shopee ที่ถือว่าสะดวกสบายไม่ต้องหาเอกสารคำนวณภาษีเองให้ยุ่งยาก เหมือนกับการขายเองบนช่องทางออนไลน์อื่น ๆ เพราะสามารถขอใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ผ่านทาง e-Tax Web Portal ใน Seller Centre หรือจะเข้าไปเช็ครายละเอียดรายรับทั้งหมดเพื่อเอาไปคำนวณภาษี ก็สามารถเข้าไปที่เมนู “การเงิน” กดเลือก “รายรับของฉัน” และขอ My Tax Invoice ที่จะแสดงอยู่ใต้รายการการเงินของคุณผู้ขายที่หน้าหลังบ้านผู้ขาย Shopee ได้เลยค่ะ ซึ่งผู้ขายเองสามารถดาวน์โหลดรายงานการเงินดังกล่าวเป็นไฟล์ PDF เพื่อส่งเป็นเอกสารให้สรรพกรตรวจสอบได้ง่ายอีกด้วย

การขอใบกำกับภาษี/ใบเสร็จรับเงิน บน Shopee

           ผู้ขายบน Shopee สามารถขอใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์แบบย่อ หรือแบบเต็มรูปผ่านทาง e-Tax Web Portal ที่หน้าหลังบ้าน Seller Centre ได้ตามที่กล่าวมาข้างต้นค่ะ แต่ทาง Shopee จะสงวนสิทธิ์การออกใบกำกับภาษี หรือใบเสร็จรับเงินให้แค่ภายใน 15 วันนับจากวันที่เกิดรายการการสั่งซื้อชำระเงินขึ้น โดยผู้ที่ขอใบกำกับภาษีต้องทำการลงทะเบียนเพื่อดาวน์โหลดใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ทั้งสองแบบ (เต็มและย่อ) และต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าสถานะการลงทะเบียนขึ้นเป็น “ตรวจสอบแล้ว” ซึ่งส่วนมากจะได้ภายใน 3-7 วันค่ะ โดยในหน้าลงทะเบียน ผู้ขายสามารถเพิ่มที่อยู่สำหรับการออกใบกำกับภาษี และที่อยู่ในการกรอกใบกำกับภาษีได้ที่หน้าดังกล่าวค่ะ

“วันที่มีผลบังคับใช้”

          กรณีที่ร้านค้าไม่ได้จดทะเบียน VAT บุคคลธรรมดาให้ระบุ “วันที่มีผลบังคับใช้” หรือ วันที่เอกสารดังมีผลบังคับใช้ในการนําข้อมูลมาออกใบเสร็จรับเงินและใบกํากับภาษี ให้ระบุเป็นวันที่ออกบัตรประจำตัวประชาชน ส่วนนิติบุคคล ให้ระบุวันที่หนังสือรับรองบริษัท ส่วนร้านค้าที่ทำการจดทะเบียน ยึดตามวันที่ออก ภ.พ. 20 ฉบับล่าสุดแทนค่ะ หลังจากนั้นให้กรอกข้อมูลตามที่ Shopee ระบุและกดยืนยันข้อมูล และรอตรวจสอบผลตามที่กล่าวมาก่อนหน้านี้ได้เลยค่ะ โดยสถานะจะมีทั้งหมด 3 แบบคือ

1. กําลังตรวจสอบ หมายถึงเอกสารของคุณอยู่ระหวางการตรวจสอบจากทาง Shopee

2. ตรวจสอบแล้ว หากข้อมูลของคุณไม่มีข้อผิดพลาดก็สามารถดาวน์โหลดเอกสารและยื่นภาษีต่อไปได้เลย

3. ไม่ผ่านการตรวจสอบ หากไม่ผ่านสามารถตรวจสอบว่าข้อมูลของคุณผิดพลาดตรงไหน ได้ที่ช่องหมายเหตุ

          สำหรับผู้ขายบน Lazada สามารถยื่นภาษีแบบเดียวกับ Shopee แต่จะมีขั้นตอนการเก็บยอด หรือคำนวณที่ยุ่งยากกว่านิดนึงนะคะ เพราะทาง Lazada จะไม่มีรายงานยอดตามช่วงเวลา ดังนั้นทางที่ง่ายที่สุดคือ การคำนวณจากยอดขายจริง ๆ แบบยังไม่หักอะไร หรือรายได้ตามจริงซึ่งก็คือ ค่าสินค้า+ค่าขนส่ง จะสามารถนำไปคำนวณได้ง่ายกว่า 

ขายหลายช่องทางทำอย่างไร?

