เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา คงจะมีหลาย ๆ คนได้ดูซีรี่ส์จาก Netflix Origin “Mad Unicron” หรือสงคราม ส่งด่วนกันไปแล้วแน่ ๆ ซีรี่ส์ที่ตีแผ่ไปถึงเบื้องลึกเบื้องหลังของธุรกิจขนส่งโลจิสติกส์ในประเทศไทย ผ่านมุมมองชีวิตของตัวละครอย่าง “สันติ แซ่ลี” เด็กดอยผู้ไม่ย่อท้อที่จะวิ่งไล่ตามฝัน จนประสบความสำเร็จจนได้กลายเป็นฟันเฟืองตัวหนึ่งในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ไทย ซีรีส์นี้ไม่ได้เป็นเพียงแค่ละครชีวิตธรรมดา ๆ เท่านั้น แต่ยังสอดแทรกประเด็นสำคัญของ “สงครามในการส่งด่วน” ที่กำลังปะทุขึ้นในภาคธุรกิจจริง ทั้งการแข่งขันด้านความเร็วในการจัดส่ง การควบคุมต้นทุน การจัดการคลังสินค้าแบบเรียลไทม์ ตลอดจนการปรับตัวของผู้เล่นในตลาดเพื่อเอาชีวิตรอดจากยุค Disruption อีกด้วย
ดังนั้น ในบทความนี้ MyCloud จะพาคุณณไปสำรวจว่าโลกของ “สงครามส่งด่วน” ไม่ได้อยู่แค่ในจอ แต่กำลังเกิดขึ้นจริงรอบตัว พร้อมเจาะลึกว่าอะไรคือปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจโลจิสติกส์ต้อง “เร็วกว่า คุ้มกว่า และคิดลึกกว่าเดิม” เพื่ออยู่รอดในสนามการแข่งขันที่ไม่มีพื้นที่ให้คนช้าอีกต่อไป
ทำไมเราจึงเรียกว่า “สงคราม” ?
เพราะในยุคนี้ การส่งของไม่ใช่แค่ “ส่งให้ถึง” แต่ต้อง “ส่งให้ทัน – ส่งให้เป๊ะ – ส่งให้ฟรี” ซึ่งเป็นโจทย์ที่ยากขึ้นทุกวัน ผู้บริโภคยุคใหม่ตั้งความคาดหวังไว้สูงมาก พฤติกรรมการช้อปออนไลน์เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง จากอดีตที่เคยรอของ 3 – 5 วันอย่างอดทน กลายเป็นความต้องการรับของ “พรุ่งนี้เช้า” แบบไม่มีค่าใช้จ่าย
จากในเรื่องจะเห็นได้ว่า มีทั้งบริษัท Finix Express, ไปรษณีย์สยาม, Easy Express และ Thunder Express บริษัทขนส่งที่มีโปรโมชั่น และกลยุทธ์ในการเรียกลูกค้าที่แตกต่างกันออกไป การแข่งขันในตลาดนี้จึงไม่ใช่แค่ระหว่างบริษัทขนส่งรายใหญ่เท่านั้น แต่รวมถึงระบบหลังบ้านต่าง ๆ ที่ซ่อนอยู่หลังปุ่มสั่งซื้อของผู้บริโภคอีกด้วย ทำให้ร้านค้าออนไลน์ต้องพัฒนาให้มากกว่าแค่หน้าร้านสวย แต่ต้องมีระบบจัดการออเดอร์ที่แม่นยำ พร้อมส่งได้ภายในไม่กี่ชั่วโมง บริษัทโลจิสติกส์เองก็ต้องเร่งเครื่องให้ทันกับความคาดหวังที่เปลี่ยนไว และยังต้องคุมต้นทุนไม่ให้สูงเกินไป ในสมรภูมินี้ ใครที่ส่งช้า แพงหรือผิดพลาดแม้แต่นิดเดียว ก็อาจเสียลูกค้าให้คู่แข่งในคลิกเดียว
แข่งกับ “เวลา” ทุกวินาที คือความได้เปรียบ
ในสนามรบของสงครามส่งด่วน “เวลา” คืออาวุธสำคัญที่ชี้ชะตาความได้เปรียบทางการแข่งขัน แบรนด์ที่สามารถส่งของได้ทันตาม SLA ที่แต่ละแพลตฟอร์มกำหนด ย่อมมีโอกาสคว้าหัวใจลูกค้าได้มากกว่า แน่นอนว่า ความได้เปรียบต้องมาพร้อมระบบหลังบ้านที่สามารถทำงานแบบไร้รอยต่อ ทั้งในระบบ OMS (Order Management System), ระบบ WMS (Warehouse Management System) และการเชื่อมต่อ API กับ Marketplace อย่าง Shopee, Lazada หรือ TikTok Shop เพื่อให้ทุกออเดอร์ไหลผ่านและถูกจัดการแบบ Real-Time ลูกค้าในยุคนี้ไม่ได้แค่คาดหวังว่าของจะถึงไว แต่ยังต้องการการแจ้งสถานะการจัดส่งที่ชัดเจนทุกขั้นตอนนั่นเอง
ยกตัวอย่าง จากกลยุทธ์ของ Thunder Express บริษัทโลจิสติกส์แนวหน้าในซีรีส์ “สงครามส่งด่วน” ที่มุ่งหวังจะกลายเป็นที่หนึ่งในตลาดแข่งขัน โดยมีเป้าหมายเพื่อครองตำแหน่งผู้ให้บริการส่งของเร็วที่สุดในตลาด
จะเห็นได้จากในฉากท้ายในตอนที่ 7 ที่พนักงานทุกคนต่างทำงานกันอย่างขันแข็งบนสายพาน เพื่อคัดแยกพัสดุส่งให้ทันตัดรอบสำคัญ และสามารถจัดส่งถึงปลายทางได้ตามเวลาที่กำหนด แต่แล้วสายพานก็หยุดทำงานกะทันหัน เพราะ ‘ลีนุกซ์’ หนึ่งในตัวละครหลักได้ลบโค้ดระบบหลังบ้านไปทั้งหมด ‘รุ่ยเจี๋ย’ CTO ของ Thunder Express บอกกับทีมว่า กว่าจะเซ็ตอัประบบกลับมาให้สายพานทำงานได้ ต้องใช้เวลาอย่างเร็วที่สุด 20 ชั่วโมง ซึ่งแน่นอนว่า “ไม่ทัน SLA ของรอบส่งออกพัสดุแน่นอน”
แม้ในชีวิตจริง ระบบ Fulfillment จะไม่ได้ถูกลบโค้ดได้ง่ายดายเหมือนในละคร แต่ซีรีส์เรื่องนี้ก็สะท้อนภาพจริงในสนามธุรกิจได้อย่างแม่นยำ เพราะเบื้องหลังการส่งของทุกชิ้น คือระบบที่ต้องทำงานแบบไม่สะดุด หากล่มเพียงครั้งเดียว อาจหมายถึงการสูญเสียออเดอร์นับพันได้เลย ถอดรหัสธุรกิจ Express และโลจิสติกส์จากฉากนี้ได้ความว่า “ทุกวินาทีที่เซฟได้ คือแต้มต่อที่จะเปลี่ยนผลลัพธ์ทางธุรกิจ” เพราะในยุคที่ลูกค้าคาดหวังความเร็วระดับแทบจะทันที ธุรกิจใดที่ยังไม่มีระบบหลังบ้านที่พร้อม จะไม่สามารถแข่งขันได้ในสงครามส่งด่วนที่เข้มข้นขึ้นทุกวันฉันนั้นนั่นเอง
แข่งกับ “ต้นทุน” ที่บีบกำไรทุกชิ้น
ในโลกของอีคอมเมิร์ซ การแข่งขันไม่ได้มีแค่ความเร็วในการจัดส่ง แต่ยังรวมถึงการบริหารต้นทุนที่ค่อย ๆ กัดกินกำไรในทุกออเดอร์ ซึ่งถือเป็นสัดส่วนที่หนักหนาไม่น้อยสำหรับร้านค้ารายย่อย หากเลือกใช้โปรโมชั่นส่งฟรี เพื่อจูงใจลูกค้า ร้านค้าก็ต้องเป็นฝ่ายแบกรับค่าใช้จ่ายเอง แต่หากส่งช้า ลูกค้าก็อาจไม่กลับมาซื้อซ้ำอีก ส่งผลเสียต่อแบรนด์ในระยะยาวได้