          สำหรับผู้ที่ขายหลายช่องทาง เวลาคำนวณภาษีต้องนำยอดขายมารวมกันนะคะ สำหรับการยื่นภาษีจะมี 2 รูปแบบ คือ 1. หักค่าใช้จ่ายตามจริง ซึ่งหากจะเสียตามจริง ผู้ขายก็ต้องเก็บเอกสาร หรือหลักฐานเพื่อแสดงข้อมูลให้ครบ สามารถให้สรรพากรตรวจสอบได้ ซึ่งหากไม่มีก็สามารถยื่นแบบที่ 2 คือ 2. แบบหักแบบเหมาอัตรา ค่าใช้จ่ายสูงสุดได้ที่ 60% แล้วแต่ประเภทเงินได้ ซึ่งจะหัก 60% ต่อยอดการยื่นนั้น ๆ ค่ะ

          โค้ดหรือคูปองส่วนลดต่าง ๆ ที่ใช้งานบน Marketplace ต้องนำยอดดังกล่าวมาเป็นรายได้ (ค่าส่งเสริมการขาย) เพราะจะมีภาษีถูกหัก ณ ที่จ่าย และผู้ขายต้องขอเอกสารการถูกหัก ภาษี ณ ที่จ่ายจาก Marketplace ต่าง ๆ ดังนี้

“หักภาษี ณ ที่จ่าย”

           ผู้ประกอบการ หรือผู้ขายมีหน้าที่ต้องออกใบเสร็จรับเงิน หรือใบกำกับภาษีให้ผู้ซื้ออยู่แล้ว แต่เมื่อขายบน Marketplace เรามีค่าธรรมเนียม หรือค่าบริการอื่น ๆ ที่ต้องจ่าย ซึ่งถือเป็นการจ่ายค่าบริการที่ทาง Lazada Shopee บริการให้เรา ดังนั้นเราต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย และกรอก หนังสือรับรองหักภาษี ณ ที่จ่ายบน Marketplace เอาไว้ค่ะ เพื่อที่จะได้นำไปคำนวณเพื่อภาษีรายได้นิติบุคคลต่อไปค่ะ

รับการคืนเงินหักภาษี ณ ที่จ่าย ได้อย่างไร?

          บนช่องทาง Marketplace ผู้ขายจะได้รับเงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย แบ่งเป็น 2 แบบ คือ 1. ภาษีหัก ณ ที่จ่ายของค่าขนส่ง (Shipping fee) และ 2. ภาษีหัก ณ ที่จ่ายของค่าบริการ (Service fee) โดยร้านค้าบน Shopee จะได้เงินคืนได้ทาง Seller Balance โดยเข้าไปเช็ครายการโอนเงินคืนได้ที่ Seller Centre และสำหรับผู้ขายบน Lazada ผู้ขายต้องคำนวณหัก ณ ที่จ่าย และยื่นสรรพากร จากนั้นส่งใบเสร็จให้ Lazada เพื่อคืนเงินให้ต่อไปค่ะ

          ในปัจจุบันการคำนวณภาษีไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป ถึงแม้จะดูเยอะและวุ่นวาย แต่ก็มีโปรแกรมหรือแอปพลิเคชันต่าง ๆ ที่ช่วยในการคำนวณภาษีอยู่มากมายค่ะ ทั้งนี้ MyCloud เคยรวบรวมวิธีคำนวณภาษีเอาไว้ให้แล้วใน ขายของออนไลน์ต้องเสียภาษีด้วยหรือ!? แล้วต้องคำนวณอย่างไร? สำหรับผู้ขายออนไลนืโดยเฉพาะเลยค่ะ นอกจากนี้การยื่นภาษีออนไลน์ก็ทำได้ง่ายขึ้นสะดวกสบายขึ้น ผู้ขายสินค้าออนไลน์ที่พึ่งเริ่มต้นขายใหม่ ก็ไม่ต้องกังวลเรื่องภาษีมากนักเพราะทาง Lazada หรือ Shopee มีข้อมูลให้ศึกษาสำหรับผู้ขายอย่างละเอียดเลยล่ะค่ะ นอกจากนี้ยังมีกลุ่มผู้ขายบน Lazada หรือ Shopee หรือเพื่อน ๆ ผู้ขายในกลุ่มช่วยให้คำตอบ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในกลุ่มกันมากมาย การขายออนไลน์ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปในยุคที่ E-Commerce เติบโตขึ้นอย่างมากแบบนี้ หากคุณไม่เริ่มตอนนี้ ระวังจะตามไม่ทันรถไฟความเร้วสูงขบวนนี้ไม่ทันนะคะ