นอกจากต้นทุนขนส่งที่สูงแล้ว เรื่องแพ็คสินค้าผิด ส่งพลาด ก็เป็นอีกปัญหาที่หลายร้านเจอบ่อย และกลายมาเป็นค่าใช้จ่ายแฝงแบบไม่รู้ตัว ไม่ว่าจะใส่ของผิดรุ่น ผิดสีหรือส่งไปผิดที่ ก็ล้วนทำให้ลูกค้าไม่พอใจ และอาจต้องขอคืนหรือเปลี่ยนสินค้า ซึ่งร้านค้าก็ต้องเสียทั้งค่าจัดส่งรอบใหม่ ค่าสินค้าและเสียเวลาแก้ปัญหาอีก ในบางครั้ง ยังมีกรณีที่หนักกว่านั้น อย่างสินค้าหายหรือเสียหายระหว่างขนส่ง ถ้าไม่มีหลักฐานที่ชัดเจน ร้านค้าเองก็ต้องเป็นฝ่ายรับผิดชอบเต็ม ๆ ซึ่งไม่ใช่แค่กำไรหาย แต่ยังเสียความน่าเชื่อถือกับลูกค้าอีกด้วย
เพราะฉะนั้นทางรอดของร้านค้าในยุคนี้ จึงไม่ใช่แค่ลดต้นทุนแบบปลีกย่อย แต่ต้องมอง Fulfillment Solutions ที่มีประสิทธิภาพ ช่วยจัดการทุกอย่างตั้งแต่รับออเดอร์ แพ็คสินค้า ไปจนถึงเลือกช่องทางขนส่งที่คุ้มค่าที่สุด ผ่านระบบอัตโนมัติที่ลดการใช้แรงงานคน ลดความผิดพลาดและลดค่าใช้จ่ายในระยะยาวนั่นเอง
บทบาทของ Fulfillment ในสงครามนี้
เพราะทุกวินาที คือต้นทุน ระบบ Fulfillment จึงกลายมาเป็นแนวหลังที่แข็งแรงที่สุดในสมการนี้ การแพ็คไวไม่ใช่แค่เรื่องของความเร็วเท่านั้น แต่ส่งผลต่อทั้งรอบการจัดส่ง และความพึงพอใจของลูกค้าอีกด้วย หากคุณสามารถจัดการหลังบ้านได้ดี สินค้าจะถูกแพ็คและพร้อมส่งทันรอบขนส่ง ช่วยให้ลูกค้าปลายทางได้รับของเร็วขึ้น ซึ่งแปลได้เป็นคะแนนรีวิวที่ดี และความไว้วางใจต่อแบรนด์ในระยะยาว ดังนั้น ระบบ Fulfillment ที่ดีในยุคนี้จึงไม่ได้มีหน้าที่แค่แพ็คของ แต่ต้องครอบคลุมทุกมิติ ตั้งแต่
- การอัปเดตสต๊อกสินค้าแบบเรียลไทม์ โดยต้องสามารถเช็กสถานะคำสั่งซื้อ และจำนวนสินค้าคงคลังได้แบบเรียลไทม์
- ระบบ Omnichannel ซิงค์ออเดอร์จากหลากหลายช่องทางมา เช่น Shopee, Lazada หรือ TikTok Shop เพื่อรวมทุกออเดอร์ไว้ในที่เดียว ไม่ต้องลำบากเข้าหลังบ้านหลาย ๆ รอบ ประหยัดเวลาได้มากยิ่งขึ้น
- ลดความผิดพลาดในการแพ็ค ลดต้นทุนจากการส่งผิด ด้วยการทำงานผ่านระบบ Barcode ในทุก ๆ ขั้นตอน ช่วยให้สะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
ทั้งหมดนี้รวมกัน คือสิ่งที่ทำให้ร้านค้าสามารถแข่งขันได้ทั้งด้านความเร็ว ความแม่นยำและต้นทุนได้อย่างแน่นอน
ใครไม่ปรับ = ตกรถ
ร้านค้าและผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่ไม่ยอมปรับตัว คือกลุ่มแรกที่จะตกขบวนการแข่งขัน ร้านค้าขนาดเล็กที่ยังไม่มีระบบหลังบ้านช่วยจัดการออเดอร์ ต้องพิมพ์ใบปะหน้าทีละใบ แพ็คของด้วยมือทีละชิ้นและวิ่งไปส่งหน้าปากซอยทุกวัน ย่อมมีโอกาส “หลุดรอบ” การจัดส่งวันละหลายครั้ง ซึ่งเท่ากับพลาดโอกาสเข้าถึงลูกค้าที่ต้องการความเร็วเป็นสำคัญ
ในขณะเดียวกัน บริษัทขนส่งที่ยังยึดติดกับการทำงานแบบแมนนวล และไม่ลงทุนในเทคโนโลยี เช่น ระบบ Tracking แบบ Real-Time หรือการจัดเส้นทางขนส่งแบบ TMS จะไม่สามารถแข่งขันด้านต้นทุนและความเร็วกับผู้เล่นรายใหญ่ที่มีระบบอัตโนมัติเต็มรูปแบบได้เลย หรือพูดง่าย ๆ ได้ว่า ในโลกที่โลจิสติกส์กลายเป็นแนวรบสำคัญ ทุกธุรกิจต้องกล้าปรับ กระโดดขึ้นรถขบวนใหม่ได้แล้ว เพราะหากยังยืนอยู่ที่ชานชาลาเดิม อาจไม่มีขบวนไหนจอดรับอีกต่อไป
ทางรอดในสงคราม ส่งด่วนนี้!
ในโลกที่ทุกออเดอร์คือสมรภูมิ ทางรอดของธุรกิจในยุคสงครามส่งด่วน จึงไม่ใช่แค่การ “วิ่งให้ไว” แต่คือการวางระบบที่คิดไว ทำไว แม่นยำและรอบคอบ ตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง หนึ่งในหัวใจสำคัญ คือการเลือกพาร์ทเนอร์ Fulfillment ที่มีความสามารถในการเชื่อมต่อระบบได้ครบวงจร MyCloud เราได้ออกแบบทั้งระบบ OMS (Order Management System) เป็นตัวช่วยจัดการออเดอร์ได้อย่างเป็นระบบ อัปเดตสินค้าเรียลไทม์ได้ทุก ๆ 5 นาที และยังทำงานควบคู่ไปกับระบบ WMS (Warehouse Management System) ควบคุมและบริหารคลังสินค้าได้เป็นระบบมากยิ่งขึ้น จัดการตั้งแต่การรับเข้าและส่งออกสินค้า (Inbound & Outbound) การจัดเก็บสินค้า เราจัดเก็บสินค้าอย่างเป็นระเบียบ รวมไปถึงขั้นตอนการรับคำสั่งซื้อ หยิบ เตรียมและแพ็คสินค้า ทุกขั้นตอนของเราทำงานผ่านระบบ Barcode 100% และยังมีกล้อง CCTV บันทึกภาพในทุกขั้นตอนของการทำงาน
MyCloud มั่นใจว่า เราสามารถจัดส่งสินค้าให้ทันได้ภายใน 24 ชม. การันตีจัดส่งทัน 99.5% พร้อมพนักงานที่พร้อมจัดการออเดอร์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ทั้งในวันปกติและวันที่มีแคมเปญการขายใหญ่ ๆ อย่างในช่วง Pay Day หรือจนถึงวัน Double Day ร้านไหนที่มีออเดอร์เยอะ ๆ หมดห่วงเรื่องนี้ไปได้เลยเพราะ MyCloud เราสามารถเพิ่มกำลังคนจัดการออเดอร์และรองรับการขยายได้ถึง 3.5 เท่า ด้วยพื้นที่คลังสินค้าขนาดใหญ่กว่า 10,000 ตร.ม. และเรายังมีทีมงานหลังบ้านคอยซัพพอร์ตร้านค้าออนไลน์ตั้งแต่ช่วยวางแผนก่อนเริ่มแคมเปญจากทีม Customer Service และทีม IT Support เพื่อให้ออเดอร์ที่เกิดขึ้นช่วงระหว่างแคมเปญถูกจัดการได้อย่างราบรื่นและจัดส่งได้ทันตามเกณฑ์ SLA อย่างแน่นอน