สนใจศึกษาและลงทะเบียนได้ที่ www.mycloudfulfillment.com
หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
โทร: 092-472-7742, 02-138-9920
อีเมล: [email protected]
line: @mycloudgroup
MyCloudFulfillment ขายของง่ายไม่ต้องแตะสต๊อก
บริการคลังสินค้าออนไลน์ เก็บ แพ็ค ส่ง ครบวงจร

บทความที่เกี่ยวข้อง

อ่านเพิ่มเติม

Customer Journey คืออะไร ยิ่งอยากขายยิ่งต้องเข้าใจลูกค้าให้มากขึ้น

“Customer Journey คืออะไร”ในยุคที่ธุรกิจออนไลน์เติบโตอย่างรวดเร็ว การเข้าใจว่าลูกค้าต้องการอะไรเป็นกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จของการขาย การเดินทางของลูกค้า (Customer Journey) ไม่ใช่แค่เส้นทางที่ลูกค้าซื้อสินค้า แต่เป็นกระบวนการที่ช่วยให้ธุรกิจเข้าใจความต้องการและพฤติกรรมของลูกค้าในแต่ละขั้นตอน ตั้งแต่การรับรู้สินค้าไปจนถึงการตัดสินใจซื้อ บทความนี้เราจะพาคุณมาทำความเข้าใจลูกค้าให้มากยิ่งขึ้นเพราะไม่เพียงแต่จะช่วยให้คุณเข้าใจพฤติกรรมลูกค้าแบบเจาะลึกแล้วมันยังส่งผลกับการเติบโตธุรกิจของคุณได้ในระยะยาวอีกด้วย Customer Journey คืออะไร? ในส่วนนี้จะหมายถึง “เส้นทางการเดินทางของลูกค้า” เป็นกระบวนการที่ลูกค้าเริ่มต้นรู้จักธุรกิจของคุณ จนถึงการกลายเป็นลูกค้าประจำหรือผู้สนับสนุนแบรนด์ ในแต่ละธุรกิจอาจจะมี Customer Journey ที่ไม่เหมือนกันซึ่งจะแบ่งเป็น 2 แบบนั้นก็คือ Customer Journey แบบ Push และ Customer Journey แบบ Pull แบบที่ 1 Customer Journey (Push) การที่แบรนด์ผลักดันข้อมูลหรือสินค้าสู่กลุ่มลูกค้าโดยไม่รอให้ลูกค้าเริ่มสนใจก่อนโดยจะแบ่งเป็น 5 ขั้นตอนดังนี้ 1. Awareness (การรับรู้) ในขั้นตอนนี้แบรนด์จะส่งข้อมูลเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายรู้จักแบรนด์หรือสินค้าแม้ว่าพวกเขาจะยังไม่มีความสนใจในสินค้าโดยตรงผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆไม่ว่าจะเป็น 2. Consideration (การพิจารณา) ในขั้นตอนนี้ ลูกค้าที่เห็นโฆษณาเริ่มสนใจและต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อเปรียบเทียบสินค้า ทางแบรนด์จะต้องเสริมข้อมูลเพื่อให้ลูกค้าได้พิจารณาและรู้จักแบรนด์ได้ง่ายขึ้น 3. Purchase (การซื้อ) กระตุ้นการตัดสินใจในทันที […]

5 ข้อดีของการเปิดหน้าร้าน – MyCloudFulfillment

ในยุคที่ใครๆ ก็ขายของออนไลน์ การมีหน้าร้าน ยังจำเป็นอยู่ไหม? ถ้าเปิดแล้วจะช่วยให้ขายดีขึ้นหรือเปล่า? คุณต้องตอบตัวเองให้ได้ก่อนว่า… ลูกค้าจะมาจากหน้าร้านมากน้อยแค่ไหน? แล้วแบรนด์คุณจำเป็นต้องมีหน้าร้านไหม? ถ้าจำเป็น… ก็เปิด ถ้ายังไม่จำเป็น… ก็อย่าเพิ่งเปิดครับ แต่ถ้าถามผมว่า มีหน้าร้านแล้วมันดีไหม? แน่นอนมันต้องมีทั้งข้อดีและข้อเสียอยู่แล้ว ถ้าตัดเรื่องค่าเช่าที่ หรือค่าจ้างพนักงานออกไป ก็มีข้อดีเยอะแยะเลยครับ เท่าที่ผมคิดออกมี 5 ข้อ ลองอ่านแล้วเอาไปตัดสินใจกันดูนะครับ 1.ลูกค้ากล้าซื้อ มีความน่าเชื่อถือมากขึ้น เรียกได้ว่าเป็นจุดแข็งของออฟไลน์ที่ร้านค้าออนไลน์ก็ยังทดแทนตรงนี้ไม่ได้การขายของแบบไม่เห็นหน้ากันมันจะมีความไม่สบายใจลูกค้าก็จะมีคำถามในใจว่า “จะโดนโกงไหมนะ” ฝั่งพ่อค้าแม่ค้าก็จะหงุดหงิดว่า “เมื่อไหร่จะโอน” แต่ถ้าเรามีหน้าร้าน ก็ตัดปัญหาตรงนี้ไปได้เลยครับลูกค้าจะรู้สึกว่า สามารถติดต่อเราได้ตลอดเวลาเราจะไม่หนีหายไป เพราะเราสามารถสร้างความน่าเชื่อถือได้ในระดับหนึ่งเลยทีเดียว ลูกค้าสามารถติดต่อเราได้ทุกที่ทุกเวลา  2.ได้ลองสินค้าจริง ตัดสินใจซื้อง่าย ผู้บริโภคยังมีความคิดที่ว่า ไม่เห็นไม่ซื้อถึงแม้จะเห็นรูปสินค้าออนไลน์อยู่ตรงหน้า แต่ก็ยังต้องการประสบการณ์ตรงกับตัวสินค้า เช่น สัมผัส มองเห็น ดมกลิ่น ได้ทดลองสินค้าจริงๆ ถ้าคุณขายของประเภทเสื้อผ้า หรือความสวยความงาม เช่น เครื่องสำอาง ครีมบำรุงผิว น้ำหอม ฯลฯ การเปิดหน้าร้านก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งในการกระตุ้นให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อง่ายขึ้น เร็วขึ้นด้วยนะครับ คุณอาจจะโปรโมทจากช่องทางออนไลน์ของร้านคุณว่ามีโปรโมชั่นนี้ที่หน้าร้าน เพื่อดึงดูดให้คนมาที่ร้านก็ได้ก็เป็นการเชื่อมออฟไลน์กับออนไลน์เข้าไว้ด้วยกัน 3.รู้ความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า […]

Customer Journey คืออะไร ยิ่งอยากขายยิ่งต้องเข้าใจลูกค้าให้มากขึ้น

“Customer Journey คืออะไร”ในยุคที่ธุรกิจออนไลน์เติบโตอย่างรวดเร็ว การเข้าใจว่าลูกค้าต้องการอะไรเป็นกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จของการขาย การเดินทางของลูกค้า (Customer Journey) ไม่ใช่แค่เส้นทางที่ลูกค้าซื้อสินค้า แต่เป็นกระบวนการที่ช่วยให้ธุรกิจเข้าใจความต้องการและพฤติกรรมของลูกค้าในแต่ละขั้นตอน ตั้งแต่การรับรู้สินค้าไปจนถึงการตัดสินใจซื้อ บทความนี้เราจะพาคุณมาทำความเข้าใจลูกค้าให้มากยิ่งขึ้นเพราะไม่เพียงแต่จะช่วยให้คุณเข้าใจพฤติกรรมลูกค้าแบบเจาะลึกแล้วมันยังส่งผลกับการเติบโตธุรกิจของคุณได้ในระยะยาวอีกด้วย Customer Journey คืออะไร? ในส่วนนี้จะหมายถึง “เส้นทางการเดินทางของลูกค้า” เป็นกระบวนการที่ลูกค้าเริ่มต้นรู้จักธุรกิจของคุณ จนถึงการกลายเป็นลูกค้าประจำหรือผู้สนับสนุนแบรนด์ ในแต่ละธุรกิจอาจจะมี Customer Journey ที่ไม่เหมือนกันซึ่งจะแบ่งเป็น 2 แบบนั้นก็คือ Customer Journey แบบ Push และ Customer Journey แบบ Pull แบบที่ 1 Customer Journey (Push) การที่แบรนด์ผลักดันข้อมูลหรือสินค้าสู่กลุ่มลูกค้าโดยไม่รอให้ลูกค้าเริ่มสนใจก่อนโดยจะแบ่งเป็น 5 ขั้นตอนดังนี้ 1. Awareness (การรับรู้) ในขั้นตอนนี้แบรนด์จะส่งข้อมูลเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายรู้จักแบรนด์หรือสินค้าแม้ว่าพวกเขาจะยังไม่มีความสนใจในสินค้าโดยตรงผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆไม่ว่าจะเป็น 2. Consideration (การพิจารณา) ในขั้นตอนนี้ ลูกค้าที่เห็นโฆษณาเริ่มสนใจและต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อเปรียบเทียบสินค้า ทางแบรนด์จะต้องเสริมข้อมูลเพื่อให้ลูกค้าได้พิจารณาและรู้จักแบรนด์ได้ง่ายขึ้น 3. Purchase (การซื้อ) กระตุ้นการตัดสินใจในทันที […]