เมื่อสงครามส่งด่วนเกิดขึ้นจริง MyCloud กับภารกิจ 500K ออเดอร์ แคมเปญใหญ่แค่ไหน เราก็จัดการได้
เมื่อสงครามส่งด่วนกลายเป็นเรื่องจริง MyCloud ก็พร้อมลุยภารกิจใหญ่แบบไม่สะดุด กับการจัดการคำสั่งซื้อกว่า 500,000 ออเดอร์ ที่ไม่ใช่แค่พัสดุธรรมดา แต่คือแคมเปญสุดยิ่งใหญ่ของ Netflix ที่เปลี่ยนกล่องพัสดุให้กลายเป็นสื่อโฆษณาทรงพลังระดับประเทศ แพ็คกล่องพิเศษด้วยเทปและสติกเกอร์ Label ซีรีส์ โดยหยิบประเด็นขนส่งมาชนกันแบบดุเดือด ไม่ว่าจะเป็น “โปรดระมัดระวัง ขนส่งคลั่งแค้น” หรือ “พร้อมแตกหัก กับขนส่งทุกเจ้า” ที่สื่อสารตรงใจคนดูผ่านพัสดุที่ได้รับ ราวกับใช้ชีวิตอยู่ในซีรี่ส์ ดีเทลที่มาจากเรื่องราวจากซีรีส์ ‘สงคราม ส่งด่วน’ ที่พร้อมตั้งใจปลุกกระแสให้คนพูดถึงตั้งแต่หน้าประตูบ้าน จนถึงโซเชียลมีเดีย และเบื้องหลังความสำเร็จของแคมเปญครั้งนี้ คือระบบจัดการ Fulfillment จาก MyCloud ที่ถูกออกแบบมาให้ยืดหยุ่น รองรับงานระดับครึ่งล้านชิ้นได้อย่างแม่นยำทุกขั้นตอน เพราะไม่ว่าแคมเปญจะใหญ่แค่ไหน เราก็พร้อมจัดการให้ถึงมือคนรับ…แบบไม่พลาดแม้แต่กล่องเดียว
สรุปบทความ
ยุคนี้ ไม่ใช่แค่ใครแพ็คเร็ว ใครส่งไวเท่านั้น แต่ต้องเป็นใครจัดการหลังบ้านได้คุ้มที่สุด ธุรกิจโลจิสติกส์ในวันนี้จึงกลายเป็นสนามรบที่เต็มไปด้วยเทคโนโลยีต่าง ๆ ระบบ Fulfillment อัตโนมัติ การวิเคราะห์ข้อมูลและการวางแผนเชิงกลยุทธ์ที่รอบด้าน ใครที่ปรับตัวช้า ไม่มีระบบช่วยหลังบ้าน ย่อมเสี่ยงในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นเวลา ต้นทุน หรือความพึงพอใจของลูกค้า
สุดท้ายแล้ว ทางรอดของทุกธุรกิจ คือการมองระบบโลจิสติกส์เป็นแกนกลางของการแข่งขัน และลงทุนกับมันอย่างจริงจัง เพราะเมื่อจัดการหลังบ้านได้ดี ความเร็ว ความแม่นยำและต้นทุนที่คุ้มค่า จะกลายเป็นแต้มต่อที่ยั่งยืนในสงครามที่ไม่มีวันหยุดนี้
สนใจศึกษาและลงทะเบียนได้ที่ www.mycloudfulfillment.com
หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
โทร: 092-472-7742, 098-278-6500
อีเมล: [email protected]
Line: @mycloudgroup
MyCloudFulfillment ขายของง่ายไม่ต้องแตะสต๊อก
บริการคลังสินค้าออนไลน์ เก็บ แพ็ค ส่ง ครบวงจร