5 ข้อดีของการเปิดหน้าร้าน – MyCloudFulfillment

ในยุคที่ใครๆ ก็ขายของออนไลน์ การมีหน้าร้าน ยังจำเป็นอยู่ไหม? ถ้าเปิดแล้วจะช่วยให้ขายดีขึ้นหรือเปล่า? คุณต้องตอบตัวเองให้ได้ก่อนว่า… ลูกค้าจะมาจากหน้าร้านมากน้อยแค่ไหน? แล้วแบรนด์คุณจำเป็นต้องมีหน้าร้านไหม? ถ้าจำเป็น… ก็เปิด ถ้ายังไม่จำเป็น… ก็อย่าเพิ่งเปิดครับ แต่ถ้าถามผมว่า มีหน้าร้านแล้วมันดีไหม? แน่นอนมันต้องมีทั้งข้อดีและข้อเสียอยู่แล้ว ถ้าตัดเรื่องค่าเช่าที่ หรือค่าจ้างพนักงานออกไป ก็มีข้อดีเยอะแยะเลยครับ เท่าที่ผมคิดออกมี 5 ข้อ ลองอ่านแล้วเอาไปตัดสินใจกันดูนะครับ 1.ลูกค้ากล้าซื้อ มีความน่าเชื่อถือมากขึ้น เรียกได้ว่าเป็นจุดแข็งของออฟไลน์ที่ร้านค้าออนไลน์ก็ยังทดแทนตรงนี้ไม่ได้การขายของแบบไม่เห็นหน้ากันมันจะมีความไม่สบายใจลูกค้าก็จะมีคำถามในใจว่า “จะโดนโกงไหมนะ” ฝั่งพ่อค้าแม่ค้าก็จะหงุดหงิดว่า “เมื่อไหร่จะโอน” แต่ถ้าเรามีหน้าร้าน ก็ตัดปัญหาตรงนี้ไปได้เลยครับลูกค้าจะรู้สึกว่า สามารถติดต่อเราได้ตลอดเวลาเราจะไม่หนีหายไป เพราะเราสามารถสร้างความน่าเชื่อถือได้ในระดับหนึ่งเลยทีเดียว ลูกค้าสามารถติดต่อเราได้ทุกที่ทุกเวลา  2.ได้ลองสินค้าจริง ตัดสินใจซื้อง่าย ผู้บริโภคยังมีความคิดที่ว่า ไม่เห็นไม่ซื้อถึงแม้จะเห็นรูปสินค้าออนไลน์อยู่ตรงหน้า แต่ก็ยังต้องการประสบการณ์ตรงกับตัวสินค้า เช่น สัมผัส มองเห็น ดมกลิ่น ได้ทดลองสินค้าจริงๆ ถ้าคุณขายของประเภทเสื้อผ้า หรือความสวยความงาม เช่น เครื่องสำอาง ครีมบำรุงผิว น้ำหอม ฯลฯ การเปิดหน้าร้านก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งในการกระตุ้นให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อง่ายขึ้น เร็วขึ้นด้วยนะครับ คุณอาจจะโปรโมทจากช่องทางออนไลน์ของร้านคุณว่ามีโปรโมชั่นนี้ที่หน้าร้าน เพื่อดึงดูดให้คนมาที่ร้านก็ได้ก็เป็นการเชื่อมออฟไลน์กับออนไลน์เข้าไว้ด้วยกัน 3.รู้ความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า […]